หน่วยการเรียนรู้ที่ 11
งบประมาณ Budgeting ของการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
งบประมาณ Budgeting ของการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

การจัดทำงบประมาณ (Budgeting)
การวางแผนการที่คาดว่าจะต้องจ่าย โดยการคิดล่วงหน้าและแสดงข้อมูลออกมาเป็นตัวเลขและอาจแสดงออกมาในรูปของตัวเงิน จำนวนชั่วโมงในการทำงาน จำนวนผลิตภัณฑ์จำนวน ชั่วโมงเครื่องจักร ค่าสึกหรอ ค่าโสหุ้ยเป็นต้น

ความสำคัญของงบประมาณ
1.ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมต้นทุนโครงการ ตลอดจนแผนงานตั้งแต่ในระดับโครงการจนถึงการบริหารจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
2. ใช้เป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหาร ทำให้มีประสิทธิภาพในการวางแผนทางการเงินเนื่องจากเป็นแผนงานที่แสดงออกในลักษณะเชิงปริมาณจะที่เกิดขึ้นในเวลาที่กำหนด
3. สามารถนำงบประมาณไปใช้ในการควบคุมแผนงานก็จะช่วยให้ฝ่ายบริหารสามารถติดตามผลการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงานได้อย่างดี

นโยบายในการจัดทางบประมาณ
1. นโยบายงบประมาณสมดุล (Balanced Budget Policy) ซึ่งหมายถึงการประมาณการให้รายจ่ายประจำปีเท่ากับประมาณการรายได้ในปีนั้นๆ
2. นโยบายงบประมาณเกินดุล (Surplus Budget Policy) ซึ่งหมายถึง การประมาณการให้รายจ่ายประจำปีต่ำกว่าประมาณการรายได้ในปีเดียวกัน แนวทางนี้ต้องเรียกว่าเป็นแนวเศรษฐกิจพอเพียง คือ การใช้จ่ายอย่างระมัดระวังไม่เกินตัวนั่นเอง
3. นโยบายงบประมาณขาดดุล (Deficit Budget Policy)หมายถึง การกำหนดให้มีการจัดทำงบประมาณการรายจ่ายสูงกว่างบประมาณการรายได้ในปีเดียวกัน ซึ่งทำให้เกิดการกู้ยืมเงินหรือนำเงินสำรองมาใช้จ่ายเพิ่มเติมในปีงบประมาณดังกล่าว

กระบวนการงบประมาณหรือวงจรงบประมาณ(Budgeting Process) หรือวงจรงบประมาณ (Budgeting Cycle) ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอนคือ
1. การจัดทำงบประมาณ
1.1 การจัดตั้งคณะทำงาน
1.2 กำหนดระยะเวลา
1.3 ตรวจสอบรายละเอียดของแบบร่างงบประมาณรายรับ รายจ่าย
2. การอนุมัติงบประมาณ
3. การบริหารงบประมาณ
4. การติดตามประเมินผล

หมวดงบประมาณประเภทรายจ่ายศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้จำแนกออกเป็น 7 หมวด ดังนี้
(1) หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ
(2) หมวดค่าจ้างชั่วคราว
(3) หมวดค่าตอบแทนใช้สอย และวัสดุ
(4) หมวดค่าสาธารณูปโภค
(5) หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง
(6) หมวดเงินอุดหนุน
(7) หมวดรายจ่ายอื่น

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น