วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

งานวิจัยสื่อการเรียนการสอน

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้สื่อ Power Point
ในเรื่อง“Space”สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4



วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อพัฒนาการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โดยใช้สื่อสไลด์อิเลคทรอนิกส์ เรื่อง Space
2.เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Space ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้สไลด์อิเล็กทรอนิกส์ ก่อนเรียนและหลังเรียน
3.เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนที่เรียนโดยใช้สไลด์อิเล็กทรอนิกส์วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Space

สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า
ผู้วิจัยมีความเห็นว่าการแก้ปัญหาการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Space ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี กรุงเทพมหานคร ได้นำสื่อการเรียนการสอนมาช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำสไลด์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นสื่อที่สามารถแก้ไขได้ทันทีมาใช้ผู้วิจัยจึงมีความสนใจสร้างสื่อสไลด์อิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง Space ด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรม Power Point เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Space ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้สไลด์อิเล็กทรอนิกส์กับการเรียนแบบปกติ

ประชากรและกลุ่มเป้าหมาย
-ประชากร / กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทำการศึกษา
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 (จำนวน 51 คน)ปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี

สถานที่
โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี

การดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือ ดังนี้
1 สไลด์อิเล็กทรอนิกส์วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Space
2 แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย จำนวน 10 ข้อ
3 แบบประเมินคุณภาพสื่อ

การเก็บรวมรวมข้อมูล
1 ทำการทดสอบก่อนเรียนกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 51 คน ด้วยแบบทดสอบก่อนเรียน Unit 3 เรื่อง Space แล้วบันทึกผลไว้เป็นคะแนนก่อนเรียน
2 สร้างสไลด์อิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง Space โดยใช้โปรแกรม Power Point
3 นำสไลด์อิเล็กทรอนิกส์เรื่อง Space เป็นสื่อในการเรียนการสอนของนักเรียนใน Unit ที่ 3
4 เมื่อสอนจบบทเรียนแล้ว ทำการทดสอบหลังการเรียนอีกครั้งหนึ่ง แล้วเก็บคะแนนการทดสอบ
5 นำผลคะแนนการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน มาเปรียบเทียบกัน
6 นำแบบประเมินสื่อเรื่อง Space ให้นักเรียนกากบาทในช่องที่ตรงกับความเห็นของนักเรียนแล้วนำมาสรุปรายงานผลการประเมิน

การวิเคราะห์ข้อมูล
1 การเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนแล้วนำมาคิดเป็นร้อยละ เพื่อดูพัฒนาการของเรียนของนักเรียนเมื่อใช้สื่อการสอน Power Point เรื่อง Space แล้ว
2 สรุปผลสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนต่อสื่อ Power Point เรื่อง Space

สรุปผลการวิจัย
ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้สื่อ Power Point ในเรื่อง“Space”ในครั้งนี้จะเห็นได้ว่า สื่อมีผลต่อกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งทำให้ผลคะแนนของการทดสอบหลังเรียนมีคะแนนสูงขึ้นกว่าผลคะแนนก่อนเรียน และนักเรียนมีความพึงพอใจในการใช้สื่อประเภทนี้ในการประกอบการเรียนการสอน

เอกสารอ้างอิง
มิส นุชจิรา แจ่มกระจ่าง. งานวิจัยในชั้นเรียนการพัฒนาการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ในเรื่อง “Space” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้สื่อการสอน Power Point .กรุงเทพมหานคร:โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี,2553

สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ออนไลน์

สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ออนไลน์


สื่อคอมพิวเตอร์ออนไลน์(Online) คือ ใช้สายนำสัญญาณและใช้ซอฟแวร์จัดการให้ข้อมูลในเครื่องหนึ่งไปแสดงผลบนเครื่องอื่นได้ สื่อมัลติมีเดียก็ได้พัฒนาขึ้น ตามลำดับ และถูกนำไปใช้ในประโยชน์ใน ระบบเครือข่ายเล็กๆ (LAN) นั่นคือเริ่มใช้เป็นสื่อแบบออนไลน์ (online) อาศัยสายสัญญาณที่เชื่อมโยงติดต่อกันนั้นนำข้อมูลมัลติมีเดียจาก เครื่องแม่ข่าย (server) กระจายไปแสดงผลที่ทุกเครื่องที่เป็น ลูกข่าย (clients) ใน เครือข่าย (network)

หลักการใช้สื่อออนไลน์(Online)
การใช้สื่อออนไลน์มีผลกระทบต่อทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ขึ้นอยู่กับว่าจะมีผลกระทบในด้านใดถ้าเราใช้ไปในทางที่ดีผลกระทบมันก็จะเกิดประโยชน์ เกิดผลดีกับตัวเรา แต่หากเราใช้ไปในทางที่ผิดผลกระทบที่ไม่ดีมันก็จะเกิดขึ้นกับตัวเราอีกเช่นกันซึ่งทุกคนคงไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองเพราะฉะนั้นเราควรใช้สื่อออนไลน์ตามความจำเป็น และใช้ในทางที่ถูกต้องเพื่อประโยชน์ที่จะได้รับและตัวของคุณเอง


คุณสมบัติของสื่อออนไลน์
วัตกรรมทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงวิธีเรียนที่เป็นอยู่เดิม เป็นการเรียนที่ใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า เช่น อินทราเน็ต (Intranet) เอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet) อินเตอร์เน็ต (Internet) ดาวเทียม แผ่นซีดี (CD) วีดิโอเทป (VDO Tape) ฯลฯ ดังนั้นจึงหมายรวมถึงการเรียนทางไกล (Distance Learning) การเรียนผ่านเว็บ ห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual classroom) ซึ่งมีจุดเชื่อมโยงคือ เทคโนโลยีการสื่อสารเป็นสื่อกลางของการเรียนรู้


ลักษณะการทำงาน
- แบบไม่ประสานเวลา
- แบบประสานเวลา โต้ตอบต่างกันในเวลาเดียวกัน

ประเภทของสื่อออนไลน์
1. CAI ทำงานภายใต้ standalone หรืออาจทำงานภายใต้ Local Area Network เพราะ CAI ไม่ได้ออกแบบเพื่อสื่อสารถึงกัน
2. WBI เว็บช่วยสอน เป็นระบบการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่ประยุกต์ใช้คุณสมบัติและทรัพยากรของสื่อหลายมิติ
3. Web Quest ( การแสวงหาความรู้บนเว็บ ) เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ในการเรียนรู้ออนไลน์
4. M-Learning เป็นการจัดการเรียนการสอน โดยผู้เรียนเข้าถึงได้โดยสื่อการสอนผ่านเทคโนโลยี
5. D – Learning เป็นการเข้าถึงข้อมูลผ่านทางดาวเทียมหรือ GPS
6. Blended-Leaning เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
7. E-Learning เป็นการผสมผสานกับการเรียนในขั้นปกติโดยมีสัดส่วนในการเรียน โดยผสมผสานหลากหลายวิธีเกิดการเรียนรู้และเกิดทักษะในด้านปฏิบัติ
8. U-Learning เป็นกระบวนการบูรณาการของ Sever เข้ากับ Physical world อย่างไร้ขอบเขตและผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย

ผลที่เกิดกับผู้เรียน
• ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง จากทุกที่ทุกเวลาโดยอิสระ
• ผู้เรียนมีอิสระในการเรียน การบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละเนื้อหา ไม่จําเป็นต้องเหมือนกัน หรือพร้อมกับผู้เรียนรายอื่น
• มีระบบปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน และสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้


ผลที่เกิดกับผู้สอน
• ผู้สอนมีสภาพเป็นผู้ช่วยเหลือผู้เรียนในการค้นหา การประเมิน การใช้ประโยชน์จากเนื้อหา จากสื่อรูปแบบต่างๆ ที่มีให้บริการ
• มีระบบบริหารจัดการการเรียนรู้
• มีระบบบริหารจัดการเนื้อหา/หลักสูตร


ข้อดีของสื่อประเภทคอมพิวเตอร์ออนไลน์
- เป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้โดยตรง
- สามารถให้ข้อมูลข่าวสารและรายละเอียดได้ตามที่ต้องการ
- สามารถวัดผลตอบกลับการสื่อสาร ได้ในทันทีด้วยตัวเอง
- สามาระเรียนได้ทุกหนทุกแห่ง ทุกที่ทุกเวลา
- ขยายโอกาสทางการศึกษา
- กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักการสื่อสารในสังคม
- ข้อมูลและหลักสูตรเนื้อหารายวิชาสามารถหาได้โดยง่าย
- เป็นมัลติมีเดียที่ใกล้เคียงสามารถใชในชีวิตจริงได้


ข้อจำกัดของสื่อประเภทคอมพิวเตอร์ออนไลน์
-การออกแบบการเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นยังมีน้อย
- เป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้สอน
- การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน จึงไม่สามารถช่วยในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้
- ผู้เรียนบางคนโดยเฉพาะอาจไม่ชอบโปรแกรมที่เรียนตามขั้นตอน ทำให้เป็นอุปสรรค์

สื่อประเภทเสียง

สื่อประเภทเสียง






ความหมายและประเภทของเครื่องขยายเสียง
เครื่องขยายเสียงเป็นเทคโนโลยีทางด้านอิเล็กโทรนิคส์ที่ก้าวหน้าและมีความจำเป็นต่อชีวิตของคนเรามาก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบันทึกเสียง เครื่องรับวิทยุ และระบบเสียงของโทรทัศน์ และ C.V.D โดยต้องการให้เสียงนั้นมีความชัดเจนไม่มีเสียงรบกวนสอดแทรก มีเสียงเหมือนจริงตามธรรมชาติ และมีความไพเราะรื่นหู ปัจจุบันได้มีการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของเสียงให้อยู่ในขั้นดีเสียงดัง ฟังชัด และมีความเที่ยงตรง เหมือนความเป็นจริงมากที่สุด เรียกว่าระบบ Hi-Fi


ธรรมชาติของสื่อประเภทเสียง
สื่อที่มีเฉพาะเสียง บรรจุเสียงพูด ดนตรีประกอบ และเสียงเอฟเฟ็กต์ต่างๆ รวมอยู่ในตลับที่เรียกว่าเทปคาสเซ็ท โดยต้องอาศัยเครื่องเล่นเทปมาเปิดฟัง สามารถนำมาใช้กับบัตรคำ แผนภูมิ ชาร์ต ภาพชุด มีการอธิบายขั้นตอนการสาธิต การทำงาน การบรรยาย การปราศรัย เพื่อให้ผู้เรียนได้ฟังเพิ่มพูนความรู้ ในปัจจุบันมีรายการวิทยุกระจายเสียงที่กระจายอยู่ตามท้องถิ่นต่าง ๆ (วรวิทย์ นิเทศศิลป์.สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้.ปทุมธานี:สกายบุ๊กส์,2551)

ระบบเสียง
1. ระบบเสียงโมโน (mono phonic sound system) หมายถึงการขยายเสียงที่ขยายเสียงเพียง 1 ช่องเสียง ขยายเสียงเหมือนต้นกำเนิดเสียงเหมาะที่จะนำไปใช้ในการขยายเสียงพูดเสียงบรรยาย
2. ระบบเสียงสเตอริโอ (stereo phonic sound system) หมายถึง การขยายเสียงที่ขยายเสียงตั้งแต่ 2 ช่องเสียงขึ้นไป ขยายเสียงผิดเพี้ยนไปจากต้นกำเนิดเสียงในทางไพเราะ เหมาะที่จะนำไปใช้ในการขยายเสียงเพลง เสียงดนตรี ระบบเสียงสเตอริโอนั้น อาจสร้างขึ้นมาเป็นชนิด 2 ช่องเสียง (2 CH) คือช่องเสียงทางซ้าย (left channel) และช่องเสียงทางขวา (right channel) ซึ่งระบบนี้มนุษย์เรานิยมใช้ฟังกันมากเพราะตรงตามธรรมชาติของหูผู้ฟังคือ มี 2 หู หูซ้ายและหูขวา


ระบบของการขยายเสียง
การขยายเสียงมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
1. แหล่งต้นเสียง (Input Signal) หมายถึงส่วนที่ทำหน้าที่ผลิตต้นกำเนิดเสียงออกมาเพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องขยายเสียงในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้า เช่น ไมโครโฟน เทปบันทึกเสียง ซีดี และอื่น ๆ
2. เครื่องขยายเสียง (Amplifier) หมายถึง เครื่องมือที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้า จากแหล่งต้นเสียงให้มีสัญญาณแรงขึ้นหลาย ๆ เท่าตัว แล้วส่งต่อไปยังลำโพง
3.ลำโพง (Speaker) หมายถึง เครื่องมือที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้า ที่ส่งมาจากเครื่องขยายเสียงให้เป็นคลื่นเสียง ซึ่งมนุษย์เราจะรับฟังได้ การทำงานของระบบขยายเสียงเกิดขึ้นเมื่อ Input signal ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อส่งต่อเข้าสู่ Amplifier ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญ 3 ส่วนคือ
-Pre-Amp ทำหน้าที่รับสัญญาณไฟฟ้าเข้ามาแล้วควบคุมความแรงของสัญญาณนั้นให้มีความแรงของสัญญาณคงที่ สม่ำเสมอ
-Tone ทำหน้าที่ปรุงแต่งสัญญาณไฟฟ้า ให้เกิดความไพเราะ เช่น ปรุงแต่งเสียงทุ้ม (Bass) และปรุงแต่งเสียงแหลม (Treble)
-Power Amp ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าที่ปรุงแต่งแล้วให้มีความแรงของสัญญาณเพิ่มขึ้น แล้วส่งไปยังลำโพง (Speaker) ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นคลื่นเสียง เพื่อให้มนุษย์เราได้ยิน


ไมโครโฟนและการใช้ไมโครโฟน
ไมโครโฟน เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ แผ่นไดอะแฟรม จะสั่นสะเทือนและทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าขึ้น เป็นพลังงานไฟฟ้าชนิดกระแสสลับที่มีแรงคลื่นไฟฟ้าต่ำมาก ต้องส่งเข้าไปยังเครื่องขยายเสียง เพื่อขยายสัญญาณให้แรงเพิ่มขึ้นอีกทีหนึ่ง

ชนิดของไมโครโฟน
1. แบ่งตามลักษณะของโครงสร้างวัสดุ

ไมโครโฟนแบ่งออกได้เป็น 6 ชนิด ด้วยกันคือ
1) แบบคาร์บอน (Cabon mic) ทำจากผงถ่าน คุณภาพไม่ค่อยดี นิยมใช้กับเครื่องรับโทรศัพท์
2) แบบคริสตัล (Crystal mic) ใช้แร่คริสตัลเป็นตัวสั่นสะเทือน ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้า ไมโครโฟนชนิดนี้ไม่ทนต่อสภาพของอุณหภูมิและความชื้น ราคาถูก
3) แบบเซรามิค (Ceramic mic) คล้ายแบบคริสตัล แต่มีความทนทานสูงกว่า นิยใช้ติดตั้งกับเครื่องยานพาหนะ
4) แบบคอนเดนเซอร์ (Condenser mic) ใช้คอนเดนเซอร์ เป็นตัวสร้างความถี่ เพื่อทำให้เกิดสัญญาณขึ้น แต่ต้องอาศัยแบตเตอรี่ เป็นตัวช่วยในการทำงาน คุณภาพเสียงดี เบาเล็กกระทัดรัด 5) แบบไดนามิค (Dynamic mic) ใช้แม่เหล็กถาวร และมีขดลวด (moving coil) เคลื่อนไหวไปมาในสนามแม่เหล็ก ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำ และเกิดกระแสไฟฟ้าไหลในวงจร คุณภาพของเสียงดี มีความคงทน เหมาะที่จะใช้งานสาธารณะ
6) แบบริบบอน (Ribbon mic) ใช้แผ่นอลูมิเนียมเบา บางคล้ายกับริบบิ้น จึงต้องอยู่ระหว่างแม่เหล็กถาวรกำลังสูง เมื่อคลื่นเสียงมากระทบกับแผ่นอลูมิเนียม จะสั่นสะเทือนและเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น ไมโครโฟนชนิดนี้จะมีราคาแพง มีคุณภาพดีมาก มีความไวสูง แม้แต่เสียงหายใจ ลมพัด จะรับเสียงได้ เหมาะที่จะนำไปใช้ในห้องส่งวิทยุโทรทัศน์-บันทึกเสียง
2. แบ่งตามทิศทางของการรับเสียง
1) แบบรับเสียงได้ทิศทางเดียว (Uni-Directional mic) รับเสียงได้ทิศทางเดียวคือด้าน หน้า มีมุมรับเสียงค่อนข้างแคบ เหมาะที่จะนำไปใช้สำหรับการบรรยาย การบันทึกเสียง วงดนตรี หรือที่ที่ผู้พูดอยู่ด้านหน้าไมโครโฟน
2) แบบรับเสียงได้ 2 ทิศทาง (Bi-directional mic) รับเสียงได้ 2 ทิศทางที่อยู่ตรงข้างกัน
3) แบบรับเสียงได้รอบทิศทาง (Omni-directional mic) รับเสียงได้รอบทิศทาง โดยมี ความไวในการับเสียงเท่าๆ กัน เหมาะสำหรับใช้ในการแสดงบนเวที แต่มีข้อเสียคือ เสียงจะเข้ารอบทิศทาง ป้องกันสัญญาณย้อนกลับ (Feed back) ได้ยาก
4) แบบรับเสียงบริเวณด้านหน้ารูปหัวใจ (Cardioid mic) รับเสียงได้ทิศทางเดียว แต่สามารถรับเสียงได้เป็นมุมกว้าง คล้ายรูปหัวใจหรือใบโพธิ์ นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน
3. แบ่งตามลักษณะการใช้งาน
1) แบบตั้งโต๊ะ (Desk mic) ใช้เสียบบนขาตั้ง วางบนโต๊ะ หรือตั้งพื้นตรงหน้าผู้พูดโดยที ผู้พูดไม่ต้องเคลื่อนไปมา
2) แบบมือถือ (Hand mic) ใช้สำหรับนักร้อง นักโฆษณา
3) แบบห้อยคอ (Lavalier mic) มีขนาดเล็ก ใช้เสียงติดกับคอเสื้อ-กระเป๋าเสื้อ หรือเนค ไท นิยมใช้ในการทำรายการโทรทัศน์
4) แบบบูม (Boom mic) ติดอยู่บนแขนยาว ๆ อยู่เหนือศีรษะผู้พูดสามารถเสื่อนตามผู้ พูด หรือผู้แสดงไปได้ตลอด นิยมใช้ในห้องผลิตรายการโทรทัศน์ และห้องบันทึกเสียงการแสดง
5) แบบบิง (Bing mic) ใช้ตั้งโต๊ะอยู่กับที่โดยไม่เคลื่อนย้าย
6) แบบไม่มีสาย (Wireless mic) เป็นเครื่องส่งวิทยุระบบ F.M ขนาดเล็กกำลังส่งต่ำ ใช้กับเครื่องรับวิทยุระบบ F.M ส่งคลื่นไปได้ไกล ประมาณ 50-200 เมตรเท่านั้น


คุณสมบัติของไมโครโฟน
ไมโครโฟนในแต่ละแบบก็อาจมีคุณสมบัติต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
1.ไมโครโฟนทั่วๆ ไป มีผลตอบสนองความถี่ได้เรียบ ตั้งแต่ 100-10000 เฮิรทซ์ เป็นอย่างน้อยการตอบสนองความพี่ได้มากน้อง เพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับการใช้งาน เช่นการแสดงดนตรีต้องใช้ไมโครโฟนที่ตอบสนองความถี่กว้างประมาณ 50-15000 เฮิรทซ์ โดยราบเรียบเสมอกัน ซึ่งได้แก่ไมโครโฟนแบบไดนามิค แบบริบบอน เป็นต้น
2. ความไวในการรับเสียง เนื่องจากคลื่นเสียงผ่านอากาศไปสู่ไมโครโฟน ไมโครโฟน จะเปลี่ยนคลื่นเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า และมีความแรงพอที่จะป้อนเข้าสู่เครื่องขยายเสียงได้ไมโครโฟนที่มีความไวการรับเสียงสูง จะสามารถรับคลื่นเสียงที่อยู่ห่างจากไมโครโฟนได้ไมโครโฟนทั่วไป จะมีคามแรงของสัญญาณที่ได้ออกมาเป็นเดซิเบล (dB) ต่ำกว่า 1 โวลท์ เช่น -60 dB หรือ -50 dB ค่า dB เป็นลบมากจะมีความไวต่ำกว่าค่ำ dB ที่เป็นลบน้อย นั่นคือ -60dB ดมีความไวต่ำกว่า -50dB
3. อิมพีแดนซ์ (Impedance) หมายถึงความต้านทานของไมโครโฟนที่เกิดขึ้นขณะ มีสัญญาณหรอืกระแสสลับไฟลผ่าน มีหน่วยเป็นโอห์ม (Ohm) มี 2 ชนิด
1) อิมพแดนซ์สูง (High Impedance) มีค่า Impedance อยู่ระหว่าง 5-10, 50 และ 100 K Ohm ซื่งจะเขียนติดไว้บนตัวไมโครโฟนนี้ชนิดไม่ควรใช้สายยายเกินกว่า 25 ฟุต จะทำให้เกิดเสียงฮัมและสูญเสียกำลังไปในสาย
2) อิมพิแดนซ์ต่ำ (Low Impedance) มีค่า Impedance 200-600 โอมห์ ใช้สายไมโครโฟนได้ยาว กว่า 100 ฟุต


การใช้ไมโครโฟนและการบำรุงรักษา
การใช้ไมโครโฟนและการบำรุงรักษา ควรมีหลักการในการใช้และการบำรุงรักษาดังนี้
1. ไม่เคาะหรือเป่าไมโครโฟน
2. อย่าให้ไมโครโฟนล้มหรือตกเป็นอันขาด
3. ไม่ควรพูดใกล้หรือห่างไมโครโฟนเกินไป โดยทั่ว ๆ ไปจะพูดห่างประมาณ 1-4 นิ้ว ถ้าไมโครโฟนรับเสียงไวมากควรพูดห่างประมาณ 6-12 นิ้ว
4. บริเวณใกล้ ๆ ไมโครโฟนควรขจัดเสียงรบกวนอย่าให้หมด เช่น พัดลม, เครื่องปรั อากาศ
5. ควรติดตั้งไมโครโฟน ให้ห่างจากลำโพง ถ้าจำเนจะต้องอยู่ใกล้กัน ควรหันหน้า ลำโพงเนีออกไปไมให้มาตั้งฉากกับไมโครโฟน
6. ไม่ควรให้ไมโครโฟนเปียกน้ำหรือของเหลว
7. หลังจากเลิกใช้ไมโครโฟนควรเก็บใส่กล่องไว้ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันฝุ่นละออง และ การกระทบกระเทือน


เครื่องบันทึกเสียง และการใช้เครื่องบันทึกเสียง
เครื่องบันทึกเสียง ได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในหลายๆ วงการ เช่นนักข่าวใช้บันทึกเสียงการสัมภาษณ์ การสอบสวนใช้บันทึกเสียงผู้ให้ปากคำ ในวงการศึกษาได้นำเครื่องบันทึกเสียงมาใช้ประโยชน์ได้มากมายเช่นกัน โดยเฉพาะกิจกรรมเกี่ยวกับการเรียนการสอน เช่น บันทึกรายการที่น่าสนใจจากวิทยุ และโทรทัศน์ การฝึกปฏิบัติการทางภาษาทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ การเรียนดนตรี หรือม้กระทั่งการเรียนทางไกล ซึ่งใช้วิทยุและโทรทัศน์เป็นสื่อ ก็สามารถใช้เครื่องบันทึกเสียงรายการบทเรียนไว้ฟังได้หลาย ๆ ครั้ง หรือในเวลาที่ต้องการ และเมื่อไม่ต้องการใช้ก็สามารถลบทิ้งแล้วบันทึกใหม่ได้อีก นับว่าให้ความสะดวกแกผู้ใช้มากกับทั้งราคาไม่แพงด้วย จึงเป็นที่นิยมใช้กันมาก

หลักการบันทึกเสียงและฟังเสียง
จากทฤษฎีทางไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดจะเกิดสนามแม่เหล็กรอบๆ ขดลวด ถ้าพันขวดลวดหลาย ๆ รอบบนแกนเหล็ก จะทำให้มีอำนาจเป็นสนามแม่เหล็กได้มากขึ้นในทางตรงกันข้าม เมื่อสนามแม่เหล็กเคลื่อนที่ผ่านขดลวดจะเหนียวทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นมากน้อยขึ้นอยู่กับความแรงของสนามแม่เหล็ก ความเร็วในการเคลื่อนที่ ขนาดและความยาวของลวด หัวบันทึกของเครื่องบันทึกเสียงทำด้วยแท่งแกนเหล็กอ่อนรูปวงแหวนมีขดลวดพันอยู่โดยรอบ ส่วนปลายของวงแหวนด้านหน้าเป็นช่องว่าง ซึ่งเป็นที่ปล่อยเส้นแรงแม่เหล็กออกมา การบันทึกเสียงจะเริ่มจากคลื่นเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงจะผ่านไมโครโฟน ไมโครโฟนจะทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าตามลักษณะของคลื่นเสียง แล้วผ่านเครื่องขยายเพื่อขยายสัญญาณให้แรงขึ้น สัญญาณไฟฟ้าที่ถูกขยายแล้วนี้จะผ่านเข้าหัวบันทึกทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้น สนามแม่เหล็กจะผ่านออกมาทางปลายวงแหวน ซึ่งเป็นช่องว่าง เมื่อนำเทปมาผ่านช่องว่างนี้ เส้นแรงแม่เหล็กจะทำให้ผงเหล็กออกไซต์ (Iron Oxide) มีอำนาจแม่เหล็กมากน้อยเหมือนกับตัวบันทึกนั่นก็คือการบันทึกเสียงนั่นเอง


สารแม่เหล็ก เมื่ออยู่ในสนามแม่เหล็ก จะแสดงอำนาจแม่เหล็กและยังคงแสดงอำนาจแม่เหล็กอยู่ได้ แม้จะออกจากสนามแม่เหล็กแล้ว ดังนั้นทางตรงกันข้าม เมื่อนำแผ่นเทปที่บันทึกเสียงแล้วนี้ไปผ่านหัวฟัง (ซึ่งทำด้วยขดลวดพันรอบแกนเหล็กอ่อนเหมือนหัวบันทึก) ด้วยความเร็วเท่ากับตอนบันทึก อำนาจของแม่เหล็กบนแผ่นเทปจะเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าที่ขดลวดให้หัวฟังสํญญาณไฟฟ้าจะออกจากขดลวดผ่านเข้าไปในเครื่องขยายเสียง เพื่อขยายให้สัญญาณไฟฟ้านี้แรงขึ้น แล้วส่งออกสำโพง ลำโพงจะทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณ เสียงอีกทีหนึ่ง นี่ก็คือการฟังเสียงนั่นเอง


เครื่องบันทึกเสียงโดยทั่ว ๆ ไป จะมีแถบเสียงดังนี้
1. แถบเสียง (Single or Full Track) หัวบันทึกจะมีขนาดเท่ากับความกว้างของแผ่นเทป บันทึกได้เที่ยวเดียวเต็มแผ่นเทป จะกรอกกลับหรือกลับม้วนเทป เพื่อบันทึกใหม่ไม่ได้
2. แถบเสียง (Dual or Half Track) หัวบันทึกจะมีขนาดเป็นครึ่งหนึ่งของความกว้างของ แผ่นเทป บันทึกสัญญาณได้ 2 เที่ยว เที่ยวละครึ่งแถบ หมายความว่า เมื่อบันทึกไปหนึ่งแถบแล้ว สามารถกลับม้วนเทปและบันทึกได้อีกแถบหนึ่ง
3. แถบเสียงโมโน (Quarter Track Monophonics) หัวบันทึกจะมีขนาด 1/4 ของความกว้าง ของแผ่นเทป บันทึกได้ถึง 4 เที่ยว (มีเฉพาะเทปม้วน) การบันทึกเที่ยวแรกจะบันทึกได้ แถบที่ 1 เมื่อบันทึกหมดม้วนแล้วกรอกกลับ (ไม่ต้องกลับม้วนเทป) จะบันทึกใหม่ได้อีกแถบที่ 3 เมื่อหมดม้วนแล้วกลับม้วนเทป จะบันทึกได้อีกในแถบที่ 2 แล้วกรอกกลับบันทึกได้อีกในแถบที่ 4 เที่ยวในเทปเดียว ทั้งนี้ต้องเลื่อน ตำแหน่งสวิทซ์ที่เครื่องเทปให้ถูกต้องต้อง
4. แถบเสียงสเตริโอ (Quarter Track Stereophonics) หัวบันทึกจะมี 2 หัว แต่ละหัวจะมี ขนาด 1/4 ของความกว้างของแผ่นเทป บันทึกได้ 2 เที่ยวละ 2 แถบ การบันทึกเที่ยวแรกจะบันทึกในแถบที่ 1 และ 3 เมื่อกลับม้วนเทปหรือตลับเทป จะบันทึกได้อีก 1 เที่ยวในแถบที่ 2 และ 4 ซึ่งมีทั้งชนิดม้วนชนิดตลับ
เครื่องบันทึกเสียง และการใช้เครื่องบันทึกเสียง 4

ส่วนประกอบของเครื่องบันทึกเสียงและการทำงาน
ส่วนประกอบในเครื่องบันทึกเสียงๆ ไป ที่ควรทราบมีดังนี้
1) วงล้อจ่ายเทป (Supply Reel) มีเฉพาะเทปม้วน เมื่อเราต้องการจะบันทึกหรือฟังเสียงให้เอาม้วน เทปที่มีแผ่นเทปบรรจุอยู่มาใส่ตรงจุดนี้
2) วงล้อรับเทป (Take-up Reel) เป็นม้วนเทปเปล่าใช้สำหรับรับเทปจากวงล้อจ่ายเทป
3) ล้อเทปผ่าน (Stabilizer or Tape Guide) เป็นล้อสำหรับกั้นให้เทปดึงตลอดเวลาที่เครื่องทำงาน
4) ตัวควบคุมความเร็วของเทป (Capstan)
ทำหน้าที่หมุนดึงเทปให้เข้าสู่วงล้อรับเทปตามความเร็วที่ ต้องการ
5) ล้อยางกดเทป (Pinch Roller) ทำหน้าที่บีบแผ่นเทป โดยทำงานควบคู่ไปกับตัวควบคุมความเร็ว ของเทป
6) หัวลบ (Erase Head) ทำหน้าที่ลบสัญญาณที่บันทึกไว้
7) หัวบันทึก (Record Head) ทำหน้าที่บันทึกสัญญาณทำงานพร้อมกับหัวลบ
8) หัวฟัง (Playback Head) มีลักษณะเหมือนหัวบันทึก แต่ทำงานตรงกันข้าม


ข้อดีของสื่อประเภทเสียง
1. สามารถใช้กับกลุ่มเป้าหมายเป็นมวลชนจำนวนมากได้
2. ระยะกระจายเสียงกว้างและถ่ายทอดไปได้ในระยะไกล
3. ดึงดูดความสนใจของผู้ฟังและช่วยกระจายข้อมูลได้ในเวลาอันรวดเร็วมาก
4. สามารถใช้ได้โดยไม่จำกัดขนาดของกลุ่ม
5. เหมาะสำหรับการเรียนรู้กับทุกกลุ่ม


ข้อเสียของสื่อประเภทเสียง
1.การบันทึกเสียงคุณภาพสูงต้องใช้ห้องและอุปกรณ์เฉพาะ
2.บันทึกได้ง่ายและรวดเร็ว

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

สื่อประเภทกิจกรรม

สื่อประเภทกิจกรรม


ความหมายของสื่อประเภทกิจกรรม
สื่อกิจกรรม หมายถึง กระบวนการเรียนการสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการลงมือกระทำ สื่อการสอนมีความหมายกว้างขวาง ครอบคลุมทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้กับผู้เรียน กิจกรรมหรือวิธีการ นับเป็นสื่อการสอนที่มีศักยภาพสูงต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้บทเรียนดำเนินไปอย่างสนุกสนาน น่าสนใจ ผู้เรียนทุกคนมีโอกาส ร่วมในกิจกรรมตลอดเวลา การใช้วิธีการหรือกิจกรรมเพื่อการเรียนการสอนอาจต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์เข้ามาช่วย เพื่อส่งเสริม ให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น

ธรรมชาติของสื่อกิจกรรม
สื่อกิจกรรม และกระบวนการ หมายถึง กิจกรรมหรือกระบวนการที่ครูหรือผู้เรียนกำหนดขึ้นเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ ใช้ในการฝึกทักษะซึ่งต้องใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้ของผู้เรียน เช่น การแสดงละครบทบาทสมมติ การสาธิต สถานการณ์จำลอง การจัดนิทรรศการ การไปทัศนศึกษานอกสถานที่ การทำโครงงาน เกม เพลง การปฏิบัติตามใบงาน ฯลฯ

สื่อกิจกรรมจะมี 2 แบบคือ
- การใช้วัสดุอุปกรณ์
-
ไม่ใช้วัสดุอุปกรณ์

หลักการใช้สื่อกิจกรรม
1. กำหนดจุดประสงค์
2. ความเป็นไปได้
3. ความคุ้มค่า
4. ความเหมาะสมกับผู้เรียน สังคมและวัฒนธรรม
5.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดขอบข่าย เนื้อหาและวัตถุประสงค์
6. กิจกรรมตรงกับเนื้อหาหรือไม่

ลักษณะสื่อกิจกรรมที่ดี
1. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์ การทำกิจกรรม และประเมินผลกิจกรรม
2. ผู้เรียนได้ฝึกฝนพฤติกรรมการเรียนทั้งทางด้านความรู้ เจตคติ และทักษะผสมผสานกันเป็นบูรณาการอย่างเป็นระบบ
3. มีลักษณะของการกระทำเด่นชัดด้วยการกำหนดคำที่แสดงถึงการกระทำไว้ด้วยทุกครั้ง
4. กำหนดเงื่อนไขสำหรับประกอบกิจกรรมไว้ชัดเจน สามารถวัดผล และสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนได้
5. มีเกณฑ์หรือมาตรฐานในการดำเนินกิจกรรม กำหนดพฤติกรรมที่ถือเป็นระดับต่ำสุดที่พึงพอใจ
6. ใช้เวลาพอเหมาะที่ผู้เรียนจะสามารถดำเนินกิจกรรมให้ประสบผลสำเร็จ และก่อให้เกิดความภาคภูมิใจได้
7. มีการชี้แนวทางหรือนำทางในการดำเนินกิจกรรมได้เด่นชัด
8. กิจกรรมต้องตรงกับเนื้อหาและจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
9. กิจกรรมไม่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อน มีความยากง่ายเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
10. เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

สื่อการสอนประเภทกิจกรรมที่จะนำเสนอในหน่วยการเรียนนี้มี 6 ชนิด คือ
1. นิทรรศการ (Exhibition)
2. นาฏการ (Dramatization)
3. การสาธิต (Demonstration)
4. การใช้ชุมชนเพื่อการศึกษา (Community Study)
5. สถานการณ์จำลอง (Simulation)
6. การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip)














1. นิทรรศการ (Exhibition)
นิทรรศการ หมายถึง การจัดแสดงสิ่งของวัสดุ อุปกรณ์มีความสัมพันธ์กันในแต่ละเรื่อง เพื่อเร้าความสนใจให้ผู้ชม มีส่วนร่วมและเรียนรู้ด้วยการดู ฟัง สังเกต จับต้อง และทดลองภายใต้จุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจุดมุ่งหมาย โดยการใช้สื่อ หลายชนิด เช่น แผนภาพ หุ่นจำลอง ของจริง นอกจากนี้นิทรรศการยังสามารถจัดกิจกรรมอื่น ๆ ประกอบ เพื่อให้เกิดความสะดวก และรวดเร็วในการสื่อความหมายกับผู้ชม คุณค่าของนิทรรศการ
1. ส่งเสริมการทำงานเป็นหมู่คณะ ฝึกความรับผิดชอบ ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในทางที่ดี
2. สื่อต่าง ๆ ที่นำมาจัดแสดงสามารถสื่อความหมายสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมได้
3. เป็นการจัดการเรียนการสอนตามอัธยาศัย ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ด้วยการดู ฟัง สังเกต
4. สามารถนำความคิดที่กระจัดกระจายมารวมกันไว้ให้ผู้ชมสรุปเป็นความคิดรวบยอดได้อย่างถูกต้อง
หลักการออกแบบสำหรับนิทรรศการ
การจัดนิทรรศการให้มีประสิทธิภาพในการเร้าความสนใจ และให้ประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ชม ควรยึดหลักการออกแบบดังต่อไปนี้
1. ความเป็นเอกภาพ (Unity) หมายถึง การออกแบบทุกสิ่งทุกอย่างในการจัดนิทรรศการให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
2. ความสมดุล (Balancing) หมายถึง การจัดสิ่งต่าง ๆ ให้ได้สัดส่วนที่ก่อให้เกิดความรู้สึกสบาย ไม่หนักหรือเบาไปด้านใดด้านหนึ่ง
3. การเน้น (Emphasis) เป็นการจัดสิ่งเร้าให้ดูเด่นเร้าความสนใจตามวัตถุประสงค์ในการจัดนิทรรศการองค์ประกอบต่าง ๆ
ที่เป็นตัวเน้นได้ดี เช่น เส้น สี น้ำหนัก ทิศทาง ขนาด แสง เสียง เป็นต้น
4. ความเรียบง่าย (Simplicity) การจัดสิ่งเร้าให้มีความเรียบง่ายจะช่วยให้รู้สึกสบายสะดุดตา
5. ความแตกต่าง (Contrast) เป็นการจัดองค์ประกอบให้มีลักษณะแตกต่างกัน ให้ความรู้สึกตัดกัน เพื่อความชัดเจนและโดดเด่น
6. ความกลมกลืน (Harmony) เป็นการจัดองค์ประกอบให้มีลักษณะใกล้เคียงกัน ให้ความรู้สึกกลมกลืน นุ่มนวล ราบเรียบ














2. นาฏการ (Dramatization)
นาฏการ หมายถึง การแสดงต่าง ๆ ที่จัดขึ้นสำหรับถ่ายทอดความเข้าใจระหว่างผู้แสดงกับผู้ดูการแสดงนาฏการเป็นการเสนอสิ่งเร้า ที่เป็นของจริง หรือเสมือนของจริง ซึ่งเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้เรียนสนใจ และเอื้อประโยชน์ให้เกิดการเรียนรู้ได้สะดวก นาฏการสามารถจัด ลำดับการเสนอเป็นเรื่องราวให้ผู้เรียนเกิดความร้สึกเสมือนว่าตัวเองเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้น ๆ ด้วย
คุณค่าของนาฏการ
1. ทำให้บทเรียนเป็นจริงเป็นจัง น่าสนใจ เกิดความประทับใจและจดจำได้นาน
2. นักเรียนได้ฝึกทักษะทางภาษา
3. ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงออกได้เข้าใจ
4. ฝึกความคิดสร้างสรรค์และการแก้ปัญหาร่วมกัน
5. สร้างและเปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้เรียนไปในทางที่ดี
6. ช่วยระบายความเครียดและสนองความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก
ประเภทของนาฏการ
นาฏการแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. นาฏการที่แสดงด้วยคน ได้แก่ การแสดงละคร ละครใบ้ หุ่นชีวิต การแสดงกลางแปลง และการแสดงบทบาทสมมุติ
2. นาฏการที่แสดงด้วยหุ่น ได้แก่ หนังตะลุง หุ่นเสียบไม้ หุ่นสวมมือ และหุ่นชักใย

นาฏการที่แสดงด้วยคน
1. การแสดงละคร (Play) เป็นการแสดงที่เห็นถึงความเป็นอยู่ อุปนิสัย หรือวัฒนธรรม หรือทั้งสามรวมกัน
ในการแสดงละครจะต้องจัดให้ใกล้เคียง กับสถานการณ์จริง ๆ มากที่สุดโดยอาจต้องจัดสภาพแวดล้อม จัดฉากการแต่งกายและส่วนประกอบต่าง ๆ รวมถึงการเตรียมบทการฝึกซ้อม
2. ละครใบ้และหุ่นชีวิต (Pantomime and Tableau) ละครใบ้เป็นการแสดงลักษณะท่าทางการเคลื่อนไหว
และสีหน้าให้ผู้ดูเข้าใจ โดยผู้แสดงไม่ต้องใช้คำพูดเลย การแสดงเช่นนี้ช่วยฝึกพัฒนาการในด้านการเคลื่อนไหวอวัยวะต่าง ๆ ให้ผู้ดูเข้าใจ
3. การแสดงกลางแปลง (Pageant) เป็นการแสดงกลางแจ้ง เพื่อการถ่ายทอดศิลปะและวัฒนธรรมพื้นบ้าน
ตลอดถึงประเพณีหรือพิธีการต่าง ๆ ในท้องถิ่น โดยใช้ผู้แสดงหลายคน
4. การแสดงบทบาท (Role Playing) เป็นการแสดงโดยใช้สถานการณ์จริง หรือเลียนแบบสถานการณ์จริง
ในสภาพที่เป็นปัญหา มาให้ผู้เรียนหาวิธีแก้หรือใช้ความสามารถความคิดในการวินิจฉัย ตัดสินปัญหาในช่วงเวลา 10-15 นาที
การแสดงแบบนี้ส่วนมาก ไม่มีการซ้อมหรือเตรียมการล่วงหน้า ผู้แสดงจะใช้ความสามารถและแสดงบทบาทไปอย่างอิสระ

นาฏการที่แสดงด้วยหุ่น
หุ่น (Puppets) เป็นตัวละครที่ไม่มีชีวิต เคลื่อนไหวด้วยการกระทำของมนุษย์เรา สร้างหุ่นด้วยวัสดุง่าย ๆ เพื่อการถ่ายทอด เรื่องราวและแนวคิดต่าง ๆ ให้กับผู้เรียนโดยเฉพาะกับเด็กในวัย 2-6 ปี เด็กในวัยนี้ชอบการเล่น สมมุติ และเรื่องราวที่เป็นจินตนาการ การเคลื่อนไหวของหุ่นจึงสามารถเร้าความสนใจของเด็กได้เป็นอย่างดี
คุณค่าของหุ่น
1. หุ่นใช้แสดงเรื่องราวต่าง ๆ ได้สะดวกและง่ายกว่าการแสดงโดยใช้คนจริง ทำให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย 2. ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างทั่วถึง
3. พัฒนาทักษะในการเขียน การคิด การแสดงออก การทำงานกลุ่ม และช่วยเหลือเด็กขี้อายให้มีความกล้ามากขึ้น
4. ผู้เรียนทุกคนพอใจและสนใจในการเรียน
ประเภทของหุ่น
หุ่นมีหลายประเภทแตกต่างกันดังนี้
1. หุ่นเงา (Shadow Puppet) เป็นหุ่นที่ฉลุจากหนังสัตว์ หรือกระดาษแข็งแล้วใช้ไม้ไผ่ยึดเป็นโครงสำหรับเชิดและ
บังคับให้หุ่นเคลื่อนไหว เวลาแสดงจะต้องใช้ตัวหุ่นอยู่หลังจอ แล้วใช้แสงส่องให้เกิดเงาบนจอ เช่น หนังตะลุง
2. หุ่นเสียบไม้ หรือหุ่นกระบอก (Rod Puppet) เป็นหุ่น 3 มิติที่ใช้แท่งไม้เสียบกับคอหุ่นเพื่อให้ผู้เชิดถือขณะเชิดหุ่น การทำหุ่นชนิดนี้มีตั้งแต่แบบยาก ๆ เช่น กระพริบตา ขยับปากได้จนถึงแบบง่าย ๆ ที่ไม่มีส่วนเคลื่อนไหว ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการเรียน การสอนได้ เวลาแสดงหุ่นแบบนี้ผู้เชิดหุ่นจะอยู่ตอนล่างด้านหลังของเวที
3. หุ่นสวมมือ (Hand Puppet) เป็นหุ่นขนาดเล็กครึ่งตัวมีขนาดพอเหมาะกับขนาดของมือที่เชิดหุ่น
หัวหุ่นทำด้วยกระดาษหรือผ้าเป็นหัวคน หรือสัตว์ มีเสื้อต่อที่คอหุ่นใต้ลำตัวและแขนกลวง เพื่อสอดมือเข้าไปเชิดให้เกิดการเคลื่อนไหว เนื่องจากหุ่นมือเป็นหุ่นที่ทำได้ง่าย เชิดง่าย จึงนิยมนำมาใช้ในการเรียนการสอนมากกว่าหุ่นชนิดอื่น
4. หุ่นชัก (Marionette) เป็นหุ่นเต็มตัว ที่ใช้เชือก ด้าย หรือไนล่อนผูกติดกับอวัยวะต่าง ๆ ของหุ่น แล้วแขวนมาจาก ส่วนบนของเวที ผู้ชักหุ่นจะบังคับเชือก ควบคุมการเคลื่อนไหวของหุ่นให้ทำกิริยาท่าทางต่าง ๆ ได้คล้ายคนจริง ๆ แต่การบังคับหุ่นทำได้ยาก และต้องใช้เวลาฝึกฝนนานจึงไม่ค่อยได้นำมาใช้ในวงการศึกษามากนัก
หลักการใช้หุ่นกับการสอน
1. เวลาที่ใช้แสดงควรเป็นช่วงสั้น ๆ
2. พิจารณาว่าได้ประโยชน์คุ้มค่ากับการลงทุนลงแรงเพียงไร เพราะการใช้นาฏการอาจต้องเสียค่าใช้จ่าย เช่น ค่าเครื่องแต่งกาย และวัสดุต่าง ๆ
3. พยายามให้เด็กทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงให้มากที่สุด แม้จะไม่ได้เป็นตัวละครก็ควรให้มีส่วนในการวางแผน ช่วยเหลือการแสดงและประเมินผล
4. จัดนาฏการให้เหมาะสมกับพื้นฐานความรู้ ความสนใจ และวุฒิภาวะของเด็ก
5. ควรใช้สื่อการสอนอื่นมาประกอบด้วย
6. ควรเลือกแสดงในเรื่องที่สามารถทำเรื่องยากให้ง่ายต่อการเข้าใจ เรื่องนามธรรมให้เป็นรูปธรรม หรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมจริยธรรมต่าง ๆ
7. จัดนาฏการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน

















3. การสาธิต (Demonstration)
การสาธิต หมายถึง การสอนโดยวิธีอธิบายข้อเท็จจริง ความคิด และขบวนการต่าง ๆ พร้อมกับการใช้วัสดุหรือเครื่องมือแสดง ให้ผู้เรียนได้สังเกตไปด้วย การสาธิตใช้ได้ดีกับเนื้อหาวิชาที่มีลักษณะเป็นลำดับขั้นตอนและกระบวนการ
คุณค่าของการสาธิต
1. เป็นจุดรวมความสนใจของนักเรียน
2. แสดงขั้นตอนหรือเรื่องราวที่เป็นขบวนการได้ดี โดยเฉพาะในการสอนวิชาทักษะ เช่น ดนตรี การใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ฯลฯ
3. เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง เช่น การสังเกต วิจารณ์ และปฏิบัติด้วยตนเอง
4. ช่วยให้ผู้เรียน เรียนด้วยความสนุกสนานและเข้าใจเนื้อหาที่เรียนดีขึ้น
5. ฝึกให้ผู้เรียนมีวิจารณญาณ และเสริมสร้างทัศนคติที่ถูกต้องให้กับผู้เรียน
6. ลดเวลาในการลองผิดลองถูกของผู้เรียนให้น้อยลง
7. สามารถใช้สอนได้ทั้งวิชาที่ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ประกอบ และวิชาที่มีลักษณะเป็นนามธรรม
8. ประหยัดค่าใช้จ่าย ทุ่นเวลา และป้องกันอันตราที่เกิดขึ้นกับนักเรียนได้ดี
โอกาสในการสาธิต
การใช้วิธีการสาธิต เพื่อการเรียนการสอนอาจทำได้หลายโอกาส คือ
1. ใช้วิธีสาธิตเพื่อนำเข้าสู่บทเรียนเรื่องใหม่ เพื่อเป็นการเร้าความสนใจให้กับผู้เรียน
2. ใช้เพื่อสร้างปัญหาให้ผู้เรียนคิดและหาทางแก้ไขปัญหา
3. เพื่อการสร้างความเข้าใจในเนื้อหา หลักการ และความคิดรวบยอดของบทเรียน
4. ช่วยแก้ปัญหาการสอนในกรณีที่มีเครื่องมือจำกัด ราคาแพง และอาจเป็นอันตรายต่อผู้เรียน








4. การใช้ชุมชนเพื่อการศึกษา (Community Study)
การใช้ชุมชนเพื่อการศึกษา หมายถึง การใช้แหล่งวิชาการและสภาพแวดล้อมของชุมชนให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ เพื่อขยายประสบการณ์ของผู้เรียนให้กว้างขวาง มีโอกาสสัมผัสใกล้ชิดกับสภาพความเป็นจริงมากขึ้น และช่วยให้ผู้เรียนสามารถ นำความรู้ ประสบการณ์ไปใช้แก้ปัญหาในการดำรงชีวิตในโอกาสต่อไปได้อย่างดี
ประโยชน์ของการใช้ชุมชนเพื่อการศึกษา
1. ทำให้ผู้เรียนคุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมและรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้นำความรู้จากห้องเรียนไปใช้จริง ๆ กับการเชื่อมโยงสภาพการณ์ในห้องเรียนกับสภาพความเป็นจริง
3. แหล่งวิชาการในชุมชน ขยายความรู้เพิ่มเติมจากที่ครูสอนในหลักสูตรให้สมบูรณ์ขึ้นช่วยให้นักเรียนพบเห็นสิ่งที่เป็นจริง
4. แหล่งวิชาการในชุมชนมีมากมายอยู่แล้ว ทั้งสถานที่และบุคคล ถ้าครูเลือก และนำมาใช้ให้เหมาะสมก็จะได้ผลคุ้มค่า เพราะเสียค่าใช้จ่ายน้อยหรือไม่เสียเลย
5. เปลี่ยนบรรยากาศในการเรียน ให้ผู้เรียนได้พบสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ เร้าความสนใจและเพิ่มพูนความเข้าใจ
6. ฝึกนิสัยช่างซักถาม และสังเกตพิจารณา
7. ฝึกการทำงานร่วมกัน ฝึกความรับผิดชอบ มนุษยสัมพันธ์ ระเบียบวินัย และการตรงต่อเวลา
8. เปิดโอกาสให้นักเรียนใช้ทักษะด้านการพูดภาษา การเขียน การคิดคำนวณ ศิลปะ
9. แก้ปัญหาครูไม่มีความรู้ ความคุ้นเคยกับชุมชน
10. มีผลต่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทัศนคติผู้เรียน
11. สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถานศึกษาและชุมชน นับเป็นการประชาสัมพันธ์สถานศึกษาอย่างหนึ่ง
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ในชุมชน
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ในชุมชนมีหลายประเภท กล่าวโดยสรุปคือ
1. บุคคล ได้แก่ ผู้มีประสบการณ์โดยตรงอยู่ในสาขาอาชีพต่าง ๆ เช่น ตำรวจ พ่อค้า นักธุรกิจ เกษตรกร
2. สถานที่ ได้แก่ ทุ่งนา แม่น้ำ ภูเขา ป่าไม้ โรงงาน สถานที่ราชการ สโมสร และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ
3. วัสดุอุปกรณ์ในชุมชนที่สามารถนำมาเป็นสื่อการสอน เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ผลผลิตทางการเกษตร
และงานศิลปหัตถกรรมในชุมชน
4. กิจกรรมของชุมชน ได้แก่ การละเล่นพื้นบ้าน งานประเพณี และพิธีต่าง ๆ เช่น การบวช แต่งงาน ทอดกฐิน
วิธีการใช้ชุมชนเพื่อการศึกษา
1. การศึกษาภายในบริเวณโรงเรียน เป็นการใช้แหล่งทรัพยากรนอกห้องเรียนที่ทำได้สะดวกที่สุด แหล่งวิชาการ
อาจเป็นได้ทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในบริเวณโรงเรียน เช่น สนามหญ้าต้นไม้ สระน้ำ
2. การศึกษาในชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ หมายถึง สถานที่ในชุมชนที่ไม่ไกลจากโรงเรียนมากนัก การศึกษาแบบนี้
ทำได้ง่ายไม่สิ้นเปลืองทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย ไม่ต้องขออนุญาตเจ้าสังกัดให้ยุ่งยากวุ่นวาย
3. การเชิญวิทยากรมาบรรยาย หมายถึง การเชิญบุคลากรจากสาขาอาชีพต่าง ๆ ที่มีประสบการณ์โดยตรง
4. การทัศนาจรการศึกษาหรือทัศนศึกษา เพื่อการพานักศึกษาออกไปศึกษาหาความรู้จากแหล่งชุมชนอื่นที่ไกล
จากที่โรงเรียนตั้งอยู่ ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของสถานศึกษาและต้องได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองของผู้เรียนก่อนด้วย







5. สถานการณ์จำลอง (Stimulation)
สถานการณ์จำลอง เป็นการจัดสภาพแวดล้อมเลียนแบบของจริงให้ใกล้เคียงสภาพความเป็นจริงให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้เรียน ได้ฝึกหัดแก้ปัญหาและตัดสินใจจากสภาพการณ์ที่เขากำลังเผชิญอยู่นั้น การจัดสถานการณ์จำลอง เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับ คนที่ออกไปเผชิญกับปัญหาจริง ๆ เช่น นักเรียนฝึกหัดครู ก่อนที่จะสอนต้องได้รับการฝึกฝนด้านวิชาการสอน วิธีฝึกอย่างหนึ่ง ที่ได้ผลดีคือ การฝึกจากสถานการณ์จำลองนั่นเอง ขบวนการแก้ปัญหาในสถานการณ์จำลอง เมื่อเสนอสถานการณ์จำลองให้กับผู้เรียนแล้ว ครูควรสรุปแนวทางในการแก้ปัญหา
ให้กับผู้เรียนแล้วให้นักเรียนเข้าร่วมมีบทบาทในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง แนวทางในการแก้ปัญหาโดยทั่วไปจะประกอบด้วย
1. ปัญหาคืออะไร
2. สาเหตุของปัญหา
3. รวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ
4. หาทางเลือกสำหรับการตัดสินใจ (อาจมีหลายทาง)
5. ตัดสินใจเลือกวิธีแก้ปัญหาที่มีเหตุผลดีที่สุด
6. ลงมือแก้ปัญหาตามวิธีที่เลือก
7. ประเมินผลการแก้ปัญหา
8. พิจารณาปรับปรุงผลของการแก้ปัญหาเพื่อนำไปใช้ต่อไป

การใช้สถานการณ์จำลองในการสอน
ลำดับขั้นในการใช้สถานการณ์จำลองในการสอน ครูอาจทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ คือ
1. ผู้สอนเสนอสถานการณ์ที่ทำให้เกิดปัญหา
2. ผู้เรียนศึกษาปัญหารวบรวมข้อมูลเอเป็นแนวทางตัดสินใจ และแก้ปัญหาตามขั้นตอน จนกระทั่งได้ข้อสรุป
การทำงานในขั้นนี้นิยมแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อย เพื่อหาแนวทางของแต่ละกลุ่ม
3. แต่ละกลุ่มเสนอวิธีการแก้ปัญหาของตนต่อชั้นเรียน
4. ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันประเมินค่าโดยพิจารณาเหตุผลว่าวิธีการใดที่ดี และมีเหตุผลดีที่สุด สำหรับการแก้ปัญหานั้น ๆ








6. การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip)
การศึกษานอกสถานที่หรือทัศนศึกษา หมายถึง กิจกรรมที่พาผู้เรียนออกไปหาประสบการณ์นอกห้องเรียน เพื่อให้เกิดการเรียน ที่สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ การไปทัศนศึกษาต่างจากการทัศนาจรโดยทั่ว ๆ ตรงที่ การทัศนาจรมุ่งความสนุกสนาน เพลิดเพลินเป็นสำคัญ ส่วนการศึกษานอกสถานที่เน้นการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่ปู้เรียน ซึ่งต้องอาศัยการวางแผนและ การดำเนินการอย่างมีขั้นตอนเป็นสำคัญ
คุณค่าของการศึกษานอกสถานที่
1. ช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรง
2. ช่วยให้บทเรียนมีความหมายยิ่งขึ้น
3. ช่วยให้ฝึกฝนระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา และมนุษยสัมพันธ์
4. ช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกันทั้งก่อนและหลังการทำกิจกรรมทัศนศึกษา
5. ช่วยให้ผู้เรียนได้ร่วมกิจกรรมการเรียนอย่างเพลิดเพลิน
6. ช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปในลักษณะบูรณาการ

ข้อดีสื่อประเภทกิจกรรม
1. ส่งเสริมให้แสดงออก และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
2. ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ ด้วยตนเอง
3. ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
4.สื่อกิจกรรมสามารถปรับปรุง ดัดแปลงแก้ไขให้ยืดหยุ่นเหมาะสมกับโอกาสและสถานการณ์ได้ง่าย

ข้อจำกัดของสื่อประเภทกิจกรรม
1. ผู้รับความรู้มีจำนวนจำกัด เฉพาะกลุ่มผู้เรียนเท่านั้น
2.มีความยุ่งยากในการออกแบบสื่อกิจกรรม
3.ไม่เหมาะสมกับสิ่งที่เป็นนามธรรม
4. ความเป็นไปได้
5.อาจเกิดอันตรายได้ในประสบการณ์ตรงหรือกิจกรรม
6.หากเป็นกิจกรรมที่ซ้ำจากประสบการณ์เดิมก็จะส่งผลให้ผู้เรียนรู้สึกน่าเบื่อ
7.ต้องเตรียมและวางแผนโดยละเอียดรอบคอบ
8.ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการสร้างบทเรียน

สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ออฟไลน์

สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ออฟไลน์

ความหมาย

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน โดยที่เนื้อหาวิชา แบบฝึกหัด และแบบทดสอบจะถูกพัฒนาขึ้นในรูปของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ
1) สามารถเรียนแบบการสอนได้ และ
2) มีสมรรถภาพในการรวบรวมสารสนเทศและข้อมูลต่าง ๆ

ธรรมชาติของสื่อประเภทคอมพิวเตอร์ออฟไลน์
แบบไม่ใช้สายหรือไม่มีการติดต่อกันทางสาย ซึ่งหมายถึง การนำแผ่นดิสก์หรือแผ่นซีดีรอมที่บันทึกข้อมูล มาเล่นบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง เพียงเครื่องเดียว (เรียกกันว่าแบบแสตนด์อะโลน (stand alone) แผ่นซีดีรอมใช้อยู่ที่คอมพิวเตอร์เครื่องใด ภาพและเสียงก็จะแสดงผลอยู่ที่เฉพาะเครื่องนั้น





หลักการใช้สื่อออฟไลน์
เป็นสื่อที่มีข้อมูลข่อนข้างเก่าง่าย และ ยากต่อการปรับปรุงสื่อ offline ที่เป็นที่นิยมกันมากคือ การโฆษณาผ่านหนังสือพิมพ์ แต่สื่อเหล่านี้ ต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างมาก ดังนั้น อาจจะทำในสื่อ offline แบบอื่นๆ เช่น ที่คั่นหนังสือ ทำสติกเกอร์ติดรถ หรือ ใส่เสื้อที่มีชื่อเว็บไซต์ของเราเอง เพราะให้หลายๆ คนมองเห็น

ลักษณะเฉพาะ
สามารถบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ได้รวดเร็ว , วิเคราะห์ , เก็บข้อมูลจำนวนมาก ๆ ใช้ในการนันทนาการและการตอบสนองการสร้างโปรแกรมช่วยสอน

คุณสมบัติ
1. ใช้เป็นรายบุคคล (Individualized) ไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ออกแบบเพื่อใช้ส่วนบุคคล นับว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ผลดีที่สุด
2. มีการตอบโต้อย่างทันที (Immediate Feedback)
3. เป็นกระบวนการติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียน (Track Learners Process)
4. ปรับให้ทันสมัยได้ง่าย (Each of Updating)
5. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ไม่สามารถทำงานได้ทุกอย่างเหมือนคน ด้วยเหตุนี้ จึงนำมาเป็นส่วนนึ่งหรือช่วยสอนเท่านั้น การแก้ปัญหาเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการเขียนโปรแกรมให้สอดคล้องกับหลักจิตวิทยา
6. การเขียนโปรแกรมที่ดีต้องอาศัยความชำนาญอย่างมาก

ข้อบ่งใช้/วิธีใช้สื่อ
การเรียนจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียน การให้ผู้เรียนอ่านเนื้อหาไปทีละหน้าจอๆ นั้นไม่ใช่การสร้างปฏิสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพนักสำหรับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผู้สร้างควรที่จะสร้างสรรค์กิจกรรมมากมายหลายรูปแบบเพื่อให้ผู้ใช้เกิดแรงจูงใจในการเรียนมากขึ้น ตัวอย่างเช่น แทนที่จะนำเนื้อหาเกี่ยวกับองค์ประกอบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ไปทีละหน้าจอๆ ผู้สร้างสามารถที่จะออกแบบให้ผู้เรียนคลิกที่ภาพนั้นก็จะนำไปสู่ภาพขององค์ประกอบคอมพิวเตอร์อีกครั้งหนึ่ง นอกจากนั้นผู้สร้างอาจที่จะใช้เสียงบรรยายเนื้อหาได้ด้วย การนำเสนอเนื้อหาในลักษณะนี้ นอกจากจะบังคับให้ผู้ใช้มีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนแล้วยังทำให้ผู้ใช้บทเรียนมองเห็นภาพความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างแรงจูงใจในการเรียนเนื่องจากการที่ผู้ใช้เกิดความอยากรู้อยากเห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นหลังจากการคลิกลงบนภาพ

ผลที่เกิดกับผู้ใช้สื่อ
เป็นการช่วยขยายขีดความสามารถของผู้สอนในการควบคุมผู้เรียนได้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากสามารถบรรจุข้อมูล ได้ง่ายและสะดวกในการนำออกมาใช้

ผลที่เกิดกับผู้เรียน
สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ (FEEDBACK) นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา

ข้อดีของสื่อออฟไลน์
- สามารถใช้ได้ทุกที่ ๆ มีคอมพิวเตอร์ ไม่จำเป็นต้องต่อกับระบบ network เพราะภายในตัวสื่อนี้มีความพร้อมอยู่แล้ว เกิดการจูงใจทำให้มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ง่าย ใช้เวลาในการเรียนรู้ไม่มากนักเนื่องจากการใช้งานของโปรแกรมไม่ซับซ้อน

ข้อเสียของสื่อออฟไลน์
- เป็นสื่อที่มีข้อมูลค่อนข้างเก่าง่าย และ ยากต่อการปรับปรุง
- ไม่สามารถแก้ไข้ข้อมูลได้ตลอดเวลา

สื่อมัลติมีเดีย

สื่อมัลติมีเดีย


ความหมายสื่อมัลติมีเดีย


สื่อมัลติมีเดีย คือ การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟิก (Graphic) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และวีดิทัศน์ (Video) เป็นต้น และถ้าผู้ใช้สามารถที่จะควบคุมสื่อให้นำเสนอออกมาตามต้องการได้จะเรียกว่า สื่อมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้สามารถจะกระทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) เป็นต้น การใช้สื่อมัลติมีเดียในลักษณะปฏิสัมพันธ์ก็เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้หรือทำกิจกรรม รวมถึงดูสื่อต่างๆ ด้วยตนเองได้สื่อต่างๆ ที่นำมารวมไว้ในสื่อมัลติมีเดีย เช่น ภาพ เสียง วีดิทัศน์ จะช่วยให้เกิดความหลากหลายในการใช้คอมพิวเตอร์อันเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในแนวทางใหม่ที่ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์น่าสนใจ และเร้าความสนใจ เพิ่มความสนุกสนานในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น



องค์ประกอบของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา

1.ตัวอักษร
2. กราฟิก
3. ภาพเคลื่อนไหว
4. เสียง
5. วีดีโอ


ลักษณะเฉพาะ
คุณลักษณะสำคัญของสื่อมัลติมีเดีย
คุณลักษณะสำคัญ 4 ประการของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองที่สมบูรณ์ ได้แก่
1. Information (สารสนเทศ) หมายถึง เนื้อหาสาระ (content) ที่ได้รับการเรียบเรียงแล้วเป็นอย่างดี ซึ่งทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือได้รับทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดที่ผู้สร้างได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ โดยอาจจะนำเสนอเนื้อหาในลักษณะทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้
2. Individualization (ความแตกต่างระหว่างบุคคล) การตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลทั้งจากบุคลิกภาพ สติปัญญา ความสนใจ พื้นฐานความรู้ คือลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยผู้เรียนจะมีอิสระในการควบคุมการเรียนของตนเอง รวมทั้งการเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับตนเองได้ เช่น สามารถควบคุมเนื้อหา ควบคุมลำดับของการเรียน ควบคุมการฝึกปฏิบัติ หรือการทดสอบ เป็นต้น
3. Interaction (การมีปฏิสัมพันธ์) เนื่องจากผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หากได้มีการโต้ตอบหรือปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน ดังนั้น สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาที่ออกแบบมาเป็นอย่างดีจะเอื้ออำนวยให้เกิดการโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอย่างต่อเนื่องและตลอดทั้งบทเรียน
การอนุญาตให้ผู้เรียนเพียงแต่คลิ๊กเปลี่ยนหน้าจอไปเรื่อยๆทีละหน้า ไม่ถือว่าเป็นปฏิสัมพันธ์ที่เพียพอสำหรับการเรียนรู้ แต่ต้องมีการให้ผู้เรียนได้ใช้เวลาในส่นของการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์เพื่อให้ได้มาซึ่งกิจกรรมการเรียนนั้นๆ
4. Immediate Feedback (ผลป้อนกลับโดยทันที) การให้ผลป้อนกลับนี้เป็นสิ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนแตกต่างไปจากมัลติมีเดีย-ซีดีรอมส่วนใหญ่ ซึ่งได้มีการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องราวของสิ่งต่างๆ แต่ไม่ได้มีการประเมินความเข้าใจของผู้เรียน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของการทดสอบ แบบฝึกหัด หรือการตรวจสอบความเข้าใจในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง จึงทำให้มัลติมีเดีย-ซีดีรอมเหล่านั้น ถูกจัดว่าเป็น มัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอข้อมูล (Presentation Media) ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

คุณสมบัติ
การใช้มัลติมีเดียโดยทั่วไป จะพิจารณาคุณสมบัติหลัก 2 ประการ คือ การควบคุมการใช้งาน และความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้
-การควบคุมการใช้งานเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของระบบมัลติมีเดีย คือ ผู้ใช้ต้องสามารถควบคุมระบบและขั้นตอนการนำเสนอได้ง่ายไม่ซับซ้อน
-ความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ เป็นคุณสมบัติที่เพิ่มขึ้นมาพร้อมๆ กับพัฒนาการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนรู้สามารถโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ โดยคอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลจากผู้ใช้ไปประมวลผล เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการโต้ตอบหรือการประเมิน ซึ่งจะช่วยให้การเรียนรู้ด้วยตนเองมีประสิทธิภาพและน่าสนใจขึ้น


มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ เป็นมัลติมีเดียที่เน้นการให้ผู้ใช้เป็นผู้ควบคุมการนำเสนอ การเลือกเส้นทางเดิน (Navigation) การโต้ตอบ การให้ความรู้ และกิจกรรมที่มีในบทเรียน วัตถุประสงค์เพื่อการเรียนการสอน และการฝึกอบรมเป็นหลัก หรือสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนทั้งในและนอกระบบโรงเรียน ในการออกแบบโปรแกรม ผู้ออกแบบต้องนำความก้าวหน้า ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์บูรณาการเข้ากับแนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาการเรียนรู้เพื่อส่งทอดไปยังผู้เรียน โดยผู้เรียนสามารถควบคุมลำดับขั้นตอนการเรียนรู้ เลือกเนื้อหาการเรียน กิจกรรมการเรียน ตรวจสอบความก้าวหน้า และทดสอบความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติที่มีครูเป็นศูนย์กลางและเป็นผู้ควบคุมกิจกรรมการเรียนการสอน จะเห็นได้ว่าการเรียนการสอนโดยใช้มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์มีจุดเด่นอยู่ที่การควบคุมกิจกรรมการเรียน การควบคุมเวลาเรียน และการได้มีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนซึ่งจะส่งผลดีต่อการเรียนเป็นรายบุคคล และสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

ปัจจุบันการออกแบบมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ได้รับการพัฒนาบนระบบคอมพิวเตอร์เพียงระบบเดียว เนื่องจากความมีประสิทธิภาพที่เท่าเทียมกับการนำมาต่อพ่วงร่วมกับระบบฮาร์ดแวร์อื่นๆ ทำให้มีความสะดวกในการใช้งานด้านการเรียนการสอนในชั้นเรียน หรือการเรียนการสอนแบบรายบุคคล ในวงการศึกษาทั่วไปเรียกสื่อประเภทนี้ว่า มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์เพื่อการเรียนการสอน (Interactive Multimedia Instruction หรือ IMI)

ข้อบ่งใช้/วิธีใช้สื่อ
ข้อควรคำนึงในการเลือกใช้สื่อมัลติมีเดีย
1. ความคุ้มค่า
2. เลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของสื่อ
3. เลือกใช้ให้สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ และจุดมุ่งหมาย โดยพิจารณาว่าสื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหา และจุดมุ่งหมายที่จะนำเสนอ มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ และเป็นสื่อที่จะให้ผลต่อการเรียน การสอนมากที่สุด อีกทั้งเป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์ของผู้ศึกษา
4. เลือกใช้ให้เหมาะกับกระบวนการเรียนการสอน เช่น นำสื่อนั้นมาใช้เป็น สื่อหลัก หรือ สื่อเสริม เป็นต้น
5. เลือกใช้ให้เหมาะกับขนาดของกลุ่มเป้าหมาย
6. เลือกให้เหมาะสมกับทรัพยากรที่มี (สายโทรศัพท์ จำนวนเครื่อง ความเร็วโมเด็ม และทัศนคติของคน)
7. เลือกใช้สื่อที่มีอยู่แล้วแทนการสร้างเอง หรือดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้วให้ใช้ได้ดี และเหมาะสมมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
8. จรรยาบรรณเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก
http://www.uni.net.th/~08_2543/chap04/418.html

บอกจุดเด่น/จุดด้อยของสื่อ
ข้อดี
1. เทคโนโลยีด้านสื่อมัลติมีเดียช่วยให้การออกแบบบทเรียน ตอบสนองต่อแนวคิด และทฤษฎีการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งผลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิจัยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียว่า สามารถช่วยเสริมการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นได้
2. สื่อมัลติมีเดียในรูปแบบของซีดีรอม ใช้ง่าย เก็บรักษาง่าย พกพาได้สะดวก และสามารถทำสำเนาได้ง่าย
3. สื่อมัลติมีเดียเป็นสื่อการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองตามศักยภาพ ความต้องการ และความสะดวกของตนเอง สามารถสร้างสถานการณ์จำลอง จำลองประสบการณ์ ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
4. ในปัจจุบันมีโปรแกรมช่วยสร้างบทเรียน (Authoring Tools) ที่ง่ายต่อการใช้งานทำให้บุคคลที่สนใจทั่วไปสามารถสร้างบทเรียนสื่อมัลติมีเดียใช้เองได้
5. ผู้สอนสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อสอนเนื้อหาใหม่ เพื่อการฝึกฝน เพื่อเสนอสถานการณ์จำลอง และเพื่อสอนการคิดแก้ปัญหา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้เป็นประการสำคัญ รูปแบบต่างๆ ดังกล่าวนี้จะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ และรูปแบบการคิดหาคำตอบ
6. สื่อมัลติมีเดียช่วยสนับสนุนให้มีสถานที่เรียนไม่จำกัดอยู่เพียงห้องเรียน เท่านั้น ผู้เรียนอาจเรียนรู้ที่บ้าน ที่ห้องสมุด หรือภายใต้สภาพแวดล้อมอื่นๆ ตามเวลาที่ ตนเองต้องการ
7. เทคโนโลยีสื่อมัลติมีเดีย สนับสนุนให้เราสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียกับผู้เรียนได้ ทุกระดับอายุ และความรู้ หลักสำคัญอยู่ที่การออกแบบให้เหมาะสมกับผู้เรียนเท่านั้น
8. สื่อมัลติมีเดียที่มีคุณภาพ นอกจากจะช่วยให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนของโรงเรียน หรือหน่วยงานแล้ว ความก้าวหน้าของระบบครือข่าย ยังช่วยส่งเสริมให้การใช้สื่อมัลติมีเดียเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาอื่นๆ อีกด้วย
ข้อจำกัด
1. ถึงแม้ว่าขณะนี้ราคาของเครื่องคอมพิวเตอร์ และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จะ ลดลงมากแล้วก็ตาม แต่การที่จะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในวงการศึกษาในบางสถานที่นั้นจำเป็นต้อง มีการพิจารณากันอย่างรอบคอบเพื่อให้คุ้มกับค่าใช้จ่าย ตลอดจนการดูแลรักษาด้วย
2. การออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาที่มีคุณภาพเหมาะสมตามหลักทางจิตวิทยา และการเรียนรู้นับว่ายังมีน้อย เมื่อเทียบกับการออกแบบโปรแกรมเพื่อใช้ในวงการด้านอื่น ๆ ทำให้สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษามีจำนวน และขอบเขตจำกัดที่จะนำมาใช้ในการเรียนวิชาต่าง ๆ
3. ในขณะนี้ยังขาดอุปกรณ์ที่ได้คุณภาพมาตรฐานระดับเดียวกัน เพื่อให้สามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบกัน
4. การที่จะให้ผู้สอนเป็นผู้ออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษานั้นเป็นงานที่ต้องอาศัยเวลา สติปัญญา และความสามารถเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เป็นการเพิ่มภาระของผู้สอนให้มีมากยิ่งขึ้น
5. คอมพิวเตอร์เป็นสื่อที่มีความยุ่งยากในการใช้งาน และความซับซ้อนของระบบการทำงานมาก เมื่อเทียบกับสื่ออื่นๆ
6. มีตัวแปรที่เป็นปัญหานอกเหนือจากการควบคุมมาก เช่น ไฟฟ้าขัดข้อง ระบบ Server เป็นต้น
7. เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสื่อมัลติมีเดียมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ทำให้ผู้ผลิตสื่อมัลติมีเดียต้องหาความรู้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเสมอ
8. ในการผลิตสื่อมัลติมีเดียนั้นต้องการทีมงานที่มีความชำนาญในแต่ละด้านเป็นอย่างมากอีกทั้งต้องมีการประสานงานกันในการทำงานสูง
จาก http://www.thaiedunet.com/cet/html/multimedia/multi_lesson/lesson/07/adv_multi.html

สื่อประเภทสื่อฉาย





สื่อฉาย


ธรรมชาติของสื่อ
เครื่องฉายที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน ได้แก่ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายแผ่นใส และเครื่องฉายภาพหรือวัสดุทึบแสง จุดประสงค์ที่สำคัญของการฉาย คือการแสดงให้เห็นการเคลื่อน และแสดงสิ่งที่มีขนาดเล็กให้เห็นเป็นขนาดใหญ่ขึ้น



หลักการใช้สื่อ
ประเภทของเครื่องฉาย

เครื่องฉายมีอยู่หลายประเภทการแบ่งประเภทมีการแบ่งอยู่หลายลักษณะเช่น

1. แบ่งตามระบบการฉาย
1.1. ระบบการฉายตรง (Direct Projection) เป็นระบบที่แสงจากหลอดฉายส่องตรงผ่าน เลนซ์รวมแสง ผ่านวัสดุฉาย ผ่านเลนซ์ฉาย ออกสู่จอ เช่น ระบบของเครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริฟ







1.2. ระบบฉายอ้อม (Indirect Projection) หรือเรียกว่า ระบบแสงส่องสะท้อนผ่านวัสดุฉาย แสงผ่านวัสดุฉายและส่วนประกอบอื่น ออกไปสู่จอในลักษณะที่แสงไม่ได้ส่องตรงไปที่เดียว แต่จะมีการสะท้อนเปลี่ยนทิศทาง เช่น ระบบการฉายในเครื่องฉายแผ่นโปร่งใส







1.3. ระบบแสงส่องสะท้อน(Reflect Projection) หรือแสงส่องสะท้อนที่ไม่ผ่านวัสดุฉายระบบนี้ แสงจากหลอดฉาย ตกกระทบวัสดุฉาย แล้วสะท้อนผ่านส่วนประกอบอื่น ออกไปสู่จอโดยแสงไม่ผ่านวัสดุฉาย ทั้งนี้เพราะวัสดุที่จะใช้ฉายกับเครื่องประเภทนี้มีความทึบแสง




2. แบ่งตามลักษณะภาพที่ปรากฏบนจอ
2.1 เครื่องฉายภาพนิ่ง จะให้ภาพนิ่งปรากฏบนจอ ได้แก่ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายภาพทึบแสง และเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (เครื่องฉายภาพโปร่งใส) เป็นต้น
2.2 เครื่องฉายภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนจอจะทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกว่าเคลื่อนไหวเหมือนภาพที่เป็นจริง ได้แก่ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายฟิล์มลู๊ป เครื่องฉายภาพดิจิตอล

3. แบ่งตามลักษณะของวัสดุฉาย
3.1 เครื่องฉายภาพโปร่งใส (Transparency Projector) ซึ่งวัสดุฉายจะเป็นวัสดุโปร่งใสหรือโปร่งแสง (Transparency Materials) เช่น เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายภาพยนตร์ และเครื่องฉายไมโครฟิล์ม เป็นต้น
3.2 เครื่องฉายภาพทึบแสง (Opaque Projector) เป็นเครื่องฉายที่ฉายวัสดุทึบแสงซึ่งแสงจะไม่สามารถผ่านวัสดุฉายได้ แต่จะใช้หลักการสะท้อนของภาพแทน
3.3. เครื่องฉายภาพดิจิตอล(Digital Projector) เป็นเครื่องฉายที่ใช้วัสดุจัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเหมือนกับวัดสุฉายที่เป็นลักษณะโปร่งแสงหรือทึบแสง เครื่องฉายภาพดิจตอลของ BenQ

4. แบ่งตามลักษณะการใช้งาน ซึ่งแต่ละประเภทจะใช้งานในลักษณะต่าง ๆ เช่น
4.1 เครื่องฉายสไลด์
4.2 เครื่องฉายฟิล์มสตริป
4.3 เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
4.4 เครื่องฉายภาพทึบแสง


5. แบ่งตามลักษณะเทคโนโลยีการผลิตเครื่องฉาย
5.1 เครื่องฉายที่ใช้เทคโนโลยีแบบพื้นฐาน กล่าวคือ เป็นเครื่องฉายใช้อุปกรณ์กลไกที่ไม่ซับซ้อน เป็นเครื่องฉายที่ใช้เทคโนโลยีง่ายๆ และใช้กลไกเป็นหลักในการทำงานของเครื่องฉาย เช่น
-เครื่องฉายสไลด์
-เครื่องฉายฟิล์มสตริป
-เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
-เครื่องฉายภาพทึบแสง
5.2 เครื่องฉายที่ใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนหรือเครื่องฉายประเภทที่ใช้อุปกรณ์เล็กทรอนิกส์ เช่นเครื่องฉายภาพดิจิตอล ซึ่งเครื่องฉายดิจิตอลโดยมีการพัฒนามานานพอสมควร โดยเริ่มจากเครื่องวีดิโอโปรเจ็คเตอร์ที่ใช้หลอดฉายประเภท CRT แล้วพัฒนามาเป็นยุค LCD ซึ่งในระยะแรก ๆ ยังมีคุณภาพที่ด้อยกว่าชนิดที่ใช้หลอดภาพ CRT จากนั้นได้มีความพยายามในการพัฒนาในหลาย ๆ เทคโนโลยี เช่น DLP, D-ILA และ LCOS เป็นต้น อย่างไรก็ตามเครื่องฉายได้รับการพัฒนามาจนถึงปัจจุบันที่สามารถเรียกกันได้ว่าเป็นเครื่องฉายภาพดิจิตอล เนื่องจากให้คุณภาพของภาพที่คมชัดกว่าเครื่องฉายที่ใช้สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์แอนนาลอกทำให้คุณลักษณะของเครื่องฉายประเภทนี้มุ่งการพัฒนาไปสู่ดิจิตอลมากขึ้น จนแทบจะกล่าวได้ว่า เครื่องฉายประเภทที่ใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนหรือเครื่องฉายประเภทที่ใช้อุปกรณ์เล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องฉายที่ใช้ดิจิตอลหมดแล้ว

ส่วนประกอบของเครื่องฉาย
1 หลอดฉาย (Lamp) เป็นแหล่งกำเนิดแสงสว่างสำหรับการฉาย มีอยู่หลายชนิด แต่ที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบันคือหลอดชนิดที่เรียกว่า หลอดฮาโลเจน (Halogen) ซึ่งเป็นหลอดขนาดเล็ก กินไฟน้อย แต่ให้แสงสว่างมากกว่าหลอดแบบเก่า ขนาดตามกำลังไฟฟ้าของหลอดฉาย มีตั้งแต่ 150 W จนถึง1,000 W ในเครื่องฉายสไลด์ มักใช้ขนาด 150 W 250 W และ 300 W เครื่องฉายแผ่นใส อาจใช้ขนาด 250 W, 650 W





2 แผ่นสะท้อนแสง (Reflector) มีลักษณะโค้งครึ่งวงกลมแบบก้นกะทะ ฉาบด้วยวัสดุสะท้อนแสง ทำหน้าที่สะท้อนแสงของหลอดฉายให้พุ่งออกเป็นลำแสงขนานไปในทิศทางเดียวกันหลอดฉายบางชนิดจะมีส่วนที่ทำหน้าที่สะท้อนแสงติดอยู่ด้วย







3 เลนซ์รวมแสง(Condenser Lens) เป็นชุดของเลนซ์นูน ทำหน้าที่รวมหรือบีบลำแสงให้มีความเข้มสูงไปผ่านที่วัสดุที่จะฉาย ในเครื่องฉายบางแบบ เช่น เครื่องฉายวัสดุทึบแสงไม่มีเลนซ์ชนิดนี้ เนื่องจากเครื่องฉายวัสดุทึบแสงใช้วิธีการฉายแบบสะท้อน
4 แผ่นกรองความร้อน (Heat Filter/Heat absorbing glass) ป้องกันความร้อนจากหลอดฉายไม่ให้ตกกระทบเลนซ์ และวัสดุฉายมากเกินไป
5 เลนซ์ฉายภาพ (Projection Lens) เป็นชุดของเลนซ์ที่มีคุณสมบัติเป็นเลนซ์นูน ทำหน้าที่บังคับแสงที่ผ่านมาจากวัสดุฉายให้ปรากฏที่จอ เพื่อให้เกิดภาพที่ชัดเจน และมีขนาดเหมาะสมการปรับความคมชัดของภาพบนจอที่เรียกว่าปรับโฟกัสจะปรับที่เลนซ์ตัวนี้ บางครั้งจึงมีผู้เรียกเลนซ์นี้ว่า เลนซ์โฟกัส(Focusing Lens) ภาพที่ผ่านเลนซ์นี้ไปปรากฎบนจอจะเป็นภาพกลับดังนั้น เพื่อให้ฉายภาพได้เป็นภาพปกติการใส่วัสดุฉายจึงต้องกลับหัวลง
6 เลนซ์เกลี่ยแสง (Freshnel Lens) มีใช้ในเครื่องฉายวัสดุโปร่งใสเท่านั้น ทำหน้าที่คล้ายกับเลนซ์รวมแสง ช่วยรวมแสงร่วมกับเลนซ์รวมแสง และช่วยเกลี่ยแสงให้ผ่านแผ่นโปร่งแสงซึ่งมีขนาดใหญ่ได้สม่ำเสมอทั่วทั้งแผ่น


7. พัดลม (Fan) ใช้สำหรับการระบายความร้อนออกจากเครื่องฉาย ถ้าพัดลมเกิดชำรุดอาจทำให้เครื่องฉายเสียหายได้ง่าย ในเครื่องฉายบางชนิด เช่น เครื่องฉายแผ่นโปร่งใสอาจมีส่วนควบคุมการทำงานของพัดลมอัตโนมัติ คือพัดลมจะทำานอัตโนมัติเมื่อเครื่องร้อน ถ้าเครื่องยังไม่ร้อน พัดลมจะหยุดการใช้เครื่องฉายบางชนิดหลังจากปิดฉายแล้วมีความจำเป็นต้องเสียบปลั๊กไว้ก่อน 2-5 นาที เพื่อให้พัดลมระบายความร้อน






องค์ประกอบของการฉาย
การฉายจะเกิดขึ้นได้ต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย 3 ประการคือมีจอฉาย เครื่องฉาย และวัสดุฉาย



1. จอ(screen)









2. เครื่องฉาย

3. วัสดุฉาย ซึ่งมีทั้งวัสดุโปร่งแสงและวัสดุทึบแสง





สภาพของการฉายที่ดี
1. การควบคุมแสงสว่าง จะต้องควบคุมแสงสว่างได้อย่างต่อเนื่อง เช่นจากสว่างไปค่อย ๆ มืด หรือจากมืดไปค่อย ๆ สว่าง
2. ระบบเสียง ต้องชัดเจนทั่วทั้งห้องฉาย
3. ระบบระบายอากาศ ต้องระบายอากาศได้ดี
4. ความชัดเจนของภาพ ทุกจุด ไม่เกิดภาพผิดเพี้ยนหรือ keystone or distortion

ข้อเด่นของสื่อ
1.สามารถขยายภาพถ่าย ภาพเขียน ข้อความ หรือวัสดุทึบแสงให้มีขนาดใหญ่ได้
2.เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่
3. ช่วยลดภาระในการผลิตแผ่นภาพโปร่งใส สไลด์ หรือภาพกราฟิก
ข้อด้อยของสื่อ
1. สามารถขยายภาพถ่าย ภาพเขียน ข้อความ หรือวัสดุทึบแสงให้มีขนาดใหญ่ได้
2. เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่
3. ช่วยลดภาระในการผลิตแผ่นภาพโปร่งใส สไลด์ หรือภาพกราฟิก

สื่อสิ่งพิมพ์

สื่อสิ่งพิมพ์



ความหมายของสื่อสิ่งพิมพ์
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายคาที่เกี่ยวกับ“สื่อสิ่งพิมพ์”ไว้ว่า “สิ่งพิมพ์ หมายถึง สมุด แผ่นกระดาษ หรือวัตถุใด ๆ ที่พิมพ์ขึ้น รวมตลอดทั้งบทเพลง แผนที่ แผนผัง แผนภาพ ภาพวาด ภาพระบายสี ใบประกาศ แผ่นเสียง หรือสิ่งอื่นใดอันมีลักษณะเช่นเดียวกัน” “สื่อ หมายถึง ก. ทาการติดต่อให้ถึงกัน ชักนาให้รู้จักกัน น. ผู้หรือสิ่งที่ทาการติดต่อให้ถึงกัน หรือชักนาให้รู้จักกัน” “พิมพ์ หมายถึง ก. ถ่ายแบบ, ใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือภาพ เป็นต้นให้ติดบนวัตถุ เช่น แผ่นกระดาษ ผ้า ทาให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอยอย่างใด ๆ โดยการกดหรือการใช้พิมพ์หิน เครื่องกล วิธีเคมี หรือวิธีอื่นใด อันอาจให้เกิดเป็นสิ่งพิมพ์ขึ้นหลายสาเนา น. รูป , รูปร่าง, ร่างกาย, แบบ” ดังนั้น “สื่อสิ่งพิมพ์” จึงมีความหมายว่า “สิ่งที่พิมพ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกระดาษหรือวัตถุใด ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ อันเกิดเป็นชิ้นงานที่มีลักษณะเหมือน ต้นฉบับขึ้นหลายสาเนาในปริมาณมากเพื่อเป็นสิ่งที่ทาการติดต่อ หรือชักนาให้บุคคลอื่นได้เห็นหรือทราบ ข้อความต่าง ๆ”


สิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา หมายถึง สิ่งที่พิมพ์ขึ้นในรูปแบบต่างๆ ทั้งหนังสือ ตารา เอกสาร วารสารต่างๆ ที่ให้ความรู้ เนื้อหาสาระที่มีประโยชน์ เช่น หนังสือเรียนภาษาไทย ป. 6 หรืออาจเป็นชุดภาพประกอบการศึกษา เช่น ภาพประกอบการศึกษาชุดอาหารไทย เป็นต้น และสามารถนามาใช้ในการศึกษาได้

ความเป็นมา
สิ่งพิมพ์ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ความสาคัญยิ่งควบคู่มากับการพัฒนาการของมนุษยชาติ และจัดเป็นสื่อมวลชนประเภทหนึ่งที่มีความสาคัญมาตลอดนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในการถ่ายทอดความรู้วิชาการ และเพื่อการติดต่อ สื่อสารสาหรับมนุษยชาติ ดังคาจากัดความของพจนี พลสิทธิ์ (2536 : 3) สรุปความเป็นมาและความสาคัญของ สิ่งพิมพ์ ว่า “สิ่งพิมพ์” นับเป็นวัสดุที่แสดงถึงพัฒนา การความเจริญก้าวหน้าทางด้านสติปัญญา ของมนุษย์ ความคิด จินตนาการ เจตคติ ความฝัน ชีวิต วัฒนธรรม สังคม เหตุการณ์ เรื่องราวต่าง ๆ ของมนุษย์แต่ลายุคสมัย สามารถเก็บรักษาสืบทอดจาดชนรุ่นหนึ่งไปสู่ชนรุ่นหลัง ความคิดในเรื่องการพิมพ์นี้นอกเหนือจาก เพื่อเป็นเครื่องมือในการบันทึกความคิด จินตนาการ ความรู้ และเหตุการณ์ต่างๆ แล้วยังเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าชนชาติต่าง ๆ ในโลกนี้ล้วนมีความพยายามที่จะพัฒนาความคิดของตนให้เจริญก้าวหน้าทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ความคิดในเรื่องการพิมพ์ที่มีจุดประสงค์เริ่มแรกก็คงเพื่อให้มีการแพร่หลายเรื่องความคิด ความรู้ ไปสู่ชนรุ่นหลัง และเพื่อให้มีหลาย ๆ สาเนาจะได้เก็บรักษาให้คงอยู่ได้นานปีนั้น ในยุคปัจจุบันชนรุ่นหลังได้สานต่อความคิดเรื่องการพิมพ์จนกระทั่งกลายเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย และซับซ้อน สามารถผลิตสิ่งพิมพ์ได้หลากหลายชนิดตอบสนองวัตถุประสงค์ของมนุษยชาติได้กว้างขวางนอกเหนือจากสื่อสิ่งพิมพ์จะเป็นสื่อมวลชนที่มีความเกี่ยวกันกับมนุษยชาติมานานนับพัน ๆ ปี และมีความเก่าแก่กว่าสื่อมวลชนประเภทอื่นไม่ว่าจะเป็น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรืออินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นสื่อประเภทหนึ่งที่มีการใช้แพร่หลายไปทั่วโลกเช่นในปัจจุบันก็ตาม แต่สื่อสิ่งพิมพ์ก็ยังเป็นสื่อที่มีการใช้อย่างแพร่หลายเป็นที่นิยมของทุกชนชาติมิได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทใดก็ตาม เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสาร วารสาร หรือสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ สาเหตุสาคัญที่ทาให้สื่อสิ่งพิมพ์ยังเป็นที่นิยมแพร่หลายมาโดยตลอด ก็เพราะบุคคลสามารถเลือกอ่านได้ตามความเหมาะสม อีกทั้งยังใช้เป็นเอกสารอ้างอิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ประวัติการพิมพ์ในประเทศไทย
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยา ได้เริ่มแต่งและพิมพ์หนังสือคาสอนทางศาสนา คริสต์ขึ้น และหลังจากนั้นหมอบรัดเลย์เข้ามาเมืองไทย และได้เริ่มด้านงานพิมพ์จนสนใจเป็นธุรกิจด้านการพิมพ์ ในเมืองไทย พ.ศ.2382 ได้พิมพ์เอกสารทางราชการเป็นชิ้นแรก คือ หมายประกาศห้ามสูบฝิ่น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้จ้างพิมพ์จานวน 9,000 ฉบับ ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ก.ค.2387 ได้ออกหนังสือฉบับแรกขึ้น คือ บางกอกรีคอร์ดเดอร์ (Bangkok Recorder) เป็นจดหมายเหตุอย่างสั้น ออกเดือนละ 2 ฉบับ และใน 15 มิ.ย. พ.ศ.2404 ได้พิมพ์หนังสือเล่มออกจำหน่ายโดยซื้อลิขสิทธิ์จาก หนังสือนิราศลอนดอนของหม่อมราโชทัยและได้เริ่มต้นการซื้อขาย ลิขสิทธิหน่ายในเมืองไทย หมอบรัดเลย์ได้ถึงแก่กรรมในเมืองไทยกิจการ การพิมพ์ของไทยจึงเริ่มต้นเป็นของไทย หลังจากนั้นใน พ.ศ.2500 ประเทศไทยจึงนา เครื่องพิมพ์แบบโรตารี ออฟเซท (Rotary off Set) มาใช้เป็นครั้งแรก โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชนาเครื่องหล่อเรียงพิมพ์ Monotype มาใช้กับตัวพิมพ์ภาษาไทย ธนาคาร แห่งประเทศไทยได้จัดโรงพิมพ์ธนบัตรในเมืองไทยขึ้นใช้เอง

ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ

1. หนังสือตารา
เป็นสื่อที่พิมพ์เป็นเล่ม ประกอบด้วยเนื้อหาการเรียนการสอนโดยอธิบายเนื้อหาวิชาอย่างละเอียดชัดเจน อาจมีภาพถ่ายหรือภาพเขียนประกอบเพื่อเพิ่มความสนใจของผู้เรียน หนังสือตารานี้อาจใช้เป็นสื่อการเรียนในวิชานั้นโดยตรงนอกเหนือจากการบรรยายในชั้นเรียน หรืออาจใช้เป็นหนังสืออ่านประกอบหรือหนังสืออ่านเพิ่มเติมก็ได้ การใช้หนังสือในการเรียนการสอนนับว่ามีประโยชน์แก่ผู้เรียนทั้งในด้านการศึกษารายบุคคลเพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้อ่านในเวลาที่ต้องการ และในด้านเศรษฐกิจเนื่องจากสามารถใช้อ่านได้หลายคนและเก็บไว้ได้เป็นเวลานาน




2. แบบฝึกปฏิบัติ
เป็นสมุดหรือหนังสือที่พิมพ์ขึ้นโดยมีเนื้อหาเป็นแบบฝึกหัดหรือแบบฝึกปฏิบัติเพื่อเป็นการเพิ่มทักษะหรือทดสอบผู้เรียน อาจมีเนื้อหาในรูปแบบคาถามให้เลือกคาตอบ หรือเป็นต้นแบบเพื่อให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติตามโดยอาจมีรูปประกอบเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น แบบคัดตัวอักษร ก ไก่ เป็นต้น





3. พจนานุกรม
เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาเป็นคาศัพท์และคาอธิบายความหมายของคาศัพท์ แต่ละคานั้น โดยการเรียงตามลาดับจากอักษรตัวแจกถึงตัวสุดท้ายของภาษาที่ต้องการจะอธิบาย คาศัพท์และคาอธิบายจะเป็นภาษาเดียวกันหรือต่างภาษาก็ได้ เช่น คาศัพท์ภาษาอังกฤษและมีคาอธิบายเป็นภาษาไทย หรือทั้งคาศัพท์และคาอธิบายต่างก็เป็นภาษาอังกฤษ เป็นต้น



4. สารานุกรม
เป็นหนังสือที่พิมพ์ขึ้นเพื่ออธิบายหัวข้อหรือข้อความต่างๆ ตามลาดับของตัวอักษร เพื่อให้ผู้อ่านสามารถค้นคว้าเพื่อความรู้และการอ้างอิง โดยมีรูปภาพ แผนภูมิ ฯลฯ ประกอบคาอธิบายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น


5.หนังสือภาพและภาพชุดต่างๆ
เป็นหนังสือที่ประกอบด้วยภาพต่างๆ ที่เป็นเรื่องเดียวกันตลอดทั้งเล่ม ส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือภาพที่พิมพ์สอดสีสวยงาม เหมาะแก่การเก็บไว้ศึกษาหรือเป็นที่ระลึก เช่น หนังสือภาพชุดพระที่นั่งวิมานเมฆ หรือหนังสือภาพชุดทัศนียภาพของประเทศต่างๆ เป็นต้น


6. วิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัย
เป็นสิ่งพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาจานวนไม่มากนักเพื่อเผยแพร่ไปยังห้องสมุด สถาบันการศึกษาต่างๆ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนั้น เพื่อให้ผู้สนใจใช้เป็นเอกสารค้นคว้าข้อมูลหรือใช้ในการอ้างอิง


7. สิ่งพิมพ์ย่อส่วน (Microforms)
หนังสือที่เก่าหรือชารุดหรือหนังสือพิมพ์ที่มีอยู่เป็นจานวนมากย่อมไม่เป็นที่สะดวกในการเก็บรักษาไว้ จึงจาเป็นต้องหาวิธีเก็บสิ่งพิมพ์เหล่านี้ไว้โดยอาศัยลักษณะการย่อส่วนลงให้เหลือเล็กที่สุดเท่าที่จะทาได้ เพื่อประหยัดเนื้อที่ในการเก็บรักษาและสามารถที่จะนำมาใช้ได้สะดวก จึงมีวิธีการต่างๆ โดยอาศัยเนื้อที่ในการเก็บรักษาและสามารถที่จะนามาใช้ได้สะดวก จึงมีวิธีการต่างๆ โดยอาศัยเทคโนโลยีในการทาสิ่งพิมพ์ย่อส่วน ได้แก่

ก. ไมโครฟิล์ม (Microfilm)
เป็นการถ่ายหนังสือแต่ละหน้าลงบนม้วนฟิล์มที่มีความกว้างขนาด 16 หรือ 35 มิลลิเมตร โดยฟิล์ม 1 เฟรมจะบรรจุหน้าหนังสือได้ 1-2 หน้าเรียงติดต่อกันไป หนังสือเล่มหนึ่งจะสามารถบันทึกลงบนไมโครฟิล์มโดยใช้ความยาวของฟิล์มเพียง 2-3 ฟุต ตามปกติจะใช้ฟิล์ม 1 ม้วนต่อหนังสือ 1 เล่ม และบรรจุม้วนฟิล์มลงในกล่องเล็กๆ กล่องละม้วนเมื่อจะใช้อ่านก็ใส่ฟิล์มเข้าในเครื่องอ่านที่มีจอภาพหรือจะอัดสาเนาหน้าใดก็ได้เช่นกัน
ข. ไมโครฟิช (Microfiche) เป็นแผ่นฟิล์มแข็งขนาด 4 x 6 นิ้ว สามารถบันทึกข้อความจากหนังสือโดยย่อเป็นกรอบเล็กๆ หลายๆ กรอบ แผ่นฟิล์มนี้จะมีเนื้อที่มากพอที่จะบรรจุหน้าหนังสือที่ย่อขนาดแล้วได้หลายร้อยหน้า ตัวอักษรที่ย่อจะมีสีขาวบนพื้นหน้าหนังสือสีดา สามารถอ่านได้โดยวางแผ่นฟิล์มลงบนเครื่องฉายที่ขยายภาพให้ไปปรากฏบนจอภาพสาหรับอ่านและจะอ่านหน้าใดก็ได้เลื่อนภาพไปมา และยังสามารถนาไปพิมพ์บนกระดาษและอัดสำเนาได้ด้วย



สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร

- หนังสือพิมพ์ (Newspapers) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนาเสนอเรื่องราว ข่าวสารภาพและความคิดเห็น ในลักษณะของแผ่นพิมพ์ แผ่นใหญ่ ที่ใช้วิธีการพับรวมกัน ซึ่งสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดนี้ ได้พิมพ์ออกเผยแพร่ทั้งลักษณะ หนังสือพิมพ์รายวัน, รายสัปดาห์ และรายเดือน







- วารสาร, นิตยสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนาเสนอสาระ ข่าว ความบันเทิง ที่มีรูปแบบการนาเสนอ ที่โดดเด่น สะดุดตา และสร้างความสนใจให้กับผู้อ่าน ทั้งนี้การผลิตนั้น มีการ กาหนดระยะเวลาการออกเผยแพร่ที่แน่นอน ทั้งลักษณะวารสาร, นิตยสารรายปักษ์ (15 วัน) และ รายเดือน




- จุลสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นแบบไม่มุ่งหวังผลกาไร เป็นแบบให้เปล่าโดยให้ผู้อ่านได้ศึกษาหาความรู้ มีกาหนดการออกเผยแพร่เป็นครั้ง ๆ หรือลาดับต่าง ๆ ในวาระพิเศษ แสดงเนื้อหาเป็นข้อความที่ผู้อ่าน อ่านแล้วเข้าใจง่าย
- สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้งานในคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้แก่ Document Formats, E-book for Palm/PDA เป็นต้น

บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา
บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในสถานศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ถูกนาไปใช้ในสถานศึกษาโดยทั่วไป ซึ่งทาให้ผู้เรียน ผู้สอนเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น เช่น หนังสือ ตารา แบบเรียน แบบฝึกหัดสามารถพัฒนาได้เป็นเนื้อหาในระบบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้

แนวทางการประยุกต์ใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการเรียนการสอน หรือการศึกษา
การใช้สิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษาในการเรียนการสอนนั้นจาแนกได้เป็น 3 วิธี คือ
1. ใช้เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับวิชาที่เรียน
2. ใช้เป็นวัสดุการเรียนร่วมกับสื่ออื่นๆ
3. ใช้เป็นสื่อเสริมในการเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์
จากวิธีการใช้สิ่งพิมพ์ทั้ง 3 วิธีนั้น ผู้สอนสามารถนาสิ่งพิมพ์ทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์ทั่วไป หรือสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษาโดยเฉพาะมาใช้ในการเรียนการสอนก็ได้ ทั้งนี้โดยพิจารณาตามลักษณะของสิ่งพิมพ์และลักษณะของการใช้ ดังนี้
1. สิ่งพิมพ์ที่เขียนขึ้นในลักษณะของหนังสือตารา ใช้เพื่อการศึกษาในระบบโรงเรียนตามหลักสูตร
2. สิ่งพิมพ์ที่เขียนขึ้นในลักษณะบทเรียนสาเร็จรูปเพื่อง่ายต่อการศึกษาด้วยตนเอง เหมาะสาหรับใช้ในการศึกษาทางไกลร่วมกับสื่ออื่นๆ เช่น โทรทัศน์ เทปเสียงสรุปบทเรียน และการสอนเสริม เป็นต้น
3. สิ่งพิมพ์เสริมการเรียนการสอน เช่น แบบฝึกปฏิบัติ คู่มือเรียน ฯลฯ อาจใช้ร่วมกับสื่อบุคคลหรือสื่อมวลชนประเภทอื่นๆ ได้
4. สิ่งพิมพ์ทั่วๆ ไป เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์ ฯลฯ ที่มีคอลัมน์หรือบทความที่ให้ประโยชน์ ผู้สอนอาจแนะนาให้ผู้เรียนอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้หรือเพื่อนามาใช้อ้างอิงประกอบการค้นคว้า
5. สิ่งพิมพ์ประเภทภาพชุด เป็นการให้ความรู้ทางรูปธรรมเพื่อใช้ในการเสริมสร้างประสบการณ์ ทาให้ผู้เรียนเข้าใจเหตุการณ์เรื่องราวหรือสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ชัดเจนขึ้น เช่น ภาพชุดชีวิตสัตว์ หรือภาพชุดพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นต้น (สานักการศึกษา กรุงเทพมหานคร, 9 กันยายน 2553)

ประโยชน์และคุณค่าของสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา
1.สื่อสิ่งพิมพ์สามารถเก็บไว้ได้นาน สามารถนามาอ่านซ้าแล้วซ้าอีกได้
2.สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่มีราคาถูกเมื่อเทียบกับสื่ออื่นๆ
3.สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่ใช้ง่าย ไม่ยุ่งยาก
4.สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่จัดทาได้ง่าย โดยครูผู้สอนสามารถทาได้เองได้ มีวิธีทาที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เช่น ใบงาน ใบความรู้ เป็นต้น


ข้อดีและข้อจากัดของสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา
ข้อดี

1.สามารถอ่านซ้า ทบทวน หรืออ้างอิงได้
2.เป็นการเรียนรู้ที่ดีสาหรับผู้ที่สนใจ
3.เป็นการกระตุ้นให้คนไทยรักการอ่าน
ข้อจากัด
1.ผู้มีปัญหาทางสายตา หรือผู้สูงอายุอ่านไม่สะดวกในการใช้
2.ข้อมูลไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงทีได้
3.ผู้ไม่รู้หนังสือ ไม่สามารถเข้าถึงได้

เอกสารอ้างอิง
-วัลลภ สวัสดิวัลลภ.(เมษายน 2527).หนังสือและการพิมพ์.ลพบุรี.ศูนย์การพิมพ์วิทยาลัยครูเทพสตรี -กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก: http://www.bmaeducation.in.th/content_view.aspx?con=431 (วันที่ค้นข้อมูล 9 กันยายน 2553)
-ฉัตรสุดา หลาวรรณะและสิริภรณ์ แก้วมงคล.บทบาทหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก:http:// www.talja.ob.tc/singpim.doc (วันที่ค้นข้อมูล 5 กันยายน 2553)
-สื่อสิ่งพิมพ์(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาhttp://www.nayoktech.ac.th/~vwinwin/BC22_49/DasignP.htm
(วันที่ค้นข้อมูล 2 กันยายน 2553)
-สานักงานการศึกษา กรุงเทพมหานคร.สิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก
http://www.bmaeducation.in.th/content_view.aspx?con=431 (วันที่ค้นข้อมูล 9 กันยายน 2553)