วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
บันทึกกิจกรรมการเรียนสัปดาห์ที่15 ประมวลความรู้สู่การประยุกต์ใช้ในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เสมือนจริง (14 ก.พ. - 23 ก.พ. พ.ศ.2555)
ศูนย์ทรัพยากรการศึกษาเสมือนจริง

กลุ่มที่ 5 พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ลอยฟ้าตำนานดาราศาสตร์หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ลอยฟ้าตำนานดาราศาสตร์หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตั้งอยู่ริมอ่าวหว้ากอ ในตำบลคลองวาฬ มีอาณาเขตรวมเนื้อที่ 485 ไร่ 1 งาน 56.2 ตารางวา ในอดีต หว้ากอ เป็นชื่อหมู่บ้านเล็กๆ ในตำบลคลองวาฬซึ่งเคยเป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ได้ทรงคำนวณไว้ว่าจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง สามารถมองเห็นได้ชัดเจนที่นี่ ในวันที่ 18 สิงหาคม 2411 ทั้งยังเสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรสุริยุปราคา ณ ที่แห่งนี้พร้อมพระราชโอรส พระราชธิดา ข้าราชบริพาร ตลอดจนทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าให้ชาวต่างประเทศได้มีโอกาสร่วมชมปรากฏการณ์ ครั้งนี้ด้วย


กลุ่มที่ 6 ศูนย์บันเทิงศึกษาทัศนาชีวิตสัตว์
“ศูนย์บันเทิงศึกษาทัศนาชีวิตสัตว์” เป็นแหล่งการเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและชีวิตสัตว์สำหรับเยาวชนและประชาชนทั่วไป ให้ผู้เรียนมีช่องทางการเรียนรู้ที่หลากหลาย เป็นการขยายโอกาสทางการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากศูนย์จนเกิดกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งเป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษา ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผ่านเครือข่ายได้ทุกทีและทุกเวลา อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ศูนย์บันเทิงศึกษาทัศนาชีวิตสัตว์ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น

บันทึกกิจกรรมการเรียนสัปดาห์ที่14 ประมวลความรู้สู่การประยุกต์ใช้ในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เสมือนจริง (14 ก.พ. - 23 ก.พ. พ.ศ.2555)
ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เสมือนจริง

กลุ่มที่ 1 ศูนย์การเรียนรู้เล่าขานตานานพระราชวังสนามจันทร์จนครปฐม
พระราชวังสนามจันทร์ ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ ประมาณ 2 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 888 ไร่ 3 งาน 4 ตารางวา สร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากพระองค์สวรรคต พระราชวังสนามจันทร์ใช้เป็นที่ทำการของส่วนราชการต่าง ๆ ของจังหวัดนครปฐม รวมทั้ง เป็นวิทยาเขตหนึ่งของมหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบัน พระราชวังสนามจันทร์อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักพระราชวัง


กลุ่มที่ 2 ศูนย์อนุรักษ์ดอนหอยหลอด จ.สมุทรสงคราม
ดอนหอยหลอดเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งทะเลลักษณะดิน เกิดจากการทับถมของตะกอนแม่น้ำและตะกอนน้ำทะเลบริเวณ ปากแม่น้ำกลองทำให้แผ่นดินขยายออกไปในทะเลบริเวณพื้นที่ ตั้งแต่แนวชายฝั่งทะเลลงไปในทะเล ประมาณ 8 กิโลเมตร มีลักษณะผิวพื้นที่ชายฝั่งราบเรียบ ประกอยด้วยตะกอน โคลนกระจายเต็มพื้นที่เมื่อน้ำลงจะปรากฏสันดอนทราย กว้าง ประมาณ 4 กิโลเมตร เนื้อดิน มีความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหาร สภาพพื้นที่ ชายฝั่งหาดเลนปากแม่น้ำแม่กลองนี้มีร่องน้ำใหญ่ 3 ร่อง เกิดเป็นสันดอนทั้งหมด 5 แห่ง การขึ้นลงของน้ำทะเลเป็นแบบน้ำคู่ คือ น้ำขึ้นลงวันละ 2 ครั้ง ในขณะน้ำขึ้นมีทิศทางการไหลไปทางทิศเหนือและในขณะน้ำลงมีทิศทางการไหลไปทางทิศใต้อิทธิพลของกระแสลมทำให้ทิศทางของกระแสน้ำผันแปรไปบ้างเล็กน้อย



กลุ่มที่ 3 มินิสยาม
โครงการเมืองจำลอง เมืองจำลองสยาม เริ่มต้นโครงการด้วยการค้นคว้าข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2529 บนที่ดินขนาด 29 ไร่ โดยแบ่งเป็น เมืองจำลองสยาม และเมืองจำลองยุโรป พื้นที่ส่วนอื่นได้จัดสรรเป็นโถงขายบัตรเข้าชม พื้นที่เช่าสำหรับร้านขายของที่ระลึก และที่จอดรถ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นแบบจำลองชิ้นแรก

กลุ่มที่ 4 พิพิธภัณฑ์ตานานเจ้าแม่เขาสามมุข จ.ชลบุรี
เขาสามมุข สัญลักษณ์ในดวงตราประจำจังหวัดชลบุรี เป็นเนินเขาเตี้ย ๆ อยู่กึ่งกลางระหว่างบ้านอ่างศิลา และหาดบางแสน เชิงเขาเป็นที่ตั้งศาลเจ้าแม่เขาสามมุข ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของคนทั่วไป บริเวณเขาสามมุขมีลิงป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก หากขับรถขึ้นไปบนเขาจะมองเห็นวิวทิวทัศน์ของทะเลบางแสนได้สวยงาม

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
บันทึกกิจกรรมการเรียนสัปดาห์ที่ 13 งบประมาณ Budgeting ของการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ (7-9 ก.พ.2555)
หน่วยการเรียนรู้ที่ 11
งบประมาณ Budgeting ของการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
งบประมาณ Budgeting ของการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

การจัดทำงบประมาณ (Budgeting)
การวางแผนการที่คาดว่าจะต้องจ่าย โดยการคิดล่วงหน้าและแสดงข้อมูลออกมาเป็นตัวเลขและอาจแสดงออกมาในรูปของตัวเงิน จำนวนชั่วโมงในการทำงาน จำนวนผลิตภัณฑ์จำนวน ชั่วโมงเครื่องจักร ค่าสึกหรอ ค่าโสหุ้ยเป็นต้น

ความสำคัญของงบประมาณ
1.ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมต้นทุนโครงการ ตลอดจนแผนงานตั้งแต่ในระดับโครงการจนถึงการบริหารจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
2. ใช้เป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหาร ทำให้มีประสิทธิภาพในการวางแผนทางการเงินเนื่องจากเป็นแผนงานที่แสดงออกในลักษณะเชิงปริมาณจะที่เกิดขึ้นในเวลาที่กำหนด
3. สามารถนำงบประมาณไปใช้ในการควบคุมแผนงานก็จะช่วยให้ฝ่ายบริหารสามารถติดตามผลการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงานได้อย่างดี

นโยบายในการจัดทางบประมาณ
1. นโยบายงบประมาณสมดุล (Balanced Budget Policy) ซึ่งหมายถึงการประมาณการให้รายจ่ายประจำปีเท่ากับประมาณการรายได้ในปีนั้นๆ
2. นโยบายงบประมาณเกินดุล (Surplus Budget Policy) ซึ่งหมายถึง การประมาณการให้รายจ่ายประจำปีต่ำกว่าประมาณการรายได้ในปีเดียวกัน แนวทางนี้ต้องเรียกว่าเป็นแนวเศรษฐกิจพอเพียง คือ การใช้จ่ายอย่างระมัดระวังไม่เกินตัวนั่นเอง
3. นโยบายงบประมาณขาดดุล (Deficit Budget Policy)หมายถึง การกำหนดให้มีการจัดทำงบประมาณการรายจ่ายสูงกว่างบประมาณการรายได้ในปีเดียวกัน ซึ่งทำให้เกิดการกู้ยืมเงินหรือนำเงินสำรองมาใช้จ่ายเพิ่มเติมในปีงบประมาณดังกล่าว

กระบวนการงบประมาณหรือวงจรงบประมาณ(Budgeting Process) หรือวงจรงบประมาณ (Budgeting Cycle) ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอนคือ
1. การจัดทำงบประมาณ
1.1 การจัดตั้งคณะทำงาน
1.2 กำหนดระยะเวลา
1.3 ตรวจสอบรายละเอียดของแบบร่างงบประมาณรายรับ รายจ่าย
2. การอนุมัติงบประมาณ
3. การบริหารงบประมาณ
4. การติดตามประเมินผล

หมวดงบประมาณประเภทรายจ่ายศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้จำแนกออกเป็น 7 หมวด ดังนี้
(1) หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ
(2) หมวดค่าจ้างชั่วคราว
(3) หมวดค่าตอบแทนใช้สอย และวัสดุ
(4) หมวดค่าสาธารณูปโภค
(5) หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง
(6) หมวดเงินอุดหนุน
(7) หมวดรายจ่ายอื่น

บันทึกกิจกรรมการเรียนสัปดาห์ที่ 12 การสร้าง QR CODE (31 มกราคม - 2 ก.พ.2555)
ขั้นตอนการสร้าง QR-code

2.จะพบหน้าต่างที่มีหน้าตาดังรูป

3.ดำเนินการตามขั้นตอน
4.จะได้ QR-code ที่ต้องการ

สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)