ประเด็นการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
- ภารกิจ Final Project "โครงการจัดตั้งศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย"
- การบริหารบุคลากร
- บุคลากรด้านสื่อ
-คุณสมบัติและหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากรฝ่ายต่าง ๆ
- การคัดเลือกบุคลากร

ชื่อ นางสาว วาสนา อินต๊ะศรี รหัส 52041115 วิ
ชา 423312 Learning Resources Center Managemen
กลุ่ม 2 วันพฤหัสบดี 09-12.00น.
แบบฝึกหัดหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 รายวิชา 423312 การจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
คำสั่ง : ให้นิสิตเขียนอธิบายคำตอบลงในกระดาษ (ส่งท้ายชั่วโมง)
และนำเสนอบน Bloggerตามเงื่อนไขต่อไปนี้ (5 คะแนน) งานเดี่ยว
*************************************************************************************
1. อธิบายภารกิจหรือกิจกรรมที่สาคัญ ๆ ของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง
ตอบ 1.การเลือก จัดหา การลงทะเบียน ทำบัตรรายการ การบริการใช้ ตลอดจนเก็บบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์ การ เรียนการ สอนต่างๆ
2.การผลิตสื่อการสอน เช่น ผลิตวัสดุกราฟฟิค การบันทึกเสียง ทำรายการวิทยุและโทรทัศน์
3.จัดกิจกรรมทางวิชาการ เช่น การฝึกอบรมครูประจำการ การวิจัย การจัดนิทรรศการ ตลอดจนการเผยแพร่
ประชาสัมพันธ์
4.การบริหาร เช่น การจัดบุคลากร การนิเทศ การบันทึกรายการ การติดต่อประสานงานและการทำงบประมาณ เป็นต้น
5.การประเมินกิจกรรมต่างๆ

2. ถ้าหากพิจารณาบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จะประกอบด้วยบุคคลด้านใดบ้าง
ตอบ 1. ด้านบริหาร โดยต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมายและภารกิจต่างๆให้ครอบคลุมงานหรือสิ่งที่ต้องทำ การจัดดำเนินงาน การจัดบุคลากร การนิเทศ การติดต่อประสานงาน การทำงบประมาณ การกำหนดมาตรฐานของงาน เพื่อให้หน่วยงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ โดยต้องมีฝ่ายรับผิดชอบดังนี้
1.1 หัวหน้าหน่วยงาน
1.2 หัวหน้างานหรือหัวหน้าฝ่าย
1.3 เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป
1.4 พนักงานธุรการ
1.5 เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
2. ด้านการบริการ เป็นภารกิจของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ที่นำโครงการต่างๆออกสู่กลุ่มเป้าหมาย เช่น บริการด้านการจัดการสื่อ บริการด้านการใช้สื่อ ด้านการบำรุงรักษา ด้านการให้คำปรึกษา ห้องปฎิบัติการทางภาษา ห้องปฎิบัติการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นต้น ซึ่งแนวทางในการกำหนดภารกิจด้านการบริการควรสะท้อนปรัชญาที่ยึดความต้องการของกลุ่มเป้ายหมายหลัก
นอกจากนั้นแล้วด้านการบริการยังมีหน้าที่ความรับผิดชอบ ในการสำรวจและจัดหา จัดเก็บแยกหมวดหมู่ และจัดทำทะเบียนบัญชีสื่อ รวมทั้งมีหน้าที่รับผิดชอบในการซ่อมบำรุงสื่อด้วย โดยมีฝ่ายที่รับผิดชอบ เช่น
2.1 บรรณารักษ์
2.2 นักวิชาการคอมพิวเตอร์
2.3 นายช่างอิเล็กทรอนิกส์
3. ด้านการผลิตสื่อ บุคลากรที่มีหน้าที่รับผิดชอบ เช่น
3.1 นักวิชาการโสตทัศนศึกษา
3.2 นักวิชาการช่างศิลป์
3.3 นายช่างภาพ
4. ด้านวิชาการ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ต้องมีบทบาทและหน้าที่ในการศึกษาค้นคว้าพัฒนาและเผยแพร่ผลงาน สร้างนวัตกรรมใหม่เกี่ยวกับการผลิตและการใช้สื่อ จัดการฝึกอบรม การเผยแพร่ความรู้ การประเมินคุณภาพสื่อ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วฝ่ายวิชาการยังต้องวิจัยและพัฒนาสื่อการศึกษาทั่วไปและวิจัยสื่อ รวมถึงการพัฒนาสื่อให้เหมาะสมกับการเรียนการสอน ฉะนั้นบุคลากรฝ่ายนี้จึงจำเป็นต้องเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านการศึกษา ด้านการวิจัยและมีความรู้เทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งผู้รับผิดชอบได้แก่
4.1 นักวิชาการศึกษา
4.2 นักวิจัย
5. ด้านการปรับปรุงการเรียนการสอน ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ต้องมีภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบต่อการศึกษาเป็นสำคัญในการจัดหาสื่อมาใช้ในการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและเนื้อหาแต่ละวิชา ตามความจำเป็น ให้เพียงพอและยังมีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือแก่ครูอาจารย์ในด้านต่างๆเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษา
6. ด้านกิจกรรมอื่น เช่น มีบทบาทหน้าที่ประชาสัมพันธ์สถาบันต่อชุมชน จัดนิทรรศการหรือจัดแสดงความก้าวหน้าต่างๆ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ควรมีกิจกรรมเพื่อให้ความรู้แก่สังคมและจัดแสดงสาธิตนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้กับผู้สนใจ การจัดกิจกรรมลักษณะนี้ถือว่าเป็นการประชาสัมพันธ์อย่างหนึ่ง

3. ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จำแนกเป็นประเภทที่สาคัญได้กี่ประเภท
ตอบ ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. บุคลากรวิชาชีพ (Professional Staff) ได้แก่ บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาหรือโสตทัศนศึกษาระกับปริญญาซึ่งถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ (Media Specialists) หรือบางทีอาจเรียกว่า นักวิชาการโสตทัศนศึกษา ก็ได้ ส่วนใหญ่บุคลากรกลุ่มนี้จะทำหน้าที่เป็นหัวหน้าหรือผู้บริหาร อำนวยการประสานเกี่ยวกับสื่อ และอำนวยการให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆเป็นไปด้วยความเรียบร้อย บุคลากรทางวิชาชีพสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ เช่น
1.1 บุคลากรผู้เชียวชาญด้านวัสดุตีพิมพ์และไม่ตีพิมพ์ (Printed and Non-Printed Specialization)
เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสื่อการสอนง่ายๆที่เป็นวัสดุตีพิมพ์หรือไม่ตีพิมพ์
1.2 บุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านสิ่งพิมพ์และโสตทัศนูปกรณ์ (Printed (Printed and Audiovisual Aids)
1.3 บุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านเฉพาะหน้าที่ (Functional Specialization) เช่น
- ด้านการออกแบบ
- ด้านการพัฒนาหลักสูตร
- ด้านการวิจัย
- ด้านการเลือกจัดการและประเมินสื่อ ฯลฯ
1.4 บุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา (Subject Specialization) บุคลากรด้านนี้จะมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับสื่อในสาขาวิชาต่างๆ
1.5 บุคลากรที่เชี่ยวชาญเรื่องสื่อเฉพาะระดับชั้น(Level Specialization) บุคลากรด้านนี้จะมีความเชี่ยวชาญการใช้สื่อในระดับการศึกษาต่างๆ
1.6 บุคลากรที่เชี่ยวชาญเรื่องสื่อเฉพาะหน่วยงาน (Unit-Type Specialization)
2. บุคลากรกึ่งวิชาชีพ (Paraprofessional Staff) บุคลากรกึ่งวิชาชีพ คือ บุคคลที่ได้วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพโดยมีหน้าที่ช่วยเหลือบุคลากรทางวิชาชีพเกี่ยวกับด้านเทคนิคหรือด้านบริการ บุคลากรกึ่งวิชาชีพ เช่น
2.1 พนักงานเทคนิค (Media Techician) บางทีเรียกว่า เจ้าหน้าที่โสตทัศนศึกษา เจ้าหน้าที่ ซึ่งจะมีหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลบารุงรักษาและให้บริการ
2.2 พนักงานด้านกราฟิกหรือช่างศิลป์ โดยจะปฏิบัติหน้าที่งานด้านกราฟิกเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน
2.3 พนักงานด้านภาพนิ่ง หรือช่างภาพ จะปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการถ่ายภาพเพื่อผลิตสื่อประเภทต่างๆตลาดจนงานทั่วไป
2.4 พนักงานช่างเทคนิค จะปฏิบัติหน้าที่เป็นช่างเทคนิค ซ่อมแซม ดูแลเครื่องมือ/อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
2.5 พนักงานด้านวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง เป็นต้น
3. บุคลากรที่ไม่มีความรู้ทางวิชาชีพ (Non-professional Staff) บุคลากรประเภทนี้ทาหน้าที่ทางด้านธุรกิจ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ซึ่งจะมีคุณวุฒิหลากหลายจะใช้ความรู้ความชานาญเฉพาะในหน้าที่ของตน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าจานวนบุคคลในแต่ละประเภทจะมีมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับนโยบาย ขนาดหรือปริมาณของงาน ขอบเขตของการให้บริการ ลักษณะของระบบงานบริการ จานวนผู้ใช้บริการ และงบประมาณของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แต่ละแห่งเป็นสาคัญ

4. ท่านมีขั้นตอนในการจัดหาสื่อการเรียนการสอน มาใช้บริการในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ การจัดการหาสื่อเพื่อบริการ ในการจัดหาสื่อมาไว้บริการภายในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว มีระบบ ระเบียบ สามารถแบ่งออกเป็นขันตอน ดังนี้
• ขั้นตอนที่ 1 เป็นขั้นการสารวจสภาพของสื่อในสถานศึกษาเพื่อสารวจหาข้อเท็จจริงเบื้องต้นเป็นข้อมูลมาประกอบการจัดหา ได้แก่
1. การสารวจสื่อวัสดุ (Materials) การสารวจสื่อวัสดุมีรายการที่ต้องการทราบ คือ
- ชนิดของวัสดุ
- ชื่อเรื่อง
- แหล่งที่เก็บ (Location)
- แหล่งที่ได้มา
- สภาพการใช้งานปัจจุบัน
2. การสารวจเครื่องมือ (Equipments)
- ชนิดของเครื่องมือ
- แบบ/รุ่น
- แหล่งที่เก็บ
- แหล่งที่ได้มา
- จำนวน
- สภาพการใช้งานปัจจุบัน
• ขั้นตอนที่ 2 การสำรวจสถานที่ เป็นขั้นตอนการสารวจวางแผนจะให้สถานที่ส่วนใดบ้างในการทากิจกรรม เพื่อเป็นการตรวจสอบดูว่ามีสถานที่และสิ่งอานวยความสะดวกที่ต้องการมีเพียงพอแล้วหรือยังและจะต้องการจัดหาอะไรเพิ่มเติมบ้าง
• ขั้นตอนที่ 3 การสำรวจความต้องการของผู้ใช้ เพื่อต้องการทราบถึงความต้องการใช้สื่อประเภทต่างๆ โดยนาข้อมูลที่ได้ไปดาเนินการจัดหาให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ดังนั้นก่อนการจัดหาหรือจัดซื้อสื่อมาไว้บริการ จาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสารวจและศึกษาความต้องการของผู้ใช้ก่อนเสมอ
การสำรวจความต้องการใช้สื่อในการเรียนการสอนสามารถทาได้หลายลักษณะ ได้แก่
1. การสัมภาษณ์ ซักถามเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มย่อย
2. การสังเกต เป็นวิธีหนึ่งที่ผู้ต้องการข้อมูลสามารถนามาใช้เพื่อเก็บข้อมูลโดยดูจากพฤติกรรมการใช้สื่อที่มีมาแต่เดิม
3. การใช้แบบสอบถาม เป็นการสารวจที่ได้รายละเอียดมากกว่าแบบอื่นๆ
• ขั้นตอนที่ 4 เป็นขั้นการจัดหา โดยนาข้อมูลที่ได้มาจากความต้องการแล้วทาเป็นโครงการสั้นๆ หรือโครงการระยะยาวเพื่อวางแผนในเรื่องงบประมาณในการจัดหาต่อไป ในการจัดซื้อผู้เกี่ยวข้องต้องพิจารณาตามลาดับความสาคัญของผู้ใช้โดยจัดซื้อเฉพาะสื่อที่มีคุณภาพ ประหยัดงบประมาณ ก่อนจัดซื้อสื่ออะไรมาไว้บริการจะต้องมีการประเมินค่าสื่อนั้น โดยคณะกรรมการประเมินค่าสื่อเพื่อพิจารณาว่าสื่อหรือวัสดุอุปกรณ์มีคุณค่าต่อการเรียนการสอนมากน้อยเพียงไร มีข้อดีและข้อจากัดอย่างไรเพื่อให้การจัดซื้อจัดหาสื่อมาไว้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อเกิดประโยชน์อย่างเต็มที่

5. อธิบายวิธีการจัดซื้อจัดหาวัสดุครุภัณฑ์เพื่อมาใช้ในกิจกรรมและบริการ ท่านมีหลักเกณฑ์สาคัญ อะไรบ้าง
ตอบ 1. ความคงทน(Ruggedness) โดยพิจารณาถึงวัสดุที่ประกอบเป็นตัวเครื่องให้ความคงทนแข็งแรง ไม่แตกหักง่าย
2. ความสะดวกในการใช้งาน (Ease of Operation) โดยพิจารณาถึงการควบคุม การบังคับกลไกไม่ซับซ้อนจนเกินไปหรือมีปุ่มต่างๆมากมายเกินไป
3. ความกะทัดรัด (Portability) โดยพิจารณาถึงขนาดของตัวเครื่อง น้าหนัก ความสะดวกในการเก็บและเคลื่อนย้าย
4. คุณภาพของเครื่อง(Quality of Peration) เป็นการพิจารณาเกี่ยวกับมาตรฐานที่ประกอบรวมกันเป็นไปตามคุณสมบัติต้องการใช้งานเพียงใด
5. การออกแบบ (Design) เป็นการพิจารณาเกี่ยวกับรูปลักษณ์ว่าสวยงามมีความทันสมัย การติดตั้งอุปกรณ์ประกอบออกแบบให้ใช้ได้ง่าย
6. ความปลอดภัย (Safety) เป็นการพิจารณาว่ามีส่วนใดส่วนหนึ่งที่น่าจะเกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายได้ง่ายขณะใช้งาน
7. ความสะดวกในการบารุงรักษาละซ่อมแซม (Ease of Maitenance and Repair) เป็นการพิจารณาว่ามีส่วนประกอบใดที่ยุ่งยากต่อการซ่อมแซมหรือมีความยากลาบากในการดูแลรักษาหรือมีส่วนประกอบที่เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงเมื่อชารุดแล้วไม่สามารถซ่อมแซมได้เลย
8. ราคา (Cost) ในการจัดซื้อจัดหาวัสดุอุปกรณ์มาใช้หรือเพื่อบริการควรคานึงถึงราคาซึ่งไม่แพงเกินไปที่สาคัญพิจารณาถึงความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการใช้งานแล้วจึงนาไปเปรียบเทียบกับยี่ห้ออื่น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดเหมาะสมกับราคาและคุณภาพของเครื่องมืออุปกรณ์นั้น
9. ชื่อเสียงของบริษัทผู้ผลิต(Reputation of Manufacturer) การพิจารณาบริษัทผู้ผลิตเพื่อจะได้ทราบว่าวัสดุอุปกรณ์ที่ซื้อนั้นมีจานวนและรุ่นที่ผลิตออกมามากน้อยพียงใด หากเป็นบริษัทที่มั่นคงมีชื่อเสียงจะเห็นได้ว่ามีระบบการผลิต ระบบการจัดการอื่นๆ ที่ได้มาตรฐาน ทาให้วัสดุอุปกรณ์มีคุณภาพและน่าเชื่อถือ
10. การบริการซ่อมแซม (Available Service) อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ควรเป็นแบบที่สามารถซ่อมแซมได้ง่าย รวดเร็วและมีบริการดูแลบารุงรักษาที่เอาใจใส่ดูแลบารุงสม่าเสมอและมีอะไหล่สารองไว้เพียงพอหรือเมื่อมีปัญหาทางบริษัทสามารถแก้ปัญหาให้รวดเร็ว

6. การบริหารบุคคล หมายถึงอะไร
ตอบ ศิลปะในการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้ามาทางานในองค์การ มอบหมายงาน พัฒนาบุคคลและให้พ้นจากงาน โดยคานึงถึงประสิทธิภาพของเป้าหมายหรือบริการของศูนย์ฯ หรือหน่วยงานเป็นสำคัญ

7. หลักการบริหารงานบุคคลมีกี่ระบบอะไรบ้าง
ตอบ หลักในการบริหารงานบุคคล แบ่งเป็น 2 ระบบคือ
1. ระบบคุณธรรม Merit System ใช้หลักเกณฑ์
1.1 หลักความเสมอภาค เช่น มีสิทธิสอบได้ทุก
1.2 หลักความสามารถ เช่น คัดเลือกผู้มีความสามารถสูงไว้ก่อน
1.3 หลักความมั่นคง เช่น ถ้าไม่ผิดวินัย ก็ไม่ถูกลงโทษให้ออก อยู่จนเกษียณ
1.4 หลักความเป็นกลางทางการเมือง เช้า ห้ามข้าราชการเป็นกรรมการบริษัท
2. ระบบอุปถัมภ์ Patronage System ยึดถือพวกพ้อง เครือญาติ หรือผู้มีอุปการะคุณ

8. การจำแนกตำแหน่งได้กี่ประเภท
ตอบ การจำแนกตำแหน่งงานแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1.จำแนกตำแหน่งตามลักษณะตำแหน่ง Position Classification เป็นการจำแนกตำแหน่งโดยถือลักษณะความรับผิดชอบของตำแหน่งเป็นสาคัญ เช่น กลุ่มเจ้าหน้าที่ธุรการ การเงิน นิติกร วิศวกร เป็นต้น
2.การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะยศ Rank Classification เป็นการจำแนกตำแหน่งตามตำแหน่งที่ประกอบ กับชั้นยศ ใช้กับทหาร ตำรวจ
3. การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะชั้นยศทางวิชาการ Academic Rank Classification จำแนกตามคุณลักษณะความเชี่ยวชาญ วิชาการ เช่น ครู อาจารย์

9. ขั้นตอนของกระบวนการวางแผนกำลังคนได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ 1. ศึกษานโยบายและแผนงานขององค์การ
2. การตวรสภาพคน
3. การพยากรณ์กำลังคน
4. การเตรียมคนสำหรับอนาคต

10. การวางแผนกำลังคนที่ดีต้องทราบอะไรบ้าง
ตอบ 1. ภาระงาน Workload หน้าที่ความรับผิดชอบชั่วโมงงาน
2. การออกแบบงาน Job Design เป็นการออกแบบโครงสร้างงานต่างๆ ทั้งองค์การว่ามีกลุ่มงานอะไรบ้าง
3. การวิเคราะห์งาน Job Analysis วิเคราะห์งานแต่ละตำแหน่ง กำหนดคุณลักษณะที่จำเป็นแต่ละตำแหน่ง เช่น ความสำคัญของงาน ระดับความเป็นอิสระ ตัวบ่งชี้ผลลัพธ์ของงาน ความรู้ความสามารถและทักษะที่จำเป็น เพื่อกำหนดรายละเอียดของตำแหน่ง Job Description และคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง Job Specification
4. รายละเอียดของตาแหน่งงาน Job Description เป็นการกำหนดชื่อตำแหน่งงานที่ต้องปฏิบัติ
5. คุณสมบัติเฉพาะตาแหน่ง Job Specification เป็นการกำหนดรายละเอียดในตำแหน่งลึกลงไปอีก
6. การทำให้งานมีความหมาย Job Enrichment เป็นวิธีการจูงใจและพัฒนาบุคลากรให้เกิดความพึงพอใจในการทำงาน (จิ๋วแต่แจ๋ว, เล็กดีรสโต) (Job Enlargement) เล็ก ๆ มิต้าไม่ ใหญ่ ๆ มิต้าทำ

11. บุคลากรด้านทรัพยากรการเรียนรู้มีกี่ประเภท
ตอบ บุคลการด้านทรัพยากรการเรียนรู้มี 3 ประเภท ได้แก่
1. ด้านบริหาร โดยต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมายและภารกิจต่างๆ ให้ครอบคลุมงานหรือสิ่งที่ต้องทำ การจัดดำเนินงาน การจัดบุคลากร การนิเทศ การติดต่อประสานงาน การทำงบประมาณ การกำหนดมาตรฐานของงานเพื่อให้หน่วยงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
2. ด้านการบริการ เป็นภารกิจของศูนย์สื่อการศึกษาที่นำโครงการต่างๆออกสู่ กลุ่มเป้าหมาย เช่น บริการด้านการจัดหาสื่อ บริการด้านการใช้สื่อ ด้านการบำรุงรักษา ด้านการให้คำปรึกษา ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องปฏิบัติการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นต้น ซึ่งแนวทางในการกำหนดภารกิจด้านบริการควรสะท้อนปรัชญาที่ยึดความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก
3. บุคลากรด้านการผลิตสื่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น