วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
บันทึกกิจกรรมการเรียนสัปดาห์ที่15 ประมวลความรู้สู่การประยุกต์ใช้ในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เสมือนจริง (14 ก.พ. - 23 ก.พ. พ.ศ.2555)




บันทึกกิจกรรมการเรียนสัปดาห์ที่14 ประมวลความรู้สู่การประยุกต์ใช้ในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เสมือนจริง (14 ก.พ. - 23 ก.พ. พ.ศ.2555)








วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
บันทึกกิจกรรมการเรียนสัปดาห์ที่ 13 งบประมาณ Budgeting ของการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ (7-9 ก.พ.2555)
งบประมาณ Budgeting ของการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

การจัดทำงบประมาณ (Budgeting)
การวางแผนการที่คาดว่าจะต้องจ่าย โดยการคิดล่วงหน้าและแสดงข้อมูลออกมาเป็นตัวเลขและอาจแสดงออกมาในรูปของตัวเงิน จำนวนชั่วโมงในการทำงาน จำนวนผลิตภัณฑ์จำนวน ชั่วโมงเครื่องจักร ค่าสึกหรอ ค่าโสหุ้ยเป็นต้น

ความสำคัญของงบประมาณ
1.ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมต้นทุนโครงการ ตลอดจนแผนงานตั้งแต่ในระดับโครงการจนถึงการบริหารจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
2. ใช้เป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหาร ทำให้มีประสิทธิภาพในการวางแผนทางการเงินเนื่องจากเป็นแผนงานที่แสดงออกในลักษณะเชิงปริมาณจะที่เกิดขึ้นในเวลาที่กำหนด
3. สามารถนำงบประมาณไปใช้ในการควบคุมแผนงานก็จะช่วยให้ฝ่ายบริหารสามารถติดตามผลการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงานได้อย่างดี

นโยบายในการจัดทางบประมาณ
1. นโยบายงบประมาณสมดุล (Balanced Budget Policy) ซึ่งหมายถึงการประมาณการให้รายจ่ายประจำปีเท่ากับประมาณการรายได้ในปีนั้นๆ
2. นโยบายงบประมาณเกินดุล (Surplus Budget Policy) ซึ่งหมายถึง การประมาณการให้รายจ่ายประจำปีต่ำกว่าประมาณการรายได้ในปีเดียวกัน แนวทางนี้ต้องเรียกว่าเป็นแนวเศรษฐกิจพอเพียง คือ การใช้จ่ายอย่างระมัดระวังไม่เกินตัวนั่นเอง
3. นโยบายงบประมาณขาดดุล (Deficit Budget Policy)หมายถึง การกำหนดให้มีการจัดทำงบประมาณการรายจ่ายสูงกว่างบประมาณการรายได้ในปีเดียวกัน ซึ่งทำให้เกิดการกู้ยืมเงินหรือนำเงินสำรองมาใช้จ่ายเพิ่มเติมในปีงบประมาณดังกล่าว

กระบวนการงบประมาณหรือวงจรงบประมาณ(Budgeting Process) หรือวงจรงบประมาณ (Budgeting Cycle) ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอนคือ
1. การจัดทำงบประมาณ
1.1 การจัดตั้งคณะทำงาน
1.2 กำหนดระยะเวลา
1.3 ตรวจสอบรายละเอียดของแบบร่างงบประมาณรายรับ รายจ่าย
2. การอนุมัติงบประมาณ
3. การบริหารงบประมาณ
4. การติดตามประเมินผล

หมวดงบประมาณประเภทรายจ่ายศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้จำแนกออกเป็น 7 หมวด ดังนี้
(1) หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ
(2) หมวดค่าจ้างชั่วคราว
(3) หมวดค่าตอบแทนใช้สอย และวัสดุ
(4) หมวดค่าสาธารณูปโภค
(5) หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง
(6) หมวดเงินอุดหนุน
(7) หมวดรายจ่ายอื่น

บันทึกกิจกรรมการเรียนสัปดาห์ที่ 12 การสร้าง QR CODE (31 มกราคม - 2 ก.พ.2555)



วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555
บันทึกกิจกรรมการเรียนสัปดาห์ที่ 11 ห้องเรียน E-learning (23-29 มกราคม พ.ศ.2555)
1. สิ่งสำคัญเบื้องต้นของการประสานงานมีอะไรบ้าง
ตอบ สิ่งสำคัญเบื้องต้นของการประสานงาน มีดังนี้
1. การจัดวางหน่วยงานที่ง่าย (Simplified Organization) ในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้การจัดวางหน่วยงานควรคำนึงถึง
ก. การแบ่งแผนกซึ่งช่วยในการประสานงาน กล่าวคือ การจัดแผนกต่าง ๆ บางแผนกมีความจาเป็นต้องประสานกันควรอยู่ใกล้ชิดกันเนื่องจากการติดต่ออย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้ที่ทางานอันเกี่ยวเนื่องอย่างใกล้ชิดกันมากขึ้น
ข. การแบ่งตามหน้าที่
ค. การจัดวางรูปงานและระเบียบการที่ชัดแจ้งแก่ทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้อง
2. การมีโครงการและนโยบายอันสอดคล้องต้องกัน (Harmonized Program and Policies)
3. การมีวิธีติดต่องานภายในองค์การที่ทาไว้ดี (Well –Designed Methods of Communication) เครื่องมือที่ช่วยในการติดต่อส่งข่าวคราวละเอียด ได้แก่
ก.แบบฟอร์มในการปฏิบัติงาน (Working Papers)
ข.รายงานเป็นหนังสือ (Written report)
ค.เครื่องมือวิทยาศาสตร์ในการติดต่องาน เช่น ระบบการติดต่อภายในโรงพิมพ์ เป็นต้น
4. เหตุที่ช่วยให้มีการประสานงานโดยสมัครใจ (Aids to Voluntary Coordination) การประสานงาน ส่วนมากมักจะเกิดขึ้นจากการร่วมมือโดยสมัครใจของบุคลากรในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
5. ประสานงานโดยวิธีควบคุม (Coordination through Supervision) หัวหน้างานมีหน้าที่จะต้องคอยเฝ้าดูการดำเนินปฏิบัติงานต่าง ๆเพื่อให้การดาเนินงานเป็นไปอย่างสอดคล้องและจะต้องใช้วิธีประเมินผล
การปฏิบัติงานทุกระยะจะได้ทราบข้อบกพร่องหาทางแก้ไขให้การปฏิบัติงานถูกต้องยิ่งขึ้น2. เทคนิคการประสานงาน (Techniques Coordination) มีอะไรบ้าง
ตอบ เทคนิคการประสานงานมีดังนี้
1.จัดให้มีระบบการติดต่อสื่อสารทั้งภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2.การกำหนดอำนาจหน้าที่และตำแหน่งงานอย่างชัดเจน
3.การสั่งการและการมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
4.การใช้คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ที่ทาหน้าที่ประสานงานโดยเฉพาะการประสานงานภายในองค์การ
5.การจัดให้มีการประสานงานระหว่างพนักงานในองค์การ
6.การจัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา
7.การติดตามผล 3. จงอธิบายอุปสรรคของการประสานงาน มาพอเข้าใจ
ตอบ อุปสรรคของการประสานงาน ก็คือ สิ่งที่ทำให้การประสานงานหรือการทำงานต่างๆ ไม่
สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เกิดข้อผิดพลาดระหว่างการทำงานอันเนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ ดังนี้
1.การขาดความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกันจะกลายเป็นสาเหตุทำให้การติดต่อ ประสานงานที่ควรดำเนินไปด้วยดี ไม่สามารถกระทำได้
2.การขาดผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารที่มีความสามารถ
3.การปฏิบัติงานไม่มีแผน ซึ่งเป็นการยากที่จะให้บุคคลอื่น ๆ ทราบวัตถุประสงค์และวิธีการในการ ทำงาน
4.การก้าวก่ายหน้าที่การงาน
5.การขาดการติดต่อสื่อสารที่ดีย่อมทำให้การทำงานเป็นระบบที่ดีของความร่วมมือขาดความเข้าใจ ซึ่งกันและกัน
6.การขาดการนิเทศงานที่ดี
7.ความแตกต่างกันในสภาพและสิ่งแวดล้อม
8.การดาเนินนโยบายต่างกันเป็นอุปสรรคต่อการประสานงาน
9.ประสิทธิภาพของหน่วยงานต่างกันจะเป็นการยากที่จะก่อให้เกิดมีความร่วมมือและประสานงาน กันเพราะแสดงว่ามีฝีมือคนละชั้น
10.การทำหน้าที่ความรับผิดชอบและอำนาจไม่ชัดแจ้งทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความกังวลใจและอาจ ไปก้าวก่ายงานของบุคคลอื่นก็ได้
11.ระยะทางติดต่อห่างไกลกัน
12.เทคนิคและวิธีการปฏิบัติงานในแต่ละหน่วยงานแตกต่างกันเนื่องมาจากการกุมอำนาจหรือการ
กระจายอำนาจมากเกินไป 4. จากทฤษฎีที่ศึกษามานิสิตคิดว่าศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ใดบ้างที่มีปัจจัยที่ทำให้เกิดการ ประสานงานที่ดี จงยกตัวอย่างศูนย์ฯ พร้อมอธิบาย
ตอบ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในระบบ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้นอกระบบ และศูนย์ทรัพยากร
การเรียนรู้ตามอัธยาศัย เพราะทุกศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีระบบการติดต่อสื่อสารที่ดี ได้รับความร่วมมือจากผู้ปฏิบัติงานทุกคน อีกทั้งผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารยังมีความรู้สามารถเป็นผู้นำและสร้างขวัญกำลังใจให้แก่คนในองค์การ นอกเหนือจากนี้ก็มีการประชุม การฝึกอบรมและการวางแผนที่ดีทำให้ศูนย์ทรัพยากรกาเรียนรู้ดังกล่าวมีปัจจัยที่ทำให้การประสานงานที่ดี ยกตัวอย่าง เช่น สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา ได้มีระบบการสื่อสารที่ดี ได้รับความร่วมมือจากทุกๆฝ่าย มีการให้กำลังแก่ผู้ปฏิบัติงานที่สำคัญก็คือมีผู้บังคับบัญชาที่ดีมีความรู้ความสามารถในการเป็นผู้นำ นำไปสู่เป้าหมายที่ดีในการทำงานได้อีกด้วย
แบบฝึกหัดหน่วยการเรียนรู้ที่ 9
การเขียนรายงานผลการดำเนินงานReporting
1. การรายงานผลมีความสำคัญอย่างไร ต่อการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
ตอบ การรายงานผลการดำเนินงานการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นส่วนสำคัญในการแสดงข้อมูลอย่างเป็นระบบให้กับผู้บังคับบัญชา หรือสาธารณชนได้รับทราบผลการดำเนินงาน และเป็นการนำเสนอเพื่อปรับปรุงในการดำเนินงานครั้งต่อ ๆ ไป

บันทึกกิจกรรมการเรียนสัปดาห์ที่ 9 ห้องเรียนปกติ (10-12 มกราคม พ.ศ.2555)
รายวิชา 423312 Learning Resources Center Management

ชนิดข้อสอบ
1. ปรนัย 4 ตัวเลือก จานวน 40 ข้อ (20 คะแนน)
2. ข้อเขียน 1 ข้อ (10 คะแนน)
วันสอบ วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม 2555
วันเวลาสอบ 09.30 –11.30 น. ห้อง QS1-505B13.00 –15.00 น. ห้อง KB-206
การแต่งกาย : ชุดนิสิตเท่านั้น สุภาพ รองเท้าหุ้มส้น สีสุภาพ
แนวข้อสอบระหว่างภาค ปรนัย 4 ตัวเลือก 40 ข้อ
ความหมาย และความสาคัญของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
แนวทางการดาเนินงานของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
ความหมายของการบริหารงาน/ การจัดการ
องค์กร 5 S, องค์กรมีชีวิต
รูปแบบการบริหารอย่างเป็นระบบ POSDCORB
การจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ของสานักหอสมุด และการให้บริการ
กระบวนการจัดหา การบริการ และการผลิตทรัพยากรการเรียนรู้แนวข้อสอบ (ข้อเขียน) 1 ข้อ
มีสถานการณ์และเนื้อหามาให้และให้นิสิตเขียนโครงสร้างของการบริหารจัดการโดยใช้ POSDCORB

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555
บันทึกกิจกรรมการเรียนสัปดาห์ที่ 8 ห้องเรียน e-Learning
-------------------------------------------------------------
ประเด็นศึกษา
1. การบริการทรัพยากรการเรียนรู้
2. กระบวนการผลิตทรัพยากรการเรียนรู้
3. กระบวนการจัดหาทรัพยากรการเรียนรู้
1.กระบวนการผลิตทรัพยากรการเรียนรู้มีกี่ขั้นตอนอะไรบ้าง
ตอบ กระบวนการผลิตทรัพยากรการเรียนรู้มี 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. กำหนดจุดมุ่งหมายและบทบาทของสื่อให้ชัดเจน
2. เลือกสื่อที่เหมาะสม
3. ออกแบบสื่อ
4. ผลิตสื่อ
5. ทดสอบสื่อ
6. เผยแพร่สื่อ และนาไปใช้
7. การตรวจสอบและบำรุงรักษาสื่อ
2.รูปแบบของการให้บริการทรัพยากรการเรียนรู้มีกี่ประเภท อะไรบ้าง จงยกตัวอย่างพร้อมอธิบาย
ตอบ รูปแบบของการให้บริการทรัพยากรการเรียนรู้มี 4 แบบ ดังนี้
1.แบบผสมผสานระหว่างสื่อสิ่งพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ คือ เป็นการให้บริการให้ความรู้ทั้งหนังสือ วารสาร นิตยสาร และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่บรรจุเนื้อหาในรูปแบบของดิจิทัล
ตัวอย่าง สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา ที่มีหนังสือ สิ่งพิมพ์ นิตยสารต่างๆ รวมถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีไว้ให้บริการและให้ความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้บริการ สามารถอ่าน ชม หรือยืมไปเพื่อศึกษาต่อได้
2. แบบบริการทรัพยากรการเรียนรู้สมบูรณ์ คือ การจัดสื่อสิ่งพิมพ์ และวัสดุ อุปกรณ์ สื่อโสตทัศน์ที่หลากหลายมารวมไว้ในจุดบริการเดียวกัน ซึ่งมีกระบวนการวิธีระบบและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้เข้ามาใช้ โดยจัดให้ผู้ชำนาญเฉพาะสาขาเข้ามาดำเนินการให้บริการ
ตัวอย่าง ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา The Center for Educational Innovation and Technology ซึ่งเป็นศูนย์จัดตั้งเพื่อให้บริการสื่อสิ่งพิมพ์ และวัสดุ อุปกรณ์ สื่อโสตทัศน์มากมายและมีการนำเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงได้ง่าย อีกทั้งยังมีบุคลากรมาช่วยอำนวยความสะดวกในด้านการบริการ
3. แบบสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทเดียว คือ เป็นการให้บริการเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ นิตยสาร โดยมีมุมต่างๆ ในการให้บริการ ได้แก่ ห้องสมุด
ตัวอย่าง ห้องสมุดโรงเรียน ที่มีหนังสือ สิ่งพิมพ์ นิตยสารต่างๆ ไว้ให้บริการแก่นักเรียน และเยาวชนที่มีความสนใจศึกษา ค้นคว้า หนังสือตำราเรียนต่างๆ
4. แบบนิทรรศการ โดยนำเสนอในรูปแบบของการบริการให้ความรู้ ในรูปแบบของนิทรรศการถาวร โดยนำแหล่งการเรียนรู้ที่กระจัดกระจาย มานำเสนอในรูปแบบของนิทรรศการถาวร หรืออาจมีนิทรรศการหมุนเวียนตามเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่ผู้ขอรับบริการสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อที่หลากหลายในนิทรรศการ นั้น ๆ โดยมีการให้เข้าเยี่ยมชม เช่น พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ
ตัวอย่าง พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีการจัดแสดงด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา โบราณคดี ชาติพันธุ์วิทยา สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี และศิลปกรรมศาสตร์ ฯลฯ ของชาติไทยเพื่อให้ผู้ที่เข้าชมได้รับความรู้มากมายและเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้
3.การบริการทรัพยากรการเรียนรู้คืออะไร
ตอบ การบริการทรัพยากรการเรียนรู้ คือ กิจกรรมที่นักเทคโนโลยีการศึกษา หรือผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบซึ่งแสดงถึงจิตใจ และพฤติกรรมการแสดงออกในการให้ความรู้ ด้วยทรัพยากรทั้งวัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการ ถึงการให้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งเพื่อให้ผู้รับนั้นพึงพอใจ และเกิดการเรียนรู้จากทรัพยากรการเรียนรู้นั้น ๆ
4.ขอบข่ายของงานบริการทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง
ตอบ ขอบข่ายของงานบริการทรัพยากรการเรียนรู้ มีดังนี้
ผลิตสื่อออกแบบและพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้
ส่งเสริมการนาเสนอสื่อในรูปแบบใหม่เผยแพร่
ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าวสารต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายเผยแพร่ให้ความรู้
นำสื่อในรูปแบบที่หลากหลายมากให้กลุ่มเป้าหมายได้ศึกษา โดยมีการให้คาแนะนา หรืออาจมีกิจกรรม เช่น นิทรรศการ จัดฝึกอบรม ต่าง ๆดูเพิ่มเติม
วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555
บันทึกกิจกรรมการเรียนสัปดาห์ที่ 7 (E-Learning)
--------------------------------------------------------------------
1. ให้สรุปความหมายของการสั่งการมาพอเข้าใจ
ตอบ การอำนวยการ หมายถึง การจัดการของผู้บริหาร หรือผู้มีอานาจในการสั่งการตามหน้าที่ความรับผิดชอบ ชี้แนะ บุคคล การนิเทศงาน และการติดตามผล เพื่อให้งานดำเนินไปตามแผนหรือเป้าหมายที่กำหนดไว้

2. ขั้นตอนการสั่งการหรือการอำนวยการมีอะไรบ้าง
ตอบ ขั้นตอนในการสั่งงาน
1. การวางแผน/เตรียมสั่งงาน
-ทำไม (จุดประสงค์การสั่งงาน/ผลงานที่ต้องการ)
- อะไร (เนื้อหาของงานที่จะสั่ง)
- ใคร(คนที่จะรับคำสั่งงาน)
- อย่างไร (วิธีการสั่งงาน/ วิธีกระตุ้นความสนใจของลูกน้อง)
- เมื่อไหร่ (เวลาที่เหมาะกับการสั่งงาน)
- ที่ไหน (สถานที่ที่เหมาะกับการสั่งงาน)
2. การสั่งงาน
กระตุ้นความสนใจของลูกน้อง หัวหน้างานจะต้องดึงความสนใจของลูกน้องให้ได้ การให้ลูกน้องมีส่วนร่วมในการถามคำถาม ทวนประเด็น หรือทดลองทำตลอดช่วง
เวลาที่สั่งงาน เป็นวิธีการที่ดีอีกวิธีการหนึ่ง
เริ่มสั่งงาน ตามแผนที่วางไว้ หัวหน้างานอธิบายจุดประสงค์ของงาน ระบุสิ่งที่ต้องดำเนินการ มาตรฐานการทำงาน/ ปฏิบัติงาน เวลาที่จะเริ่มต้นและสิ้นสุดของงาน สถานที่ที่จะดำเนินการ หัวหน้างานอาจใช้การสาธิต หรือ ให้ลูกน้องทดลองปฏิบัติตามขั้นตอนที่เตรียมไว้
ทดสอบความเข้าใจของลูกน้อง ต้องทดสอบความเข้าใจของลูกน้องอย่างสม่ำเสมอ ตลอดการสั่งงาน ประเด็นสำคัญที่หัวหน้างานจะต้องทดสอบว่าลูกน้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับงานที่สั่ง ได้แก่
1. จุดประสงค์ของการสั่งงาน ในหลายๆ กรณีมักจะ หมายถึงผลลัพธ์ ผลงานที่คาดหวังจะได้รับ
2. สิ่งที่ลูกน้องจะต้องดำเนินการ มาตรฐานการปฏิบัติงาน
3. วันและเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่สั่ง
4. สถานที่ที่จะดำเนินการ
3.การติดตามผล คือ การติดตามความคืบหน้าของการนำคำสั่งงานนั้นไปดำเนินการเนื่องจากบางครั้ง อาจมีการดำเนินการที่ผิดไปจากคำสั่งงานได้ เมื่อเกิดกรณีดังกล่าวขึ้น หัวหน้างานสามารถช่วยเหลือ ให้คำแนะนำแก่ลูกน้องให้แก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น ในการ วางแผน/เตรียมการสั่งงาน จำเป็นต้องคิดถึงแผน หรือติดตามผลด้วย

3. องค์ประกอบของการอำนวยการมีอะไรบ้าง
ตอบ
1.ความเป็นผู้นำ : เป็นกระบวนการของการสั่งการ และการใช้อิทธิพลต่อกิจกรรมต่างๆ ของสมาชิกในองค์การ ให้ยอมตามเพราะยอมรับในอำนาจที่มาจาก 3 แหล่ง คือ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมา อำนาจจากบารมี และอำนาจตามกฎหมาย จึงก่อให้เกิดผู้นำ 3 แบบ คือ แบบประชาธิปไตย แบบเผด็จการ และแบบตามสบาย
2.การจูงใจ : มีความสำคัญต่อการสั่งการหรือการอำนวยการ เพราะเกี่ยวกับบุคลากรให้ปฏิบัติงาน จึงจำเป็นต้องมีการจูงใจหรือกระตุ้นให้อยากทำงาน โดยอาศัยหลักธรรมชาติว่ามนุษย์ต้องการ 5 ระดับได้แก่ความต้องการขั้นพื้นฐาน คือปัจจัย 4 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย ความต้องการทางสังคม ความต้องการมีเกียรติยศชื่อเสียง และความต้องการประสบความสาเร็จในชีวิต
ดังนั้น ในการสั่งการโดยมีเทคนิคจูงใจด้วย ก่อนจะสั่งการควรขึ้นคำถามก่อนว่า “พอมีเวลาหรือไม่” หรือ “คุณจะช่วยงานนี้ได้ไหม”
3. การติดต่อสื่อสาร; เป็นกระบวนการสาคัญช่วยให้การอำนวยการดำเนินไปได้ด้วยดีมีประสิทธิภาพ มี 2 ลักษณะคือ สื่อสารแบบทางเดียว และสื่อสารแบบ 2 ทาง
4. องค์การและการบริหารงานบุคคล จุดมุ่งหมายของนักอำนวยการคือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและองค์การ ซึ่งต้องการไม่เหมือนกันผู้อำนวยการจึงต้องทำให้เกิดความสมดุลกัน

4. ให้นิสิตอธิบายความสำคัญของการสั่งการกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ 1. ช่วยในการมีส่วนร่วมของผู้สั่งการกับผู้ร่วมงาน ให้สามารถทำงานได้ร่วมกันได้ตามวัตถุประสงค์
2. ทำให้งานที่ได้มีประสิทธิภาพและยังสามารถพัฒนาเพิ่มเติมได้อยู่เสมอ
3. สามารถวางแผนงานและมอบหมายงานได้ตรงกับบุคคล และสามารถ ดูแลการปฏิบัติงานได้
4. ความสำคัญของการสั่งการกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ หากจะให้งานนั้นมีประสิทธิภาพจะต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงานแต่ละคนและส่วนร่วมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการพัฒนาที่ดี
5. การตัดสินใจที่ดี เพราะการตัดสินใจคือการกำหนดทิศทางต่าง ๆ ซึ่งจะต้องมีการตัดสินใจที่เด็ดขาด แน่วแน่ ชัดเจน และต้องตัดสินใจด้วยเหตุผล