วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 6 การวิเคาระห์ข้อมูลสารสนเทศด้วยการสร้างแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ ด้วย XLS


แผนภูมิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีทั้งหมด 14 รูปแบบ ซึ่งมีดังนี้
1. คอลัมน์
2. แท่ง
3. เส้น
4. วงกลม
5. xy กระจาย
6. พื้นที่
7. โดนัท
8. เรดาร์
9. พื้นผิว
10. ฟอง
11. หุ้น
12. ทรงกระบอก
13. ทรงกรวย
14. พีระมิด

ถ้าต้องการหาไฟล์ที่เป็น Excel ให้ใช้นามสกุล .xls

โปรแกรมดาวน์โหลดข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตมีชื่อว่า Internet Doenload Manager


บันทึกการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ ๕


การใช้โปรแกรม Midjet MindManager ในการเขียนผังความคิด

โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างผังความคิดคือ Mindjet MindManager Pro 6.0

Central Topic
คือ หัวข้อหลักซึ่งเป็นแกนหลักของMind map ที่เราทำ,เป็นจุดศูนย์กลางของประเด็นทั้งหมด


Sub Topic
คือ หัวข้อย่อยลงไป เช่นรายละเอียดต่างๆ ในบทเรียนหรือข้อเสนอ,ประเด็นย่อยแตกกิ่งมาจาก
Main Topic

Main Topic
คือ หัวข้อหลัก ประเด็นหลัก


ขั้นตอนการลงโปรแกรมอะไรบ้าง


1.
ให้copy แฟ้มโปรแกรม Mindjet MindManager ซึ่งมี 4 แฟ้มอยู่ในโฟลเดอร์


2.
ให้เปิดแฟ้มโปรแกรมขึ้นมาและเลือกชื่อแฟ้ม
mm60-E--643_pro.exe


ขั้นตอนการลงโปรแกรม


1.
ให้copy แฟ้มโปรแกรม Mindjet MindManager 6.0 ซึ่งมี 4 แฟ้มโฟลเดอร์

2.
ให้เปิดแฟ้มโปรแกรมขึ้นมาและเลือกชื่อแฟ้ม MM60-E-643_Pro.exeเพื่อลงโปรแกรมโดย Double Click ที่แฟ้มนี้

3.
ให้ลงโปรแกรม Install ตามขั้นตอนไปโดยกดคำศัพท์ Next -- Complete -- OK -- Install -- เลือกเมือง other Country --4. ใส่ keygen คือตัวเลขที่มีอยู่ในตัวไอคอน I จาก 4 แฟ้มที่ copy มาครั้งแรก

5.
คัดลอกรหัสผ่านเพื่อลงโปรแกรมอย่างสมบูรณ์

6.
ใส่รหัสผ่านให้ครบ

7.
เมื่อใส่รหัสผ่านครบโปรแกรมจะทำการลงโปรแกรมอย่างสมบูรณ์

8.
เมื่อลงโปรแกรมเรียบร้อย ถ้าพบหน้าจอให้ register ให้
register later

เทคนิคการเขียนผังความคิด


1.
ให้แตกประเด็นหัวข้อหลักและหัวข้อย่อยให้ได้มากที่สุด

2.
ในการแตกประเด็นแต่ละหัวข้อ ควรเขียนเฉพาคำสำคัญเท่านั้นโดยหลีกเลี่ยงประโยคที่มีความยาว

3.
ควรใช้สีในการแยกแยะประเด็นต่าง ๆ มากกว่า 2 สีขึ้นไป

4.
ตัวอักษรกับพื้นหลังต้องใช้สีตัดกัน

5.
รูปพื้นหลังที่นำมาเป็นส่วนประกอบของผังความคิด จะต้องมีความเกี่ยวพันธ์กับเนื้อหาและประเด็นนั้น ๆ


การบันทึกงานในสกุล .mmap

*
ใช้ในการแก้ไขผลงานและใช้ในการนำเสนอผลงาน


การบันทึกงานในสกุล .jpeg

*save
เป็น image นำเสนอใน blog ไม่สามารถแก้ไขได้


๙ คำพ่อสอน







สัปดาห์ที่ 4 บันทึกการเรียนการสอน

ในสัปดาห์ที่ 4 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ฐานข้อมูลของทางหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพาว่ามีฐานข้อมูลอะไรบ้างและมีประโยชน์อย่างไรบ้าง และได้ทดลองเข้าใช้ฐานข้อมูลต่างๆ ด้วยตนเองโดยเข้าถึงได้ที่ http://www.lib.buu.ac.th/



และสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลได้โดยดูที่หัวข้อด้านขวาที่ชื่อว่า Services For User และเลือกฐานข้อมูลที่จะเข้าไปใช้ได้ในหัวข้อดังนี้


WEB OPAC

E-Journal

E-Book

ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

E-Contents

วิทยานิพนธ์/วิจัย/บทความ มหาวิทยาลัยบูรพา(DCMS)

วิทยานิพนธ์/วิจัย/บทความ มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ(TDC)

เครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดชลบุรี



สัปดาห์ที่ 3 บันทึกการเรียนการสอน

ในสัปดาห์ได้เรียนเนื้อหาดังนี้
การคิด (Thinking) คือการที่คนคนหนึ่งพยายามใช้พลังงานทางสมองของตน ในการนำเอาข้อมูลความรู้ประสบการณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ มาตัดวางอย่างเหมาะสม เพื่อให้ได้มา ซึ่งผลลัพธ์ เช่นการตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ดีที่สุด เป็นต้น
การคิด เหมือนการเรียงหินที่กระจัดกระจายให้เป็นระเบียบเรียบร้อย โดยนำหินแต่ละก้อน มาประกอบกันในแต่ละที่ อย่างเหมาะสม "การเรียงหิน" เปรียบได้กับ "การจัดระเบียบข้อมูล" ที่เราได้ใช้การคิดไตร่ตรองอย่างละเอียด รอบคอบ ลึกซึ้ง และมีระบบระเบียบ คนที่ "คิดเป็น" จะสามารถจัดข้อมูลให้เรียงกัน อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อให้ได้ความคิดที่ดีที่สุด เช่นเดียวกับหิน ที่ได้รับการจัดวางเรียงอย่างเหมาะสม ย่อมกลายเป็นอาคารที่งดงามได้ในที่สุด ในขณะเดียวกัน คนที่ "คืดไม่เป็น" ก็เหมือนกับคนที่โยนก้อนหินมากองๆ รวมกัน หรือจัดอย่างสะเปะสะปะ ไม่รู้ว่า ก้อนใดควรอยู่ที่ใด ความคิดที่ออกมา จึงไม่ได้เป็นความคิดที่มีความชัดเจน และเป็นระบบ

การคิดวิเคราะห์ หมายถึง การจำแนกแจกแจงองค์ประกอบต่างๆ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริง ของสิ่งที่เกิดขึ้น

การคิดสังเคราะห์ หมายถึง ความสามารถในการดึงองค์ประกอบต่างๆ มาผสมผสาน หลอมเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้สิ่งใหม่ ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

การใช้เทคนิค 5W1H ในการคิดวิเคราะห์

การคิดวิเคราะห์ โดยการใช้เทคนิค 5W1H ในการคิดวิเคราะห์ จะใช้ในขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูล และทดสอบสมมติฐาน มีรายละเอียด ดังนี้
ปัญหาคืออะไร หรือ อะไรคือปัญหา

Who
ใคร (ในเรื่องนั้นมีใครบ้าง)
What
ทำอะไร (ทำอะไรบ้าง)
Where
ที่ไหน (เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นอยู่ที่ไหน)
When
เมื่อไหร่ (เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นทำเมื่อ วัน เดือน ปี ใด)
why
ทำไม (เหตุใดจึงได้ทำสิ่งนั้น หรอเกิดเหตุกาณ์นั้นๆ)
How
อย่างไร (เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นทำเป็นอย่างไรบ้าง)

และนอกเหนือจากนี้อาจารย์ได้ให้ข้าพเจ้าวิเคราะห์บทความเรื่อง "วัยรุ่นไทยไม่มีจิตสาธารณะเหตุพ่อแม่บีบให้คิดแต่เรียน" และได้สรุปบทความออกมาในรูปแบบของผังความคิด