วิชา 423312 Learning Resources Center Managemen
กลุ่ม 2 วันพฤหัสบดี 09-12.00น.
คำสั่ง ให้นิสิตเขียนอธิบายคำตอบตามเงื่อนไขต่อไปนี้ (10 คะแนน)
งานเดี่ยว : 1. ให้พิมพ์คำตอบลงใน MS.word และแนบไฟล์ส่ง และ Weblog
2. กำหนดส่งทาง e-Learning ภายในเวลาที่กำหนด โดยไฟล์ต้องมีขนาดไม่เกิน 8 MB
3. บันทึกลงใน Weblog ไม่เกินเวลา 23.55 น. ของวันที่ 16 ธันวาคม 2554
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ถ้าแบ่งตามกลุ่มเป้าหมายของระบบการศึกษาได้กี่ประเภท อะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ แบ่งตามกลุ่มเป้าหมายของระบบการศึกษาได้ 3 ประเภท ดังนี้
1.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียน คือ หน่วยงานที่สนับสนุนการเรียนการสอนทั้งสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ซึ่งมีการดำเนินการได้หลายลักษณะและมีชื่อเรียกต่างกัน ทั้งศูนย์วัสดุการเรียน, ศูนย์โสตทัศน์และห้องสมุด, ศูนย์วัสดุอุปกรณ์การศึกษา ศูนย์สื่อการสอน, ศูนย์โสตทัศนวัสดุ, ศูนย์วัสดุการสอนหรือศูนย์วัสดุการศึกษา ศูนย์โสตทัศนูปกรณ์ หรือหน่วยบริการโสตทัศนูปกรณ์, สำนักเทคโนโลยีการศึกษา, ศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา เป็นต้น
2.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษานอกระบบ คือ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ที่มีเป้าหมายโดยมุ่งการให้บริการกับผู้เรียนที่มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนได้รับความรู้ด้านพื้นฐาน ทักษะในการประกอบอาชีพ และทักษะที่จำเป็นสำหรับความรู้ด้านอื่นๆ เป็นฐานในการดำรงชีวิต เช่น ศูนย์ฝึกอาชีพ, ศูนย์การเรียน เป็นต้น
3.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย คือ ศูนย์รวมและให้บริการความรู้โดยมุ่งให้กลุ่มเป้าหมายได้ศึกษาจากประสบการณ์การทำงาน บุคคล ครอบครัว สื่อมวลชน ชุมชน แหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เป็นต้น
2. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ
•ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียน นั้นเป็นหน่วยงานที่คอยสนับสนุนการเรียนการสอนทั้งทางสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ซึ่งสามารถดำเนินการได้หลายลักษณะและมีชื่อเรียกต่างกัน
•ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษานอกระบบ เป็นศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ที่มีเป้าหมายโดยมุ่งการให้บริการกับผู้เรียนที่มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนได้รับความรู้ด้านพื้นฐาน ทักษะในการประกอบอาชีพ และทักษะที่จำเป็นสำหรับความรู้ด้านอื่นๆ เป็นฐานในการดำรงชีวิต
•ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย คือ ศูนย์รวมและให้บริการความรู้โดยมุ่งให้กลุ่มเป้าหมายได้ศึกษาจากประสบการณ์การทำงาน บุคคล ครอบครัว สื่อมวลชน ชุมชน แหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต
3. ให้นิสิตหาตัวอย่างศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ประเภท ละ 3 ศูนย์ พร้อมบอกสถานที่ตั้ง และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์นั้น ๆ พร้อมแหล่งอ้างอิง
ตอบ
1.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียน
•สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา
สถานที่ตั้ง : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ต.แสนสุขอ.เมือง จ. ชลบุรี 20131
กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนและนิสิตทั่วไป
แหล่งอ้างอิง : http://www.lib.buu.ac.th/
•สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถานที่ตั้ง : สำนักหอสมุด มหาวิทยลัยเกษตรศาสตร์ เลขที่ 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2579-0113, 0-2942-8500-11 ติดต่อผู้ดูแลระบบ : www@ku.ac.th
กลุ่มเป้าหมาย :ประชาชนและนิสิตทั่วไป
แหล่งอ้างอิง : http://kulibrary.org/
•ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถานที่ตั้ง : ถนนพญาไท ปทุมวัน กรุงเทพ 10330
กลุ่มเป้าหมาย : บุคคลทั่วไปที่สนใจ
แหล่งอ้างอิง : http://www.car.chula.ac.th/aboutus/
2.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษานอกระบบ
•ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตวัฒนา
สถานที่ตั้ง : 446/4-5 ซ.ปรีดีพนมยงค์ 20/1 ถ.สุขุมวิท71 แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110
โทร 02-3918120 mail : watthana@bkk1.nfe.go.th
กลุ่มเป้าหมาย :ประชากรวัยแรงงาน
แหล่งอ้างอิง : http://www.ksnwattana.nlern.com
•ศูนย์ฝึกอาชีพเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ครบ 36พรรษา
สถานที่ตั้ง : เลขที่ 104 ม.3 ต.บางละมุง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี 20150
โทรศัพท์ 0-3824-1072 โทรสาร. 0-3824-1766
อีเมล์ info@svtc.go.th
กลุ่มเป้าหมาย : เยาวชน - ประชาชน ที่มีอายุตั้งแต่ ๑๔ - ๓๕ ปีขึ้นไป ที่มีฐานะยากจนขาดแคลน และผู้ ว่างงานต้องการฝึกอาชีพ เพื่อเป็นรายได้เสริมให้แก่ครอบครัว
แหล่งอ้างอิง : http://www.svtc.go.th
•ศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยรามคำแหง (หัวหมาก)
สถานที่ตั้ง : มหาวิทยาลัยรามคำแหง ฝ่ายพัฒนาชุมชนฯ สำนักงานเขตบางกะปิ โทร.02369-2823-4
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ว่างงานและประชาชนทั่วไป
แหล่งอ้างอิง : http://www.info.ru.ac.th/20021220-113729/index.htm
3.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย
•พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำบางแสน สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
สถานที่ตั้ง : สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
โทรศัพท์ : 0-3839-1671-3แฟ็กซ์:0-3839-1674
กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนทั่วไป
แหล่งอ้างอิง : http://www.bims.buu.ac.th/j3/index.php/2011-01-14-08-38-52
•สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
สถานที่ตั้ง : เลขที่ 4 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ 02 225 2777 โทรสาร 02 225 2775 อีเมล webmaster@ndmi.or.t
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ คนไทย ประกอบด้วยเด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป กลุ่มเป้าหมายรอง คือ คนต่างประเทศ นักท่องเที่ยว
แหล่งอ้างอิง : http://www.ndmi.or.th/
•พิพิธภัณฑ์ล้านของเล่นเกริกยุ้นพันธ์
สถานที่ตั้ง : 45 หมู่ 2 ถ.อู่ทอง ต. ท่าวาสุกรี อ. เมืองพระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา
กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนทั่วไป
แหล่งอ้างอิง : http://www.milliontoymuseum.com/thai_news.html
4. ให้นิสิตแต่ละคน หาตัวอย่างของศูนย์สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัยมา คนละ 1 ศูนย์ โดยต้องอธิบายดังรายละเอียดต่อไปนี้
4.1นโยบาย ของศูนย์ วิสัยทัศน์ และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์ (สถาบันพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ)
เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ให้ความรู้เรื่องความเป็นมาของ บ้านเมือง จนมาเป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เพื่อก่อเกิดการเรียนรู้ สร้างสำนึกรักบ้านเมืองและท้องถิ่นของตน รวมทั้งเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในลักษณะ"เครือญาติ" กับประเทศเพื่อนบ้านอันเป็นองค์ความรู้ที่นำไปสู่ความมั่นคงและสันติภาพใน ภูมิภาค
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ คนไทย ประกอบด้วยเด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป กลุ่มเป้าหมายรอง คือ คนต่างประเทศ นักท่องเที่ยว
4.2แหล่งที่มาของศูนย์ ( สถาบันพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ)
รัฐบาลมีภารกิจที่สำคัญ คือ การทำให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ทำให้คนไทยมี คุณภาพด้วยการที่สามารถแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ด้วยตนเองได้ตลอดเวลา ดังนั้นสังคมจึงควรมีแหล่งที่จะแสวงหาความรู้ที่มีความหลากหลายในรูปแบบและ เนื้อหา ในประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนมากจะมีแหล่งแสวงหาความรู้สำหรับคนในแต่ละช่วงวัย และมีความสนใจต่างๆ โดยมีทั้งห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ศูนย์วัฒนธรรม ศูนย์นันทนาการและกีฬา โรงละคร หอศิลป์ และสถานที่แสดงดนตรี รวมทั้งสนับสนุนให้ ชุมชนมีกิจกรรมเพื่อการเติบโตของความรู้ สติปัญญา และความงอกงามของจิตใจ สำหรับประเทศไทยซึ่งจำเป็นต้องขยายโอกาสทางการศึกษา ด้วยสถาบันใหม่ที่จะมารองรับการศึกษายุคปฏิรูปให้ทันกับโลกยุคการเรียนรู้ แบบไร้ขีดจำกัด (school without walls) เพราะคุณภาพชีวิตของคนรุ่นใหม่ให้คุณค่าต่อการศึกษาเรียนรู้ ที่ทำให้สามารถเข้าใจโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สามารถเข้าใจปัญหาที่เผชิญหน้าควบคู่ไปกับความเพลิดเพลิน ประเทศจึงต้องการ "พิพิธภัณฑ์" ในฐานะที่เป็นสถาบันใหม่ที่สะท้อนความมั่นคงของสังคม วัฒนธรรม ลักษณะเฉพาะตน และความภาคภูมิใจในสังคมของตน
4.3แผนการดำเนินงาน (ถ้ามี) (สถาบันพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ)
•ลักษณะของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติของประเทศไทย
เป็นพิพิธภัณฑ์ชั้นนำที่ทันสมัย มีแนวคิดในการนำเสนอที่ใช้แนวคิดเชิง Thematic approach คือ การนำเสนอแก่นเรื่องราวแทนการเน้นแต่วัตถุ ( object - based ) แบบสมัยก่อน เน้นการเรียนรู้ที่เข้าถึงผู้ชม ทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยไม่จำกัดเพศ-วัย คุณวุฒิและฐานะทางสังคม มีการใช้แนวคิดแบบ Interactive approach เพื่อสร้าง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ชมและสิ่งแสดง พิจารณาเลือกใช้สื่อหลายประเภท ( multi-medium for the exhibition ) เพื่อเสริมสร้างความรู้และบรรยากาศในการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย มีทั้งการจัดแสดงแบบถาวร และแบบหมุนเวียน มีกิจกรรม และกระบวนการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องเพื่อสร้างความมีชีวิตให้แก่พิพิธภัณฑ์ พื้นที่ทางกายภาพเป็น Complex Museum ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มอาคารที่ตอบสนองต่อการใช้งาน และการจัดแสดงที่หลากหลาย มีการศึกษาวิจัยต่อเนื่อง เพิ่มพูนองค์ความรู้แก่คลังความรู้ของประเทศชาติ เชื่อมโยงแขนงความรู้สากล กับ ภูมิปัญญาไทย มีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ คล่องตัว และทันสมัย เปิดโอกาสแก่การมีส่วนร่วมของประชาชน นักวิชาการ ชุมชนและสังคม อย่างกว้างขวาง มีส่วนอำนวยความสะดวกครบถ้วน
•แนวการนำเสนอเนื้อหา
เน้นการนำเสนอเนื้อหาเชิงบูรณาการ เพื่อให้ครอบคลุมองค์ความรู้ ทั้งด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา โบราณคดี ชาติพันธุ์วิทยา สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี และศิลปกรรมศาสตร์ ฯลฯ ใช้งานวิจัยเป็นพื้นฐานในการสร้างเนื้อหา ในการรวบรวมเนื้อหาใช้การศึกษา วิเคราะห์ จัดลำดับความคิด เพื่อสร้าง"แก่นเรื่องรวม" ( theme ) ให้ครอบคลุมเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ โดยใช้ทักษะของการเล่าเรื่อง(story telling) เริ่มตั้งแต่การปูพื้น เกริ่นนำ การเดินเรื่อง การสร้างจุดเน้น การสรุปและการนำความคิดไปสร้างจินตภาพให้เห็นรูปลักษณ์ของนิทรรศการโดยรวม แบ่งเนื้อหาออกเป็นประเด็นต่างๆ แต่ละประเด็นคำนึงถึง Context เพื่อสร้างความตระหนักรู้ จุดประกายให้เกิดความใฝ่รู้ ง่ายต่อการเรียนรู้ และความเข้าใจ ง่ายต่อการจดจำ และนำไปคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง
•เนื้อหาการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
เป็น complex museum ที่นำเสนอเนื้อหาเชิงบูรณาการ ประกอบด้วย 4 พิพิธภัณฑ์ โดยมีแก่นเรื่องรวมกลางของเนื้อหาทั้งหมดวางอยู่บน Theme " ความเป็นมาของผู้คนและดินแดนในประเทศไทย" แสดงภูมิศาสตร์และนิเวศวิทยาของประเทศไทยในภูมิภาคที่เกื้อกูลให้เกิดผลดีนานัปการ ทั้งด้านการเกษตร การค้าอันอุดมสมบูรณ์มาแต่โบราณ แสดงความหลากหลายของทั้งสภาพแวดล้อมทางชีวภาพและ ความหลากหลายของชาติพันธุ์ในภูมิภาคที่ก่อให้เกิดวัฒนธรรมระบบความเชื่อ และวิถีปฏิบัติที่หลากหลาย และการเชื่อมโยงประสมประสานในภูมิภาค แสดงถึงศักยภาพและความสามารถของผู้คน ที่อยู่ในประเทศไทย ที่พัฒนาเป็นคุณลักษณะ " คนไทย" ขึ้นจากการปรับตัวในพื้นที่กึ่งกลาง ได้อย่างสมดุลและชาญฉลาด ก่อเกิดความมั่นคงและสันติสุข รวมทั้งการพัฒนาภูมิปัญญา สร้างสรรค์เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาโดยตลอด และเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้าสู่อนาคตที่ไร้พรมแดน จากแก่นเรื่องรวมดังกล่าวข้างต้นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ จึงประกอบด้วยเนื้อหาส่วนต่างๆ
5. ให้นิสิตแต่ละคนหาตัวอย่างผังโครงสร้างของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ มาคนละ 2 ผังโครงสร้าง พร้อมเขียนอธิบายดังนี้
5.1 แหล่งอ้างอิงของโครงสร้างศูนย์
5.2 โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด เพราะเหตุใด

•ผังโครงสร้างของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ผังที่ 1 (ศูนย์ฝึกอาชีพเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ครบ 36พรรษา)
-แหล่งอ้างอิงโครงสร้างศูนย์
http://www.svtc.go.th/th/about.php
-โครงสร้างดังกล่าวเป็นโครงสร้างประเภทใด เพราะเหตุใด
แบบ Line Organization เพราะ เป็นรูปแบบการจัดครงสร้างตามงานที่รับผิดชอบในอำนาจหน้าที่กันเป็นขั้นๆ จากระดับสูงสุดไปจนกระทั่งต่ำสุด

•ผังโครงสร้างของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ผังที่ 2 (สวนพฤกษศาสตร์)
-แหล่งอ้างอิงโครงสร้างศูนย์
http://www.qsbg.org/mainpage.asp เข้าถึง http://www.qsbg.org/Doc/chartQSBG2011.jpg
-โครงสร้างดังกล่าวเป็นโครงสร้างประเภทใด เพราะเหตุใด
แบบ Line Organization เพราะ เป็นรูปแบบการจัดครงสร้างตามงานที่รับผิดชอบในอำนาจหน้าที่กันเป็นขั้นๆ จากระดับสูงสุดไปจนกระทั่งต่ำสุด
******สามารถดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้ที่http://www.mediafire.com/?ji9sii2rwav8ir4******
--------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น