วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บันทึกกิจกรรมการเรียนสัปดาห์ที่ 3 (ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้:สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา)


การจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้:สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา
ศูนย์การจัดการทรัพยากรการเรียนรู้ หอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา ชั้น 1
การจัดการวางฝ่ายงานที่รับผิดชอบจะแบ่งออกเป็น 3 ฝ่ายดังนี้
1.ฝ่ายวิเคราะห์/พัฒนาทรัพยากร สารสนเทศ
2. ฝ่ายซ่อมบำรุง/ซ่อมบำรุงหนังสือเก่า
3. ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

บุคลากรที่รับผิดชอบฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
มีจำนวนทั้งหมด 10 คน โดยมีนางวันทนา กิติศรีวรพันธุ์ เป็นหัวหน้าฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

บุคลากรที่รับผิดชอบฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
มีจำนวนทั้งหมด 11 คน โดยมีนางรัศมี ปานดิษฐ์ เป็นหัวหน้าฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

บุคลากรที่รับผิดชอบฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
มีจำนวนทั้งหมด 4 คน โดยมีนายเฉลิมเกียรติ ดีสม เป็นหัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
การบริการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ จะทำการรวบรวมหมวดหนังสือ ทำการ Scan หนังสือแต่ละเล่มเพื่อทำการ download ผ่านทางระบบ internet ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ฝ่ายต่าง ๆ ดูแลระบบเครือข่าย จัดการฐานข้อมูล ตลอดจนแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โปรแกรมและเครือข่าย เพื่อให้ฝ่ายต่าง ๆ สามารถใช้เทคโนโลยีในการดำเนินงานและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่ผู้ปฏิบัติงาน ให้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
การบริการฝ่ายวิเคราะห์จะจัดทำหมวดหมู่หนังสือและเลขเรียกหนังสือ จากนั้นนำไปติดกับหนังสือโดยใช้สติกเกอร์และวิเคราะห์ข้อมูลภายในหนังสือ จากฝ่ายจัดหาทรัพยากรทรัพยากรสารสนเทศจะส่งมาฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ การจัดหมวดหมู่มาจัดที่นี่ เอาข้อมูลมาลงฐานข้อมูล ฝ่ายลงรายละเอียดบรรณานุกรม ลงหัวเรื่อง ทำหมวดหมู่และสันหนังสือ หลังจากที่บันทึกข้อมูลเรียบร้อยแล้วก็จะมาทำสัน เลขเรียกหนังสือที่บรรณารักษ์ส่งมาจะปริ้นใส่กระดาษมาติด เรียบร้อยแล้วจัดทำรายการส่งขึ้นไปฐานข้อมูล ที่เราสามารถไปสืบค้นได้ ใน WEB OPAC

ฝ่ายซ่อมบำรุง
ส่วนงานของฝ่ายซ่อมบำรุงนั้นทำหน้าที่เสริมหนังสือให้มีความหนาเพื่อให้แข็งแรงและง่ายต่อการจัดวาง และประทับตราหนังสือทุกเล่ม ซึ่งการเสริมปกหนังสือนั้นเกิดขึ้นมาจากปัญหาการวางหนังสือในชั้นวาง โดยเมื่อก่อนไม่มีการเสริมปกทำให้เวลาดึงหนังสือออกจากชั้นอาจเกิดการล้มหรือเอียงได้ ทำให้เกิดการเสริมความแข็งแรงของปกมากขึ้น

ข้อดีของการเสริมปกหนังสือ
1. ทำให้หนังสือไม่ฉีกขาดง่าย คงทนแข็งแรง
2. ต้นทุนน้อยเพราะมีค่าใช้จ่ายไม่ถึงสามบาท
3. ทำให้เวลาเก็บหนังสือไว้บนชั้นแล้วจะไม่ล้มง่าย ๆ

ห้องซ่อมบำรุงหนังสือเก่า
จะทำหน้าที่ซ่อมแซมบำรุงหนังสือเก่าให้มีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น จะมีการเข้าเล่มหนังสือที่ชำรุด มีขั้นตอนและกระบวนการอย่างเป็นระบบ โดยการเข้าเล่มแบบปกแข็งแต่ตัวเนื้อหาหนังสือยังคงเดิม หนังสือที่ทำเสร็จแล้วของห้องนี้จะมีความแข็งแรงกว่าห้องแรก เวลาที่มีการส่งมาซ่อมบำรุงจะมาโดยมัดรวมกันมา แต่ถ้าเกิดมีความต้องการใช้หนังสือด่วนทางฝ่ายซ่อมบำรุงหนังสือเก่าจะทำการซ่อมให้ทันที ซึ่งใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 1 ชั่วโมง แต่หากด่วนมากจริง ๆ ก็สามารถซ่อมได้ภายในครึ่งชั่วโมง โดยผู้ใช้บริการสามารถนำไปใช้ได้เลย หนังสือที่ส่งมาขั้นแรกจะทำการแยกทำความสะอาดหนังสือเพื่อเตรียมให้พร้อมสำหรับขั้นตอนต่อไป โดยจัดเป็นชุดเป็นรายการ เพื่อรู้ว่าหนังสือมาจากชุดที่เท่าไหร่และจะไม่เกิดปัญหาตอนรวมภายหลัง ขั้นต่อมาจะมีการเตรียมปก กระดาษหุ้มปก และเตรียมไว้เป็นชุด ๆ เพื่อให้คนต่อไปสามารถเข้าเล่มได้เลย ส่วนขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นการทำหน้าปก ทำบาร์โค้ด สำหรับหน้าปกที่ต้องพิมพ์ใหม่ และเช็คจำนวน ในหนึ่งวันจะสามารถทำการซ่อมบำรุงได้ประมาณ 12 เล่มหรือมากกว่านั้น

โครงการอนุรักษ์ใบลานและสมุดข่อย
เป็นโครงการอนุรักษ์ใบลานและสมุดข่ายจากวัดชื่อดังต่าง ๆ ซึ่งสมุดข่อยที่ได้มานั้นมักมาจากตามวัดเก่าแก่ มีอายุมากกว่า 100 ปี โดยเมื่อก่อนจะมีการจัดทำพิธีโดยการเชิญพระจากวัดต่าง ๆ มาเข้าร่วมในช่วงงานสัปดาห์ห้องสมุด วิธีการซ่อมแซมและดูแลรักษา มีการคือการใช้กาวและกระดาษสาในการซ่อมแซม และในส่วนของการดูแลรักษาจะมีการใช้ยาฆ่าแมลงและน้ำมันตระไคร้

ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการให้บริการ
1. หนังสือจะเข้ามาเป็นจำนวนมากทั้งหนังสือใหม่และหนังสือที่ต้องซ่อมแซม ซึ่งบางครั้งจะทำให้งานล่าช้า แต่ในการจัดทำ แต่ละฝ่ายจะมีการจัดการแผนงาน วางระบบอย่างเป็นขั้นตอนมีการแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบทำให้ไม่เกิดปัญหาในการทำงานมากนัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น