วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 6 (ห้องเรียนปกติ)

ประเด็นการเรียนรู้ประจำสัปดาห์

- ภารกิจ Final Project "โครงการจัดตั้งศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย"
- การบริหารบุคลากร
- บุคลากรด้านสื่อ
-คุณสมบัติและหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากรฝ่ายต่าง ๆ
- การคัดเลือกบุคลากร




ชื่อ นางสาว วาสนา อินต๊ะศรี รหัส 52041115 วิ
ชา 423312 Learning Resources Center Managemen
กลุ่ม 2 วันพฤหัสบดี 09-12.00น.

แบบฝึกหัดหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 รายวิชา 423312 การจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
คำสั่ง : ให้นิสิตเขียนอธิบายคำตอบลงในกระดาษ (ส่งท้ายชั่วโมง)
และนำเสนอบน Blogger
ตามเงื่อนไขต่อไปนี้ (5 คะแนน) งานเดี่ยว

*************************************************************************************


1. อธิบายภารกิจหรือกิจกรรมที่สาคัญ ๆ ของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง
ตอบ
1.การเลือก จัดหา การลงทะเบียน ทำบัตรรายการ การบริการใช้ ตลอดจนเก็บบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์ การ เรียนการ สอนต่างๆ
2.การผลิตสื่อการสอน เช่น ผลิตวัสดุกราฟฟิค การบันทึกเสียง ทำรายการวิทยุและโทรทัศน์
3.จัดกิจกรรมทางวิชาการ เช่น การฝึกอบรมครูประจำการ การวิจัย การจัดนิทรรศการ ตลอดจนการเผยแพร่
ประชาสัมพันธ์
4.การบริหาร เช่น การจัดบุคลากร การนิเทศ การบันทึกรายการ การติดต่อประสานงานและการทำงบประมาณ เป็นต้น
5.การประเมินกิจกรรมต่างๆ



2. ถ้าหากพิจารณาบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จะประกอบด้วยบุคคลด้านใดบ้าง
ตอบ
1. ด้านบริหาร
โดยต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมายและภารกิจต่างๆให้ครอบคลุมงานหรือสิ่งที่ต้องทำ การจัดดำเนินงาน การจัดบุคลากร การนิเทศ การติดต่อประสานงาน การทำงบประมาณ การกำหนดมาตรฐานของงาน เพื่อให้หน่วยงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ โดยต้องมีฝ่ายรับผิดชอบดังนี้
1.1 หัวหน้าหน่วยงาน
1.2 หัวหน้างานหรือหัวหน้าฝ่าย
1.3 เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป
1.4 พนักงานธุรการ
1.5 เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
2. ด้านการบริการ เป็นภารกิจของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ที่นำโครงการต่างๆออกสู่กลุ่มเป้าหมาย เช่น บริการด้านการจัดการสื่อ บริการด้านการใช้สื่อ ด้านการบำรุงรักษา ด้านการให้คำปรึกษา ห้องปฎิบัติการทางภาษา ห้องปฎิบัติการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นต้น ซึ่งแนวทางในการกำหนดภารกิจด้านการบริการควรสะท้อนปรัชญาที่ยึดความต้องการของกลุ่มเป้ายหมายหลัก
นอกจากนั้นแล้วด้านการบริการยังมีหน้าที่ความรับผิดชอบ ในการสำรวจและจัดหา จัดเก็บแยกหมวดหมู่ และจัดทำทะเบียนบัญชีสื่อ รวมทั้งมีหน้าที่รับผิดชอบในการซ่อมบำรุงสื่อด้วย โดยมีฝ่ายที่รับผิดชอบ เช่น
2.1 บรรณารักษ์
2.2 นักวิชาการคอมพิวเตอร์
2.3 นายช่างอิเล็กทรอนิกส์
3. ด้านการผลิตสื่อ บุคลากรที่มีหน้าที่รับผิดชอบ เช่น
3.1 นักวิชาการโสตทัศนศึกษา
3.2 นักวิชาการช่างศิลป์
3.3 นายช่างภาพ
4. ด้านวิชาการ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ต้องมีบทบาทและหน้าที่ในการศึกษาค้นคว้าพัฒนาและเผยแพร่ผลงาน สร้างนวัตกรรมใหม่เกี่ยวกับการผลิตและการใช้สื่อ จัดการฝึกอบรม การเผยแพร่ความรู้ การประเมินคุณภาพสื่อ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วฝ่ายวิชาการยังต้องวิจัยและพัฒนาสื่อการศึกษาทั่วไปและวิจัยสื่อ รวมถึงการพัฒนาสื่อให้เหมาะสมกับการเรียนการสอน ฉะนั้นบุคลากรฝ่ายนี้จึงจำเป็นต้องเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านการศึกษา ด้านการวิจัยและมีความรู้เทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งผู้รับผิดชอบได้แก่
4.1 นักวิชาการศึกษา
4.2 นักวิจัย
5. ด้านการปรับปรุงการเรียนการสอน ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ต้องมีภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบต่อการศึกษาเป็นสำคัญในการจัดหาสื่อมาใช้ในการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและเนื้อหาแต่ละวิชา ตามความจำเป็น ให้เพียงพอและยังมีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือแก่ครูอาจารย์ในด้านต่างๆเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษา
6. ด้านกิจกรรมอื่น เช่น มีบทบาทหน้าที่ประชาสัมพันธ์สถาบันต่อชุมชน จัดนิทรรศการหรือจัดแสดงความก้าวหน้าต่างๆ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ควรมีกิจกรรมเพื่อให้ความรู้แก่สังคมและจัดแสดงสาธิตนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้กับผู้สนใจ การจัดกิจกรรมลักษณะนี้ถือว่าเป็นการประชาสัมพันธ์อย่างหนึ่ง

3. ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จำแนกเป็นประเภทที่สาคัญได้กี่ประเภท
ตอบ
ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. บุคลากรวิชาชีพ (Professional Staff) ได้แก่ บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาหรือโสตทัศนศึกษาระกับปริญญาซึ่งถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ (Media Specialists) หรือบางทีอาจเรียกว่า นักวิชาการโสตทัศนศึกษา ก็ได้ ส่วนใหญ่บุคลากรกลุ่มนี้จะทำหน้าที่เป็นหัวหน้าหรือผู้บริหาร อำนวยการประสานเกี่ยวกับสื่อ และอำนวยการให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆเป็นไปด้วยความเรียบร้อย บุคลากรทางวิชาชีพสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ เช่น
1.1 บุคลากรผู้เชียวชาญด้านวัสดุตีพิมพ์และไม่ตีพิมพ์ (Printed and Non-Printed Specialization)
เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสื่อการสอนง่ายๆที่เป็นวัสดุตีพิมพ์หรือไม่ตีพิมพ์
1.2 บุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านสิ่งพิมพ์และโสตทัศนูปกรณ์ (Printed (Printed and Audiovisual Aids)
1.3 บุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านเฉพาะหน้าที่ (Functional Specialization) เช่น
- ด้านการออกแบบ
- ด้านการพัฒนาหลักสูตร
- ด้านการวิจัย
- ด้านการเลือกจัดการและประเมินสื่อ ฯลฯ
1.4 บุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา (Subject Specialization) บุคลากรด้านนี้จะมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับสื่อในสาขาวิชาต่างๆ
1.5 บุคลากรที่เชี่ยวชาญเรื่องสื่อเฉพาะระดับชั้น(Level Specialization) บุคลากรด้านนี้จะมีความเชี่ยวชาญการใช้สื่อในระดับการศึกษาต่างๆ
1.6 บุคลากรที่เชี่ยวชาญเรื่องสื่อเฉพาะหน่วยงาน (Unit-Type Specialization)
2. บุคลากรกึ่งวิชาชีพ (Paraprofessional Staff) บุคลากรกึ่งวิชาชีพ คือ บุคคลที่ได้วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพโดยมีหน้าที่ช่วยเหลือบุคลากรทางวิชาชีพเกี่ยวกับด้านเทคนิคหรือด้านบริการ บุคลากรกึ่งวิชาชีพ เช่น
2.1 พนักงานเทคนิค (Media Techician) บางทีเรียกว่า เจ้าหน้าที่โสตทัศนศึกษา เจ้าหน้าที่ ซึ่งจะมีหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลบารุงรักษาและให้บริการ
2.2 พนักงานด้านกราฟิกหรือช่างศิลป์ โดยจะปฏิบัติหน้าที่งานด้านกราฟิกเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน
2.3 พนักงานด้านภาพนิ่ง หรือช่างภาพ จะปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการถ่ายภาพเพื่อผลิตสื่อประเภทต่างๆตลาดจนงานทั่วไป
2.4 พนักงานช่างเทคนิค จะปฏิบัติหน้าที่เป็นช่างเทคนิค ซ่อมแซม ดูแลเครื่องมือ/อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
2.5 พนักงานด้านวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง เป็นต้น
3. บุคลากรที่ไม่มีความรู้ทางวิชาชีพ (Non-professional Staff) บุคลากรประเภทนี้ทาหน้าที่ทางด้านธุรกิจ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ซึ่งจะมีคุณวุฒิหลากหลายจะใช้ความรู้ความชานาญเฉพาะในหน้าที่ของตน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าจานวนบุคคลในแต่ละประเภทจะมีมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับนโยบาย ขนาดหรือปริมาณของงาน ขอบเขตของการให้บริการ ลักษณะของระบบงานบริการ จานวนผู้ใช้บริการ และงบประมาณของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แต่ละแห่งเป็นสาคัญ

4. ท่านมีขั้นตอนในการจัดหาสื่อการเรียนการสอน มาใช้บริการในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ
การจัดการหาสื่อเพื่อบริการ ในการจัดหาสื่อมาไว้บริการภายในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว มีระบบ ระเบียบ สามารถแบ่งออกเป็นขันตอน ดังนี้
• ขั้นตอนที่ 1 เป็นขั้นการสารวจสภาพของสื่อในสถานศึกษาเพื่อสารวจหาข้อเท็จจริงเบื้องต้นเป็นข้อมูลมาประกอบการจัดหา ได้แก่
1. การสารวจสื่อวัสดุ (Materials) การสารวจสื่อวัสดุมีรายการที่ต้องการทราบ คือ
- ชนิดของวัสดุ
- ชื่อเรื่อง
- แหล่งที่เก็บ (Location)
- แหล่งที่ได้มา
- สภาพการใช้งานปัจจุบัน
2. การสารวจเครื่องมือ (Equipments)
- ชนิดของเครื่องมือ
- แบบ/รุ่น
- แหล่งที่เก็บ
- แหล่งที่ได้มา
- จำนวน
- สภาพการใช้งานปัจจุบัน

• ขั้นตอนที่ 2 การสำรวจสถานที่ เป็นขั้นตอนการสารวจวางแผนจะให้สถานที่ส่วนใดบ้างในการทากิจกรรม เพื่อเป็นการตรวจสอบดูว่ามีสถานที่และสิ่งอานวยความสะดวกที่ต้องการมีเพียงพอแล้วหรือยังและจะต้องการจัดหาอะไรเพิ่มเติมบ้าง

• ขั้นตอนที่ 3 การสำรวจความต้องการของผู้ใช้ เพื่อต้องการทราบถึงความต้องการใช้สื่อประเภทต่างๆ โดยนาข้อมูลที่ได้ไปดาเนินการจัดหาให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ดังนั้นก่อนการจัดหาหรือจัดซื้อสื่อมาไว้บริการ จาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสารวจและศึกษาความต้องการของผู้ใช้ก่อนเสมอ
การสำรวจความต้องการใช้สื่อในการเรียนการสอนสามารถทาได้หลายลักษณะ ได้แก่
1. การสัมภาษณ์ ซักถามเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มย่อย
2. การสังเกต เป็นวิธีหนึ่งที่ผู้ต้องการข้อมูลสามารถนามาใช้เพื่อเก็บข้อมูลโดยดูจากพฤติกรรมการใช้สื่อที่มีมาแต่เดิม
3. การใช้แบบสอบถาม เป็นการสารวจที่ได้รายละเอียดมากกว่าแบบอื่นๆ

• ขั้นตอนที่ 4 เป็นขั้นการจัดหา โดยนาข้อมูลที่ได้มาจากความต้องการแล้วทาเป็นโครงการสั้นๆ หรือโครงการระยะยาวเพื่อวางแผนในเรื่องงบประมาณในการจัดหาต่อไป ในการจัดซื้อผู้เกี่ยวข้องต้องพิจารณาตามลาดับความสาคัญของผู้ใช้โดยจัดซื้อเฉพาะสื่อที่มีคุณภาพ ประหยัดงบประมาณ ก่อนจัดซื้อสื่ออะไรมาไว้บริการจะต้องมีการประเมินค่าสื่อนั้น โดยคณะกรรมการประเมินค่าสื่อเพื่อพิจารณาว่าสื่อหรือวัสดุอุปกรณ์มีคุณค่าต่อการเรียนการสอนมากน้อยเพียงไร มีข้อดีและข้อจากัดอย่างไรเพื่อให้การจัดซื้อจัดหาสื่อมาไว้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อเกิดประโยชน์อย่างเต็มที่

5. อธิบายวิธีการจัดซื้อจัดหาวัสดุครุภัณฑ์เพื่อมาใช้ในกิจกรรมและบริการ ท่านมีหลักเกณฑ์สาคัญ อะไรบ้าง
ตอบ
1. ความคงทน(Ruggedness) โดยพิจารณาถึงวัสดุที่ประกอบเป็นตัวเครื่องให้ความคงทนแข็งแรง ไม่แตกหักง่าย
2. ความสะดวกในการใช้งาน (Ease of Operation) โดยพิจารณาถึงการควบคุม การบังคับกลไกไม่ซับซ้อนจนเกินไปหรือมีปุ่มต่างๆมากมายเกินไป
3. ความกะทัดรัด (Portability) โดยพิจารณาถึงขนาดของตัวเครื่อง น้าหนัก ความสะดวกในการเก็บและเคลื่อนย้าย
4. คุณภาพของเครื่อง(Quality of Peration) เป็นการพิจารณาเกี่ยวกับมาตรฐานที่ประกอบรวมกันเป็นไปตามคุณสมบัติต้องการใช้งานเพียงใด
5. การออกแบบ (Design) เป็นการพิจารณาเกี่ยวกับรูปลักษณ์ว่าสวยงามมีความทันสมัย การติดตั้งอุปกรณ์ประกอบออกแบบให้ใช้ได้ง่าย
6. ความปลอดภัย (Safety) เป็นการพิจารณาว่ามีส่วนใดส่วนหนึ่งที่น่าจะเกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายได้ง่ายขณะใช้งาน
7. ความสะดวกในการบารุงรักษาละซ่อมแซม (Ease of Maitenance and Repair) เป็นการพิจารณาว่ามีส่วนประกอบใดที่ยุ่งยากต่อการซ่อมแซมหรือมีความยากลาบากในการดูแลรักษาหรือมีส่วนประกอบที่เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงเมื่อชารุดแล้วไม่สามารถซ่อมแซมได้เลย
8. ราคา (Cost) ในการจัดซื้อจัดหาวัสดุอุปกรณ์มาใช้หรือเพื่อบริการควรคานึงถึงราคาซึ่งไม่แพงเกินไปที่สาคัญพิจารณาถึงความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการใช้งานแล้วจึงนาไปเปรียบเทียบกับยี่ห้ออื่น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดเหมาะสมกับราคาและคุณภาพของเครื่องมืออุปกรณ์นั้น
9. ชื่อเสียงของบริษัทผู้ผลิต(Reputation of Manufacturer) การพิจารณาบริษัทผู้ผลิตเพื่อจะได้ทราบว่าวัสดุอุปกรณ์ที่ซื้อนั้นมีจานวนและรุ่นที่ผลิตออกมามากน้อยพียงใด หากเป็นบริษัทที่มั่นคงมีชื่อเสียงจะเห็นได้ว่ามีระบบการผลิต ระบบการจัดการอื่นๆ ที่ได้มาตรฐาน ทาให้วัสดุอุปกรณ์มีคุณภาพและน่าเชื่อถือ
10. การบริการซ่อมแซม (Available Service) อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ควรเป็นแบบที่สามารถซ่อมแซมได้ง่าย รวดเร็วและมีบริการดูแลบารุงรักษาที่เอาใจใส่ดูแลบารุงสม่าเสมอและมีอะไหล่สารองไว้เพียงพอหรือเมื่อมีปัญหาทางบริษัทสามารถแก้ปัญหาให้รวดเร็ว

6. การบริหารบุคคล หมายถึงอะไร
ตอบ
ศิลปะในการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้ามาทางานในองค์การ มอบหมายงาน พัฒนาบุคคลและให้พ้นจากงาน โดยคานึงถึงประสิทธิภาพของเป้าหมายหรือบริการของศูนย์ฯ หรือหน่วยงานเป็นสำคัญ

7. หลักการบริหารงานบุคคลมีกี่ระบบอะไรบ้าง
ตอบ
หลักในการบริหารงานบุคคล แบ่งเป็น 2 ระบบคือ
1. ระบบคุณธรรม Merit System ใช้หลักเกณฑ์
1.1 หลักความเสมอภาค เช่น มีสิทธิสอบได้ทุก
1.2 หลักความสามารถ เช่น คัดเลือกผู้มีความสามารถสูงไว้ก่อน
1.3 หลักความมั่นคง เช่น ถ้าไม่ผิดวินัย ก็ไม่ถูกลงโทษให้ออก อยู่จนเกษียณ
1.4 หลักความเป็นกลางทางการเมือง เช้า ห้ามข้าราชการเป็นกรรมการบริษัท
2. ระบบอุปถัมภ์ Patronage System ยึดถือพวกพ้อง เครือญาติ หรือผู้มีอุปการะคุณ

8. การจำแนกตำแหน่งได้กี่ประเภท
ตอบ
การจำแนกตำแหน่งงานแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1.จำแนกตำแหน่งตามลักษณะตำแหน่ง Position Classification เป็นการจำแนกตำแหน่งโดยถือลักษณะความรับผิดชอบของตำแหน่งเป็นสาคัญ เช่น กลุ่มเจ้าหน้าที่ธุรการ การเงิน นิติกร วิศวกร เป็นต้น
2.การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะยศ Rank Classification เป็นการจำแนกตำแหน่งตามตำแหน่งที่ประกอบ กับชั้นยศ ใช้กับทหาร ตำรวจ
3. การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะชั้นยศทางวิชาการ Academic Rank Classification จำแนกตามคุณลักษณะความเชี่ยวชาญ วิชาการ เช่น ครู อาจารย์

9. ขั้นตอนของกระบวนการวางแผนกำลังคนได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ
1. ศึกษานโยบายและแผนงานขององค์การ
2. การตวรสภาพคน
3. การพยากรณ์กำลังคน
4. การเตรียมคนสำหรับอนาคต

10. การวางแผนกำลังคนที่ดีต้องทราบอะไรบ้าง
ตอบ
1. ภาระงาน Workload หน้าที่ความรับผิดชอบชั่วโมงงาน
2. การออกแบบงาน Job Design เป็นการออกแบบโครงสร้างงานต่างๆ ทั้งองค์การว่ามีกลุ่มงานอะไรบ้าง
3. การวิเคราะห์งาน Job Analysis วิเคราะห์งานแต่ละตำแหน่ง กำหนดคุณลักษณะที่จำเป็นแต่ละตำแหน่ง เช่น ความสำคัญของงาน ระดับความเป็นอิสระ ตัวบ่งชี้ผลลัพธ์ของงาน ความรู้ความสามารถและทักษะที่จำเป็น เพื่อกำหนดรายละเอียดของตำแหน่ง Job Description และคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง Job Specification
4. รายละเอียดของตาแหน่งงาน Job Description เป็นการกำหนดชื่อตำแหน่งงานที่ต้องปฏิบัติ
5. คุณสมบัติเฉพาะตาแหน่ง Job Specification เป็นการกำหนดรายละเอียดในตำแหน่งลึกลงไปอีก
6. การทำให้งานมีความหมาย Job Enrichment เป็นวิธีการจูงใจและพัฒนาบุคลากรให้เกิดความพึงพอใจในการทำงาน (จิ๋วแต่แจ๋ว, เล็กดีรสโต) (Job Enlargement) เล็ก ๆ มิต้าไม่ ใหญ่ ๆ มิต้าทำ

11. บุคลากรด้านทรัพยากรการเรียนรู้มีกี่ประเภท
ตอบ
บุคลการด้านทรัพยากรการเรียนรู้มี 3 ประเภท ได้แก่
1. ด้านบริหาร โดยต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมายและภารกิจต่างๆ ให้ครอบคลุมงานหรือสิ่งที่ต้องทำ การจัดดำเนินงาน การจัดบุคลากร การนิเทศ การติดต่อประสานงาน การทำงบประมาณ การกำหนดมาตรฐานของงานเพื่อให้หน่วยงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
2. ด้านการบริการ เป็นภารกิจของศูนย์สื่อการศึกษาที่นำโครงการต่างๆออกสู่ กลุ่มเป้าหมาย เช่น บริการด้านการจัดหาสื่อ บริการด้านการใช้สื่อ ด้านการบำรุงรักษา ด้านการให้คำปรึกษา ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องปฏิบัติการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นต้น ซึ่งแนวทางในการกำหนดภารกิจด้านบริการควรสะท้อนปรัชญาที่ยึดความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก
3. บุคลากรด้านการผลิตสื่อ



วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บันทึกกิจกรรมการเรียนสัปดาห์ที่ 5 (E-Learning)

ชื่อ นางสาว วาสนา อินต๊ะศรี รหัส 52041115
วิชา 423312 Learning Resources Center Managemen
กลุ่ม 2 วันพฤหัสบดี 09-12.00น.






แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 3-4-5 รายวิชา 423312 Learning Resources Center Management
คำสั่ง ให้นิสิตเขียนอธิบายคำตอบตามเงื่อนไขต่อไปนี้ (10 คะแนน)
งานเดี่ยว : 1. ให้พิมพ์คำตอบลงใน MS.word และแนบไฟล์ส่ง และ Weblog
2. กำหนดส่งทาง e-Learning ภายในเวลาที่กำหนด โดยไฟล์ต้องมีขนาดไม่เกิน 8 MB
3. บันทึกลงใน Weblog ไม่เกินเวลา 23.55 น. ของวันที่ 16 ธันวาคม 2554






-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------






1. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ถ้าแบ่งตามกลุ่มเป้าหมายของระบบการศึกษาได้กี่ประเภท อะไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ แบ่งตามกลุ่มเป้าหมายของระบบการศึกษาได้ 3 ประเภท ดังนี้
1.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียน คือ หน่วยงานที่สนับสนุนการเรียนการสอนทั้งสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ซึ่งมีการดำเนินการได้หลายลักษณะและมีชื่อเรียกต่างกัน ทั้งศูนย์วัสดุการเรียน, ศูนย์โสตทัศน์และห้องสมุด, ศูนย์วัสดุอุปกรณ์การศึกษา ศูนย์สื่อการสอน, ศูนย์โสตทัศนวัสดุ, ศูนย์วัสดุการสอนหรือศูนย์วัสดุการศึกษา ศูนย์โสตทัศนูปกรณ์ หรือหน่วยบริการโสตทัศนูปกรณ์, สำนักเทคโนโลยีการศึกษา, ศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา เป็นต้น

2.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษานอกระบบ คือ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ที่มีเป้าหมายโดยมุ่งการให้บริการกับผู้เรียนที่มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนได้รับความรู้ด้านพื้นฐาน ทักษะในการประกอบอาชีพ และทักษะที่จำเป็นสำหรับความรู้ด้านอื่นๆ เป็นฐานในการดำรงชีวิต เช่น ศูนย์ฝึกอาชีพ, ศูนย์การเรียน เป็นต้น

3.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย คือ ศูนย์รวมและให้บริการความรู้โดยมุ่งให้กลุ่มเป้าหมายได้ศึกษาจากประสบการณ์การทำงาน บุคคล ครอบครัว สื่อมวลชน ชุมชน แหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เป็นต้น


2. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ
•ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียน นั้นเป็นหน่วยงานที่คอยสนับสนุนการเรียนการสอนทั้งทางสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ซึ่งสามารถดำเนินการได้หลายลักษณะและมีชื่อเรียกต่างกัน

•ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษานอกระบบ เป็นศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ที่มีเป้าหมายโดยมุ่งการให้บริการกับผู้เรียนที่มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนได้รับความรู้ด้านพื้นฐาน ทักษะในการประกอบอาชีพ และทักษะที่จำเป็นสำหรับความรู้ด้านอื่นๆ เป็นฐานในการดำรงชีวิต

•ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย คือ ศูนย์รวมและให้บริการความรู้โดยมุ่งให้กลุ่มเป้าหมายได้ศึกษาจากประสบการณ์การทำงาน บุคคล ครอบครัว สื่อมวลชน ชุมชน แหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต

3. ให้นิสิตหาตัวอย่างศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ประเภท ละ 3 ศูนย์ พร้อมบอกสถานที่ตั้ง และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์นั้น ๆ พร้อมแหล่งอ้างอิง
ตอบ
1.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียน
•สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา
สถานที่ตั้ง : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ต.แสนสุขอ.เมือง จ. ชลบุรี 20131
กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนและนิสิตทั่วไป
แหล่งอ้างอิง : http://www.lib.buu.ac.th/
•สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถานที่ตั้ง : สำนักหอสมุด มหาวิทยลัยเกษตรศาสตร์ เลขที่ 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2579-0113, 0-2942-8500-11 ติดต่อผู้ดูแลระบบ : www@ku.ac.th
กลุ่มเป้าหมาย :ประชาชนและนิสิตทั่วไป
แหล่งอ้างอิง : http://kulibrary.org/
•ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถานที่ตั้ง : ถนนพญาไท ปทุมวัน กรุงเทพ 10330
กลุ่มเป้าหมาย : บุคคลทั่วไปที่สนใจ
แหล่งอ้างอิง : http://www.car.chula.ac.th/aboutus/

2.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษานอกระบบ
•ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตวัฒนา
สถานที่ตั้ง : 446/4-5 ซ.ปรีดีพนมยงค์ 20/1 ถ.สุขุมวิท71 แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110
โทร 02-3918120 mail : watthana@bkk1.nfe.go.th
กลุ่มเป้าหมาย :ประชากรวัยแรงงาน
แหล่งอ้างอิง : http://www.ksnwattana.nlern.com
•ศูนย์ฝึกอาชีพเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ครบ 36พรรษา
สถานที่ตั้ง : เลขที่ 104 ม.3 ต.บางละมุง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี 20150
โทรศัพท์ 0-3824-1072 โทรสาร. 0-3824-1766
อีเมล์ info@svtc.go.th
กลุ่มเป้าหมาย : เยาวชน - ประชาชน ที่มีอายุตั้งแต่ ๑๔ - ๓๕ ปีขึ้นไป ที่มีฐานะยากจนขาดแคลน และผู้ ว่างงานต้องการฝึกอาชีพ เพื่อเป็นรายได้เสริมให้แก่ครอบครัว
แหล่งอ้างอิง : http://www.svtc.go.th

•ศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยรามคำแหง (หัวหมาก)
สถานที่ตั้ง : มหาวิทยาลัยรามคำแหง ฝ่ายพัฒนาชุมชนฯ สำนักงานเขตบางกะปิ โทร.02369-2823-4
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ว่างงานและประชาชนทั่วไป
แหล่งอ้างอิง : http://www.info.ru.ac.th/20021220-113729/index.htm

3.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย
•พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำบางแสน สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
สถานที่ตั้ง : สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
โทรศัพท์ : 0-3839-1671-3แฟ็กซ์:0-3839-1674
กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนทั่วไป
แหล่งอ้างอิง : http://www.bims.buu.ac.th/j3/index.php/2011-01-14-08-38-52
•สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
สถานที่ตั้ง : เลขที่ 4 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ 02 225 2777 โทรสาร 02 225 2775 อีเมล webmaster@ndmi.or.t
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ คนไทย ประกอบด้วยเด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป กลุ่มเป้าหมายรอง คือ คนต่างประเทศ นักท่องเที่ยว
แหล่งอ้างอิง : http://www.ndmi.or.th/
•พิพิธภัณฑ์ล้านของเล่นเกริกยุ้นพันธ์
สถานที่ตั้ง : 45 หมู่ 2 ถ.อู่ทอง ต. ท่าวาสุกรี อ. เมืองพระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา
กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนทั่วไป
แหล่งอ้างอิง : http://www.milliontoymuseum.com/thai_news.html



4. ให้นิสิตแต่ละคน หาตัวอย่างของศูนย์สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัยมา คนละ 1 ศูนย์ โดยต้องอธิบายดังรายละเอียดต่อไปนี้

4.1นโยบาย ของศูนย์ วิสัยทัศน์ และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์ (สถาบันพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ)
เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ให้ความรู้เรื่องความเป็นมาของ บ้านเมือง จนมาเป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เพื่อก่อเกิดการเรียนรู้ สร้างสำนึกรักบ้านเมืองและท้องถิ่นของตน รวมทั้งเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในลักษณะ"เครือญาติ" กับประเทศเพื่อนบ้านอันเป็นองค์ความรู้ที่นำไปสู่ความมั่นคงและสันติภาพใน ภูมิภาค
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ คนไทย ประกอบด้วยเด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป กลุ่มเป้าหมายรอง คือ คนต่างประเทศ นักท่องเที่ยว
4.2แหล่งที่มาของศูนย์ ( สถาบันพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ)
รัฐบาลมีภารกิจที่สำคัญ คือ การทำให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ทำให้คนไทยมี คุณภาพด้วยการที่สามารถแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ด้วยตนเองได้ตลอดเวลา ดังนั้นสังคมจึงควรมีแหล่งที่จะแสวงหาความรู้ที่มีความหลากหลายในรูปแบบและ เนื้อหา ในประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนมากจะมีแหล่งแสวงหาความรู้สำหรับคนในแต่ละช่วงวัย และมีความสนใจต่างๆ โดยมีทั้งห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ศูนย์วัฒนธรรม ศูนย์นันทนาการและกีฬา โรงละคร หอศิลป์ และสถานที่แสดงดนตรี รวมทั้งสนับสนุนให้ ชุมชนมีกิจกรรมเพื่อการเติบโตของความรู้ สติปัญญา และความงอกงามของจิตใจ สำหรับประเทศไทยซึ่งจำเป็นต้องขยายโอกาสทางการศึกษา ด้วยสถาบันใหม่ที่จะมารองรับการศึกษายุคปฏิรูปให้ทันกับโลกยุคการเรียนรู้ แบบไร้ขีดจำกัด (school without walls) เพราะคุณภาพชีวิตของคนรุ่นใหม่ให้คุณค่าต่อการศึกษาเรียนรู้ ที่ทำให้สามารถเข้าใจโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สามารถเข้าใจปัญหาที่เผชิญหน้าควบคู่ไปกับความเพลิดเพลิน ประเทศจึงต้องการ "พิพิธภัณฑ์" ในฐานะที่เป็นสถาบันใหม่ที่สะท้อนความมั่นคงของสังคม วัฒนธรรม ลักษณะเฉพาะตน และความภาคภูมิใจในสังคมของตน
4.3แผนการดำเนินงาน (ถ้ามี) (สถาบันพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ)
•ลักษณะของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติของประเทศไทย
เป็นพิพิธภัณฑ์ชั้นนำที่ทันสมัย มีแนวคิดในการนำเสนอที่ใช้แนวคิดเชิง Thematic approach คือ การนำเสนอแก่นเรื่องราวแทนการเน้นแต่วัตถุ ( object - based ) แบบสมัยก่อน เน้นการเรียนรู้ที่เข้าถึงผู้ชม ทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยไม่จำกัดเพศ-วัย คุณวุฒิและฐานะทางสังคม มีการใช้แนวคิดแบบ Interactive approach เพื่อสร้าง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ชมและสิ่งแสดง พิจารณาเลือกใช้สื่อหลายประเภท ( multi-medium for the exhibition ) เพื่อเสริมสร้างความรู้และบรรยากาศในการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย มีทั้งการจัดแสดงแบบถาวร และแบบหมุนเวียน มีกิจกรรม และกระบวนการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องเพื่อสร้างความมีชีวิตให้แก่พิพิธภัณฑ์ พื้นที่ทางกายภาพเป็น Complex Museum ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มอาคารที่ตอบสนองต่อการใช้งาน และการจัดแสดงที่หลากหลาย มีการศึกษาวิจัยต่อเนื่อง เพิ่มพูนองค์ความรู้แก่คลังความรู้ของประเทศชาติ เชื่อมโยงแขนงความรู้สากล กับ ภูมิปัญญาไทย มีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ คล่องตัว และทันสมัย เปิดโอกาสแก่การมีส่วนร่วมของประชาชน นักวิชาการ ชุมชนและสังคม อย่างกว้างขวาง มีส่วนอำนวยความสะดวกครบถ้วน

•แนวการนำเสนอเนื้อหา
เน้นการนำเสนอเนื้อหาเชิงบูรณาการ เพื่อให้ครอบคลุมองค์ความรู้ ทั้งด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา โบราณคดี ชาติพันธุ์วิทยา สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี และศิลปกรรมศาสตร์ ฯลฯ ใช้งานวิจัยเป็นพื้นฐานในการสร้างเนื้อหา ในการรวบรวมเนื้อหาใช้การศึกษา วิเคราะห์ จัดลำดับความคิด เพื่อสร้าง"แก่นเรื่องรวม" ( theme ) ให้ครอบคลุมเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ โดยใช้ทักษะของการเล่าเรื่อง(story telling) เริ่มตั้งแต่การปูพื้น เกริ่นนำ การเดินเรื่อง การสร้างจุดเน้น การสรุปและการนำความคิดไปสร้างจินตภาพให้เห็นรูปลักษณ์ของนิทรรศการโดยรวม แบ่งเนื้อหาออกเป็นประเด็นต่างๆ แต่ละประเด็นคำนึงถึง Context เพื่อสร้างความตระหนักรู้ จุดประกายให้เกิดความใฝ่รู้ ง่ายต่อการเรียนรู้ และความเข้าใจ ง่ายต่อการจดจำ และนำไปคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง

•เนื้อหาการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
เป็น complex museum ที่นำเสนอเนื้อหาเชิงบูรณาการ ประกอบด้วย 4 พิพิธภัณฑ์ โดยมีแก่นเรื่องรวมกลางของเนื้อหาทั้งหมดวางอยู่บน Theme " ความเป็นมาของผู้คนและดินแดนในประเทศไทย" แสดงภูมิศาสตร์และนิเวศวิทยาของประเทศไทยในภูมิภาคที่เกื้อกูลให้เกิดผลดีนานัปการ ทั้งด้านการเกษตร การค้าอันอุดมสมบูรณ์มาแต่โบราณ แสดงความหลากหลายของทั้งสภาพแวดล้อมทางชีวภาพและ ความหลากหลายของชาติพันธุ์ในภูมิภาคที่ก่อให้เกิดวัฒนธรรมระบบความเชื่อ และวิถีปฏิบัติที่หลากหลาย และการเชื่อมโยงประสมประสานในภูมิภาค แสดงถึงศักยภาพและความสามารถของผู้คน ที่อยู่ในประเทศไทย ที่พัฒนาเป็นคุณลักษณะ " คนไทย" ขึ้นจากการปรับตัวในพื้นที่กึ่งกลาง ได้อย่างสมดุลและชาญฉลาด ก่อเกิดความมั่นคงและสันติสุข รวมทั้งการพัฒนาภูมิปัญญา สร้างสรรค์เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาโดยตลอด และเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้าสู่อนาคตที่ไร้พรมแดน จากแก่นเรื่องรวมดังกล่าวข้างต้นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ จึงประกอบด้วยเนื้อหาส่วนต่างๆ


5. ให้นิสิตแต่ละคนหาตัวอย่างผังโครงสร้างของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ มาคนละ 2 ผังโครงสร้าง พร้อมเขียนอธิบายดังนี้
5.1 แหล่งอ้างอิงของโครงสร้างศูนย์
5.2 โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด เพราะเหตุใด



•ผังโครงสร้างของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ผังที่ 1 (ศูนย์ฝึกอาชีพเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ครบ 36พรรษา)

-แหล่งอ้างอิงโครงสร้างศูนย์
http://www.svtc.go.th/th/about.php

-โครงสร้างดังกล่าวเป็นโครงสร้างประเภทใด เพราะเหตุใด
แบบ Line Organization เพราะ เป็นรูปแบบการจัดครงสร้างตามงานที่รับผิดชอบในอำนาจหน้าที่กันเป็นขั้นๆ จากระดับสูงสุดไปจนกระทั่งต่ำสุด




•ผังโครงสร้างของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ผังที่ 2 (สวนพฤกษศาสตร์)

-แหล่งอ้างอิงโครงสร้างศูนย์
http://www.qsbg.org/mainpage.asp เข้าถึง http://www.qsbg.org/Doc/chartQSBG2011.jpg

-โครงสร้างดังกล่าวเป็นโครงสร้างประเภทใด เพราะเหตุใด
แบบ Line Organization เพราะ เป็นรูปแบบการจัดครงสร้างตามงานที่รับผิดชอบในอำนาจหน้าที่กันเป็นขั้นๆ จากระดับสูงสุดไปจนกระทั่งต่ำสุด

******สามารถดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้ที่http://www.mediafire.com/?ji9sii2rwav8ir4******

--------------------------

บันทึกกิจกรรมการเรียนสัปดาห์ที่ 4 ( กระบวนการวิเคราะห์ SWOT)

การวิเคราะห์สวอต
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี





แผนภูมิการวิเคราะห์แบบSWOT
การวิเคราะห์สวอต (อังกฤษ: SWOT Analysis) หรือในชื่อไทยชื่ออื่นเช่น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ หรือ การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ สำหรับองค์กร หรือโครงการ ซึ่งช่วยผู้บริหารกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบที่มีศักยภาพจากปัจจัยเหล่านี้ต่อการทำงานขององค์กร
เทคนิคนี้ อัลเบิร์ต ฮัมฟรี (Albert Humphrey) ได้ชื่อว่าเป็นผู้เริ่มแนวคิดนี้โดยนำเทคนิคนี้มาแสดงในงานสัมมนาที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด




ความหมาย SWOT
คำว่า "สวอต" หรือ "SWOT" นั้นมาจากตัวย่อภาษาอังกฤษ 4 ตัว ได้แก่

S มาจาก Strengths หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท เช่น จุดแข็งด้านส่วนประสม จุดแข็งด้านการเงิน จุดแข็งด้านการผลิต จุดแข็งด้านทรัพยากรบุคคล บริษัทจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด

W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ของบริษัท ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการแก้ปัญหานั้น

O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการดำเนินงานขององค์กร โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน นักการตลาดที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น

T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรค ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งธุรกิจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้จริง




อ้างอิง

Armstrong.M Management Processes and Functions, 1996, London CIPD ISBN 0-85292-438-0

บันทึกกิจกรรมการเรียนสัปดาห์ที่ 3 (ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้:สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา)


การจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้:สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา
ศูนย์การจัดการทรัพยากรการเรียนรู้ หอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา ชั้น 1
การจัดการวางฝ่ายงานที่รับผิดชอบจะแบ่งออกเป็น 3 ฝ่ายดังนี้
1.ฝ่ายวิเคราะห์/พัฒนาทรัพยากร สารสนเทศ
2. ฝ่ายซ่อมบำรุง/ซ่อมบำรุงหนังสือเก่า
3. ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

บุคลากรที่รับผิดชอบฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
มีจำนวนทั้งหมด 10 คน โดยมีนางวันทนา กิติศรีวรพันธุ์ เป็นหัวหน้าฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

บุคลากรที่รับผิดชอบฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
มีจำนวนทั้งหมด 11 คน โดยมีนางรัศมี ปานดิษฐ์ เป็นหัวหน้าฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

บุคลากรที่รับผิดชอบฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
มีจำนวนทั้งหมด 4 คน โดยมีนายเฉลิมเกียรติ ดีสม เป็นหัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
การบริการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ จะทำการรวบรวมหมวดหนังสือ ทำการ Scan หนังสือแต่ละเล่มเพื่อทำการ download ผ่านทางระบบ internet ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ฝ่ายต่าง ๆ ดูแลระบบเครือข่าย จัดการฐานข้อมูล ตลอดจนแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โปรแกรมและเครือข่าย เพื่อให้ฝ่ายต่าง ๆ สามารถใช้เทคโนโลยีในการดำเนินงานและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่ผู้ปฏิบัติงาน ให้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
การบริการฝ่ายวิเคราะห์จะจัดทำหมวดหมู่หนังสือและเลขเรียกหนังสือ จากนั้นนำไปติดกับหนังสือโดยใช้สติกเกอร์และวิเคราะห์ข้อมูลภายในหนังสือ จากฝ่ายจัดหาทรัพยากรทรัพยากรสารสนเทศจะส่งมาฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ การจัดหมวดหมู่มาจัดที่นี่ เอาข้อมูลมาลงฐานข้อมูล ฝ่ายลงรายละเอียดบรรณานุกรม ลงหัวเรื่อง ทำหมวดหมู่และสันหนังสือ หลังจากที่บันทึกข้อมูลเรียบร้อยแล้วก็จะมาทำสัน เลขเรียกหนังสือที่บรรณารักษ์ส่งมาจะปริ้นใส่กระดาษมาติด เรียบร้อยแล้วจัดทำรายการส่งขึ้นไปฐานข้อมูล ที่เราสามารถไปสืบค้นได้ ใน WEB OPAC

ฝ่ายซ่อมบำรุง
ส่วนงานของฝ่ายซ่อมบำรุงนั้นทำหน้าที่เสริมหนังสือให้มีความหนาเพื่อให้แข็งแรงและง่ายต่อการจัดวาง และประทับตราหนังสือทุกเล่ม ซึ่งการเสริมปกหนังสือนั้นเกิดขึ้นมาจากปัญหาการวางหนังสือในชั้นวาง โดยเมื่อก่อนไม่มีการเสริมปกทำให้เวลาดึงหนังสือออกจากชั้นอาจเกิดการล้มหรือเอียงได้ ทำให้เกิดการเสริมความแข็งแรงของปกมากขึ้น

ข้อดีของการเสริมปกหนังสือ
1. ทำให้หนังสือไม่ฉีกขาดง่าย คงทนแข็งแรง
2. ต้นทุนน้อยเพราะมีค่าใช้จ่ายไม่ถึงสามบาท
3. ทำให้เวลาเก็บหนังสือไว้บนชั้นแล้วจะไม่ล้มง่าย ๆ

ห้องซ่อมบำรุงหนังสือเก่า
จะทำหน้าที่ซ่อมแซมบำรุงหนังสือเก่าให้มีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น จะมีการเข้าเล่มหนังสือที่ชำรุด มีขั้นตอนและกระบวนการอย่างเป็นระบบ โดยการเข้าเล่มแบบปกแข็งแต่ตัวเนื้อหาหนังสือยังคงเดิม หนังสือที่ทำเสร็จแล้วของห้องนี้จะมีความแข็งแรงกว่าห้องแรก เวลาที่มีการส่งมาซ่อมบำรุงจะมาโดยมัดรวมกันมา แต่ถ้าเกิดมีความต้องการใช้หนังสือด่วนทางฝ่ายซ่อมบำรุงหนังสือเก่าจะทำการซ่อมให้ทันที ซึ่งใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 1 ชั่วโมง แต่หากด่วนมากจริง ๆ ก็สามารถซ่อมได้ภายในครึ่งชั่วโมง โดยผู้ใช้บริการสามารถนำไปใช้ได้เลย หนังสือที่ส่งมาขั้นแรกจะทำการแยกทำความสะอาดหนังสือเพื่อเตรียมให้พร้อมสำหรับขั้นตอนต่อไป โดยจัดเป็นชุดเป็นรายการ เพื่อรู้ว่าหนังสือมาจากชุดที่เท่าไหร่และจะไม่เกิดปัญหาตอนรวมภายหลัง ขั้นต่อมาจะมีการเตรียมปก กระดาษหุ้มปก และเตรียมไว้เป็นชุด ๆ เพื่อให้คนต่อไปสามารถเข้าเล่มได้เลย ส่วนขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นการทำหน้าปก ทำบาร์โค้ด สำหรับหน้าปกที่ต้องพิมพ์ใหม่ และเช็คจำนวน ในหนึ่งวันจะสามารถทำการซ่อมบำรุงได้ประมาณ 12 เล่มหรือมากกว่านั้น

โครงการอนุรักษ์ใบลานและสมุดข่อย
เป็นโครงการอนุรักษ์ใบลานและสมุดข่ายจากวัดชื่อดังต่าง ๆ ซึ่งสมุดข่อยที่ได้มานั้นมักมาจากตามวัดเก่าแก่ มีอายุมากกว่า 100 ปี โดยเมื่อก่อนจะมีการจัดทำพิธีโดยการเชิญพระจากวัดต่าง ๆ มาเข้าร่วมในช่วงงานสัปดาห์ห้องสมุด วิธีการซ่อมแซมและดูแลรักษา มีการคือการใช้กาวและกระดาษสาในการซ่อมแซม และในส่วนของการดูแลรักษาจะมีการใช้ยาฆ่าแมลงและน้ำมันตระไคร้

ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการให้บริการ
1. หนังสือจะเข้ามาเป็นจำนวนมากทั้งหนังสือใหม่และหนังสือที่ต้องซ่อมแซม ซึ่งบางครั้งจะทำให้งานล่าช้า แต่ในการจัดทำ แต่ละฝ่ายจะมีการจัดการแผนงาน วางระบบอย่างเป็นขั้นตอนมีการแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบทำให้ไม่เกิดปัญหาในการทำงานมากนัก

บันทึกกิจกรรมการเรียนสัปดาห์ที่ 2 (สำนักหอสมุดชั้น 6)

พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง แห่งนี้ เป็น พิพิธภัณฑ์ ที่จัดแสดง หุ่นขี้ผึ้ง ที่หล่อจาก ไฟเบอร์กลาส แห่งแรกของประเทศไทย เกิดจากแรงดลใจของ ผู้สร้างสรรค์กลุ่มหนึ่ง ซึ่งนำโดย อ.ดวงแก้ว พิทยากรศิลป์ มีวัตถุประสงค์ ในอันที่จะส่งเสริม เผยแพร่ อนุรักษ์ไว้ซึ่ง ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของไทย อันจะเป็นประโยชน์ ในการศึกษาค้นคว้าของเยาวชนสืบไปการจัดแสดงจะจัดหุ่นไว้เป็นชุด ๆ อาทิเช่น ชุดพระบรมรูปอดีตพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี ชุดพระอริยสงฆ์ ชุดสมเด็จพระปิยมหาราชกับการเลิกทาส ฯลฯ หุ่นแต่ละรูปนั้นจะมีลักษณะเหมือนคนจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผิว ดวงตา แขน เส้นผม

โซนแรกคือห้องจัดแสดงพระอริยสงฆ์ ซึ่งได้แก่ พระครูภาวนารังษี, พระธรรมญาณมุนี, พระโพธิญาณเถร, ครูบาชัยวงศาพัฒนา, หลวงจีนคณาณัติจีนพรต, พระมงคลเทพมุนี, พระราชสังวราภิมณฑ์, พระสุพรหมยานเถร, พระนิโรธรังสีคัมภีร์ปัญญาจารย์, หลวงพ่อเกษม, สมเด็จพระพุฒาจารย์, พระครูวิมลคุณากร, พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์, พระอาจารย์มั่น, ครูบาศรีวิชัย ปั้นได้เหมือนจริงมาก


ห้องแสดงต่อไปซึ่งถือเป็นไฮไลด์ของที่นี่ ห้องจัดแสดงพระบรมรูปอดีตพระมหากษัตริย์พระบรมราชจักรีวงค์ รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 8 ล่ะ ห้องจัดแสดงต่อไป เป็นห้องจัดแสดงพระบรมรูปสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราช ชนนี สมเด็จย่าแม่ฟ้าหลวงของปวงชนชาวไทยนั่นเอง ภายในห้องนี้ประกอบไปด้วยประราชประวัติและ พระกรณียกิจต่างๆ และภาพงานพระราชพิธีสุดท้าย



ห้องจัดแสดงต่อไป เป็นห้องหุ่นชุดครอบครัวไทย เป็นห้องแสดงสุดท้ายสำหรับห้องจัดแสดงชั้นล่าง ซึ่งเดินไป เดินมาจะมาออกที่ ด้านหน้าทางเข้า พวกเราก็เดินขึ้นชั้นสองกันต่อ ซึ่งห้องจัดแสดงชั้นบนแรกสุดจะเป็นการ จัดแสดงชุด 3 ครูไทยได้แก่ ครูจวงจันทร์ จันทร์คณา (บรมครูพรานบูรพ์) ครูเอื้อ สุนทรสนาน ครูไพบูลย์


เดินเข้าไปตามทางเดินเรื่อยๆ ห้องแสดงหุ่นชุดต่อไปคือ ชุด 3 บุคคลสำคัญของโลก ซึ่งได้แก่ มหาตมา คานธี, อับราฮัม ลินคอล์น, เซอร์ วินสตัน เชอรชิล เป็นต้น คานธีเป็นนักการเมืองที่ได้ต่อสู้เพื่ออิสรภาพของประเทศ จากการปกครองของอังกฤษทำให้โลก ต้องจดจำคานธี ผู้ซึ่งได้รับการขนานนามว่า "มหาตมา" แปลว่า ผู้มีจิตใจ สูงส่ง เป็นบิดาแห่งประชาชนชาติอินเดีย อับราฮัม ลินคอล์น ผู้ปลดปล่อยทาสของสหรัฐอเมริกา "รัฐบาลของ ประชาชนโดย "เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล เป็นวีรบุรุษ ผู้ยิ่งใหญ่ของอังกฤษ ซึ่งทั้งสามท่านมีบทบาททางด้านการเมืองในแต่ละประเทศ โดยส่วนตัวแล้ว เราเองเป็น คนที่ไม่ค่อยมีความรู้


ห้องจัดแสดงชุดต่อไปเป็นชุดวัฒนธรรมประเพณีไทย เรื่องการละเล่นของไทย ได้แก่ การเล่นรีรีข้าวสาร การเล่น แมงมุม การเล่นจ้ำจี้ การเล่นขี่ม้าช้างชนกัน และการเล่นหัวล้านชนกันห้องต่อไปที่ดูเหมือนจะได้รับความสนใจ จากเด็กๆ ก็เห็นจะเป็นชุดวรรณคดีไทย เรื่อง พระอภัยมณีของสุนทรภู่นี่ล่ะ ห้องนี้เหมือนห้องรวมดาววรรณคดี สุนทรภู่เลยล่ะสุนทรภู่กวีเอกของโลก มีชื่อเสียงในด้านสำนวนกลอนเป็นที่เลืองลือจนได้รับการยกย่องว่าเป็น บรมครูกลอนแปด และได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นกวีที่มีจินตนาการกว้างไกล สร้างโครงเรื่องและเนื้อหา ของ นิทานได้น่าสนใจ และชวนติดตามสุนทรภู่ได้รับประกาศเกียรติคุณให้เป็นกวีของโลก จากองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม

ห้องจัดแสดงชุดสุดท้ายที่ดูเหมือนจะเป็นโซนไฮไลด์ของชั้นบนก็คงจะเป็นชุดเลิกทาส "Slavery in Thailand" ทาสในเรือนเบี้ย






วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บันทึกกิจกรรมการเรียนสัปดาห์ที่ 1 (วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554)

คำอธิบายรายวิชา

แนวคิด หลักการ การจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ การวางแผน การจัดระบบ การประเมินระบบการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ การจัดหา การผลิต การบริการ การจัดเก็บ และการดูแลรักษาทรัพยากรการเรียนรู้ คุณลักษณะของผู้จัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ที่เหมาะสม เน้นการมีจิตสานึก รับผิดชอบต่อการใช้สิ่งของ และทรัพย์สินสาธารณะ


1.จากเอกสารประกอบการสอน ให้นิสิตสรุปความหมายของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ พร้อมภาพตัวอย่าง 1-2ภาพตัวอย่าง ภายในมหาวิทยาลัยบูรพา


ตอบ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ หมายถีง อาคารสถานที่ที่เป็นแหล่งรวมสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ กิจกรรมต่างๆ ที่หลากหลายอย่างเป็นระบบเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เกิดการเรียนรู้ โดยภายใต้การทำงานอย่างเป็นระบบนั้นจะมีโครงสร้างการทำงาน การกำหนดเป้าหมายในการทำงาน วิสัยทัศน์ นโยบายเพื่อให้สามารถบริการสื่อ วัสดุ อุปกรณ์และกิจกรรมต่างๆ ในลักษณะต่างๆเพื่อสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีปะสิทธิภาพ เช่น



  • สำนักหอสมุด


  • สำนักคอมพิวเตอร์





2. จากวีดิทัศน์ที่ได้รับชมในชั้นเรียน สถานที่ดังกล่าวเป็นศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้หรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบาย



ตอบ มิวเซียมสยาม เป็นศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แห่งหนึ่ง เพราะว่า มีลักษณะเป็นอาคารสถานที่ที่เป็นแหล่งรวมสื่อต่างๆที่สามารถเผยแพร่ให้ผู้อื่นสามารถรับรู้ได้ นอกจากนั้นยังประกอบไปด้วย วัสดุ อุปกรณ์ และกิจกรรมต่างๆที่จะทำให้เราสามารถที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างเข้าใจ มีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะสื่อไปในทิศทางไหน มีความสอดคล้องกันของเนื้อหาสาระ และยังมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้อีกด้วย






วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

งานวิจัยสื่อการเรียนการสอน

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้สื่อ Power Point
ในเรื่อง“Space”สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4



วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อพัฒนาการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โดยใช้สื่อสไลด์อิเลคทรอนิกส์ เรื่อง Space
2.เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Space ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้สไลด์อิเล็กทรอนิกส์ ก่อนเรียนและหลังเรียน
3.เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนที่เรียนโดยใช้สไลด์อิเล็กทรอนิกส์วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Space

สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า
ผู้วิจัยมีความเห็นว่าการแก้ปัญหาการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Space ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี กรุงเทพมหานคร ได้นำสื่อการเรียนการสอนมาช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำสไลด์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นสื่อที่สามารถแก้ไขได้ทันทีมาใช้ผู้วิจัยจึงมีความสนใจสร้างสื่อสไลด์อิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง Space ด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรม Power Point เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Space ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้สไลด์อิเล็กทรอนิกส์กับการเรียนแบบปกติ

ประชากรและกลุ่มเป้าหมาย
-ประชากร / กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทำการศึกษา
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 (จำนวน 51 คน)ปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี

สถานที่
โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี

การดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือ ดังนี้
1 สไลด์อิเล็กทรอนิกส์วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Space
2 แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย จำนวน 10 ข้อ
3 แบบประเมินคุณภาพสื่อ

การเก็บรวมรวมข้อมูล
1 ทำการทดสอบก่อนเรียนกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 51 คน ด้วยแบบทดสอบก่อนเรียน Unit 3 เรื่อง Space แล้วบันทึกผลไว้เป็นคะแนนก่อนเรียน
2 สร้างสไลด์อิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง Space โดยใช้โปรแกรม Power Point
3 นำสไลด์อิเล็กทรอนิกส์เรื่อง Space เป็นสื่อในการเรียนการสอนของนักเรียนใน Unit ที่ 3
4 เมื่อสอนจบบทเรียนแล้ว ทำการทดสอบหลังการเรียนอีกครั้งหนึ่ง แล้วเก็บคะแนนการทดสอบ
5 นำผลคะแนนการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน มาเปรียบเทียบกัน
6 นำแบบประเมินสื่อเรื่อง Space ให้นักเรียนกากบาทในช่องที่ตรงกับความเห็นของนักเรียนแล้วนำมาสรุปรายงานผลการประเมิน

การวิเคราะห์ข้อมูล
1 การเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนแล้วนำมาคิดเป็นร้อยละ เพื่อดูพัฒนาการของเรียนของนักเรียนเมื่อใช้สื่อการสอน Power Point เรื่อง Space แล้ว
2 สรุปผลสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนต่อสื่อ Power Point เรื่อง Space

สรุปผลการวิจัย
ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้สื่อ Power Point ในเรื่อง“Space”ในครั้งนี้จะเห็นได้ว่า สื่อมีผลต่อกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งทำให้ผลคะแนนของการทดสอบหลังเรียนมีคะแนนสูงขึ้นกว่าผลคะแนนก่อนเรียน และนักเรียนมีความพึงพอใจในการใช้สื่อประเภทนี้ในการประกอบการเรียนการสอน

เอกสารอ้างอิง
มิส นุชจิรา แจ่มกระจ่าง. งานวิจัยในชั้นเรียนการพัฒนาการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ในเรื่อง “Space” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้สื่อการสอน Power Point .กรุงเทพมหานคร:โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี,2553

สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ออนไลน์

สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ออนไลน์


สื่อคอมพิวเตอร์ออนไลน์(Online) คือ ใช้สายนำสัญญาณและใช้ซอฟแวร์จัดการให้ข้อมูลในเครื่องหนึ่งไปแสดงผลบนเครื่องอื่นได้ สื่อมัลติมีเดียก็ได้พัฒนาขึ้น ตามลำดับ และถูกนำไปใช้ในประโยชน์ใน ระบบเครือข่ายเล็กๆ (LAN) นั่นคือเริ่มใช้เป็นสื่อแบบออนไลน์ (online) อาศัยสายสัญญาณที่เชื่อมโยงติดต่อกันนั้นนำข้อมูลมัลติมีเดียจาก เครื่องแม่ข่าย (server) กระจายไปแสดงผลที่ทุกเครื่องที่เป็น ลูกข่าย (clients) ใน เครือข่าย (network)

หลักการใช้สื่อออนไลน์(Online)
การใช้สื่อออนไลน์มีผลกระทบต่อทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ขึ้นอยู่กับว่าจะมีผลกระทบในด้านใดถ้าเราใช้ไปในทางที่ดีผลกระทบมันก็จะเกิดประโยชน์ เกิดผลดีกับตัวเรา แต่หากเราใช้ไปในทางที่ผิดผลกระทบที่ไม่ดีมันก็จะเกิดขึ้นกับตัวเราอีกเช่นกันซึ่งทุกคนคงไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองเพราะฉะนั้นเราควรใช้สื่อออนไลน์ตามความจำเป็น และใช้ในทางที่ถูกต้องเพื่อประโยชน์ที่จะได้รับและตัวของคุณเอง


คุณสมบัติของสื่อออนไลน์
วัตกรรมทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงวิธีเรียนที่เป็นอยู่เดิม เป็นการเรียนที่ใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า เช่น อินทราเน็ต (Intranet) เอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet) อินเตอร์เน็ต (Internet) ดาวเทียม แผ่นซีดี (CD) วีดิโอเทป (VDO Tape) ฯลฯ ดังนั้นจึงหมายรวมถึงการเรียนทางไกล (Distance Learning) การเรียนผ่านเว็บ ห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual classroom) ซึ่งมีจุดเชื่อมโยงคือ เทคโนโลยีการสื่อสารเป็นสื่อกลางของการเรียนรู้


ลักษณะการทำงาน
- แบบไม่ประสานเวลา
- แบบประสานเวลา โต้ตอบต่างกันในเวลาเดียวกัน

ประเภทของสื่อออนไลน์
1. CAI ทำงานภายใต้ standalone หรืออาจทำงานภายใต้ Local Area Network เพราะ CAI ไม่ได้ออกแบบเพื่อสื่อสารถึงกัน
2. WBI เว็บช่วยสอน เป็นระบบการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่ประยุกต์ใช้คุณสมบัติและทรัพยากรของสื่อหลายมิติ
3. Web Quest ( การแสวงหาความรู้บนเว็บ ) เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ในการเรียนรู้ออนไลน์
4. M-Learning เป็นการจัดการเรียนการสอน โดยผู้เรียนเข้าถึงได้โดยสื่อการสอนผ่านเทคโนโลยี
5. D – Learning เป็นการเข้าถึงข้อมูลผ่านทางดาวเทียมหรือ GPS
6. Blended-Leaning เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
7. E-Learning เป็นการผสมผสานกับการเรียนในขั้นปกติโดยมีสัดส่วนในการเรียน โดยผสมผสานหลากหลายวิธีเกิดการเรียนรู้และเกิดทักษะในด้านปฏิบัติ
8. U-Learning เป็นกระบวนการบูรณาการของ Sever เข้ากับ Physical world อย่างไร้ขอบเขตและผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย

ผลที่เกิดกับผู้เรียน
• ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง จากทุกที่ทุกเวลาโดยอิสระ
• ผู้เรียนมีอิสระในการเรียน การบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละเนื้อหา ไม่จําเป็นต้องเหมือนกัน หรือพร้อมกับผู้เรียนรายอื่น
• มีระบบปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน และสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้


ผลที่เกิดกับผู้สอน
• ผู้สอนมีสภาพเป็นผู้ช่วยเหลือผู้เรียนในการค้นหา การประเมิน การใช้ประโยชน์จากเนื้อหา จากสื่อรูปแบบต่างๆ ที่มีให้บริการ
• มีระบบบริหารจัดการการเรียนรู้
• มีระบบบริหารจัดการเนื้อหา/หลักสูตร


ข้อดีของสื่อประเภทคอมพิวเตอร์ออนไลน์
- เป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้โดยตรง
- สามารถให้ข้อมูลข่าวสารและรายละเอียดได้ตามที่ต้องการ
- สามารถวัดผลตอบกลับการสื่อสาร ได้ในทันทีด้วยตัวเอง
- สามาระเรียนได้ทุกหนทุกแห่ง ทุกที่ทุกเวลา
- ขยายโอกาสทางการศึกษา
- กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักการสื่อสารในสังคม
- ข้อมูลและหลักสูตรเนื้อหารายวิชาสามารถหาได้โดยง่าย
- เป็นมัลติมีเดียที่ใกล้เคียงสามารถใชในชีวิตจริงได้


ข้อจำกัดของสื่อประเภทคอมพิวเตอร์ออนไลน์
-การออกแบบการเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นยังมีน้อย
- เป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้สอน
- การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน จึงไม่สามารถช่วยในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้
- ผู้เรียนบางคนโดยเฉพาะอาจไม่ชอบโปรแกรมที่เรียนตามขั้นตอน ทำให้เป็นอุปสรรค์

สื่อประเภทเสียง

สื่อประเภทเสียง






ความหมายและประเภทของเครื่องขยายเสียง
เครื่องขยายเสียงเป็นเทคโนโลยีทางด้านอิเล็กโทรนิคส์ที่ก้าวหน้าและมีความจำเป็นต่อชีวิตของคนเรามาก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบันทึกเสียง เครื่องรับวิทยุ และระบบเสียงของโทรทัศน์ และ C.V.D โดยต้องการให้เสียงนั้นมีความชัดเจนไม่มีเสียงรบกวนสอดแทรก มีเสียงเหมือนจริงตามธรรมชาติ และมีความไพเราะรื่นหู ปัจจุบันได้มีการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของเสียงให้อยู่ในขั้นดีเสียงดัง ฟังชัด และมีความเที่ยงตรง เหมือนความเป็นจริงมากที่สุด เรียกว่าระบบ Hi-Fi


ธรรมชาติของสื่อประเภทเสียง
สื่อที่มีเฉพาะเสียง บรรจุเสียงพูด ดนตรีประกอบ และเสียงเอฟเฟ็กต์ต่างๆ รวมอยู่ในตลับที่เรียกว่าเทปคาสเซ็ท โดยต้องอาศัยเครื่องเล่นเทปมาเปิดฟัง สามารถนำมาใช้กับบัตรคำ แผนภูมิ ชาร์ต ภาพชุด มีการอธิบายขั้นตอนการสาธิต การทำงาน การบรรยาย การปราศรัย เพื่อให้ผู้เรียนได้ฟังเพิ่มพูนความรู้ ในปัจจุบันมีรายการวิทยุกระจายเสียงที่กระจายอยู่ตามท้องถิ่นต่าง ๆ (วรวิทย์ นิเทศศิลป์.สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้.ปทุมธานี:สกายบุ๊กส์,2551)

ระบบเสียง
1. ระบบเสียงโมโน (mono phonic sound system) หมายถึงการขยายเสียงที่ขยายเสียงเพียง 1 ช่องเสียง ขยายเสียงเหมือนต้นกำเนิดเสียงเหมาะที่จะนำไปใช้ในการขยายเสียงพูดเสียงบรรยาย
2. ระบบเสียงสเตอริโอ (stereo phonic sound system) หมายถึง การขยายเสียงที่ขยายเสียงตั้งแต่ 2 ช่องเสียงขึ้นไป ขยายเสียงผิดเพี้ยนไปจากต้นกำเนิดเสียงในทางไพเราะ เหมาะที่จะนำไปใช้ในการขยายเสียงเพลง เสียงดนตรี ระบบเสียงสเตอริโอนั้น อาจสร้างขึ้นมาเป็นชนิด 2 ช่องเสียง (2 CH) คือช่องเสียงทางซ้าย (left channel) และช่องเสียงทางขวา (right channel) ซึ่งระบบนี้มนุษย์เรานิยมใช้ฟังกันมากเพราะตรงตามธรรมชาติของหูผู้ฟังคือ มี 2 หู หูซ้ายและหูขวา


ระบบของการขยายเสียง
การขยายเสียงมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
1. แหล่งต้นเสียง (Input Signal) หมายถึงส่วนที่ทำหน้าที่ผลิตต้นกำเนิดเสียงออกมาเพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องขยายเสียงในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้า เช่น ไมโครโฟน เทปบันทึกเสียง ซีดี และอื่น ๆ
2. เครื่องขยายเสียง (Amplifier) หมายถึง เครื่องมือที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้า จากแหล่งต้นเสียงให้มีสัญญาณแรงขึ้นหลาย ๆ เท่าตัว แล้วส่งต่อไปยังลำโพง
3.ลำโพง (Speaker) หมายถึง เครื่องมือที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้า ที่ส่งมาจากเครื่องขยายเสียงให้เป็นคลื่นเสียง ซึ่งมนุษย์เราจะรับฟังได้ การทำงานของระบบขยายเสียงเกิดขึ้นเมื่อ Input signal ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อส่งต่อเข้าสู่ Amplifier ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญ 3 ส่วนคือ
-Pre-Amp ทำหน้าที่รับสัญญาณไฟฟ้าเข้ามาแล้วควบคุมความแรงของสัญญาณนั้นให้มีความแรงของสัญญาณคงที่ สม่ำเสมอ
-Tone ทำหน้าที่ปรุงแต่งสัญญาณไฟฟ้า ให้เกิดความไพเราะ เช่น ปรุงแต่งเสียงทุ้ม (Bass) และปรุงแต่งเสียงแหลม (Treble)
-Power Amp ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าที่ปรุงแต่งแล้วให้มีความแรงของสัญญาณเพิ่มขึ้น แล้วส่งไปยังลำโพง (Speaker) ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นคลื่นเสียง เพื่อให้มนุษย์เราได้ยิน


ไมโครโฟนและการใช้ไมโครโฟน
ไมโครโฟน เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ แผ่นไดอะแฟรม จะสั่นสะเทือนและทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าขึ้น เป็นพลังงานไฟฟ้าชนิดกระแสสลับที่มีแรงคลื่นไฟฟ้าต่ำมาก ต้องส่งเข้าไปยังเครื่องขยายเสียง เพื่อขยายสัญญาณให้แรงเพิ่มขึ้นอีกทีหนึ่ง

ชนิดของไมโครโฟน
1. แบ่งตามลักษณะของโครงสร้างวัสดุ

ไมโครโฟนแบ่งออกได้เป็น 6 ชนิด ด้วยกันคือ
1) แบบคาร์บอน (Cabon mic) ทำจากผงถ่าน คุณภาพไม่ค่อยดี นิยมใช้กับเครื่องรับโทรศัพท์
2) แบบคริสตัล (Crystal mic) ใช้แร่คริสตัลเป็นตัวสั่นสะเทือน ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้า ไมโครโฟนชนิดนี้ไม่ทนต่อสภาพของอุณหภูมิและความชื้น ราคาถูก
3) แบบเซรามิค (Ceramic mic) คล้ายแบบคริสตัล แต่มีความทนทานสูงกว่า นิยใช้ติดตั้งกับเครื่องยานพาหนะ
4) แบบคอนเดนเซอร์ (Condenser mic) ใช้คอนเดนเซอร์ เป็นตัวสร้างความถี่ เพื่อทำให้เกิดสัญญาณขึ้น แต่ต้องอาศัยแบตเตอรี่ เป็นตัวช่วยในการทำงาน คุณภาพเสียงดี เบาเล็กกระทัดรัด 5) แบบไดนามิค (Dynamic mic) ใช้แม่เหล็กถาวร และมีขดลวด (moving coil) เคลื่อนไหวไปมาในสนามแม่เหล็ก ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำ และเกิดกระแสไฟฟ้าไหลในวงจร คุณภาพของเสียงดี มีความคงทน เหมาะที่จะใช้งานสาธารณะ
6) แบบริบบอน (Ribbon mic) ใช้แผ่นอลูมิเนียมเบา บางคล้ายกับริบบิ้น จึงต้องอยู่ระหว่างแม่เหล็กถาวรกำลังสูง เมื่อคลื่นเสียงมากระทบกับแผ่นอลูมิเนียม จะสั่นสะเทือนและเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น ไมโครโฟนชนิดนี้จะมีราคาแพง มีคุณภาพดีมาก มีความไวสูง แม้แต่เสียงหายใจ ลมพัด จะรับเสียงได้ เหมาะที่จะนำไปใช้ในห้องส่งวิทยุโทรทัศน์-บันทึกเสียง
2. แบ่งตามทิศทางของการรับเสียง
1) แบบรับเสียงได้ทิศทางเดียว (Uni-Directional mic) รับเสียงได้ทิศทางเดียวคือด้าน หน้า มีมุมรับเสียงค่อนข้างแคบ เหมาะที่จะนำไปใช้สำหรับการบรรยาย การบันทึกเสียง วงดนตรี หรือที่ที่ผู้พูดอยู่ด้านหน้าไมโครโฟน
2) แบบรับเสียงได้ 2 ทิศทาง (Bi-directional mic) รับเสียงได้ 2 ทิศทางที่อยู่ตรงข้างกัน
3) แบบรับเสียงได้รอบทิศทาง (Omni-directional mic) รับเสียงได้รอบทิศทาง โดยมี ความไวในการับเสียงเท่าๆ กัน เหมาะสำหรับใช้ในการแสดงบนเวที แต่มีข้อเสียคือ เสียงจะเข้ารอบทิศทาง ป้องกันสัญญาณย้อนกลับ (Feed back) ได้ยาก
4) แบบรับเสียงบริเวณด้านหน้ารูปหัวใจ (Cardioid mic) รับเสียงได้ทิศทางเดียว แต่สามารถรับเสียงได้เป็นมุมกว้าง คล้ายรูปหัวใจหรือใบโพธิ์ นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน
3. แบ่งตามลักษณะการใช้งาน
1) แบบตั้งโต๊ะ (Desk mic) ใช้เสียบบนขาตั้ง วางบนโต๊ะ หรือตั้งพื้นตรงหน้าผู้พูดโดยที ผู้พูดไม่ต้องเคลื่อนไปมา
2) แบบมือถือ (Hand mic) ใช้สำหรับนักร้อง นักโฆษณา
3) แบบห้อยคอ (Lavalier mic) มีขนาดเล็ก ใช้เสียงติดกับคอเสื้อ-กระเป๋าเสื้อ หรือเนค ไท นิยมใช้ในการทำรายการโทรทัศน์
4) แบบบูม (Boom mic) ติดอยู่บนแขนยาว ๆ อยู่เหนือศีรษะผู้พูดสามารถเสื่อนตามผู้ พูด หรือผู้แสดงไปได้ตลอด นิยมใช้ในห้องผลิตรายการโทรทัศน์ และห้องบันทึกเสียงการแสดง
5) แบบบิง (Bing mic) ใช้ตั้งโต๊ะอยู่กับที่โดยไม่เคลื่อนย้าย
6) แบบไม่มีสาย (Wireless mic) เป็นเครื่องส่งวิทยุระบบ F.M ขนาดเล็กกำลังส่งต่ำ ใช้กับเครื่องรับวิทยุระบบ F.M ส่งคลื่นไปได้ไกล ประมาณ 50-200 เมตรเท่านั้น


คุณสมบัติของไมโครโฟน
ไมโครโฟนในแต่ละแบบก็อาจมีคุณสมบัติต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
1.ไมโครโฟนทั่วๆ ไป มีผลตอบสนองความถี่ได้เรียบ ตั้งแต่ 100-10000 เฮิรทซ์ เป็นอย่างน้อยการตอบสนองความพี่ได้มากน้อง เพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับการใช้งาน เช่นการแสดงดนตรีต้องใช้ไมโครโฟนที่ตอบสนองความถี่กว้างประมาณ 50-15000 เฮิรทซ์ โดยราบเรียบเสมอกัน ซึ่งได้แก่ไมโครโฟนแบบไดนามิค แบบริบบอน เป็นต้น
2. ความไวในการรับเสียง เนื่องจากคลื่นเสียงผ่านอากาศไปสู่ไมโครโฟน ไมโครโฟน จะเปลี่ยนคลื่นเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า และมีความแรงพอที่จะป้อนเข้าสู่เครื่องขยายเสียงได้ไมโครโฟนที่มีความไวการรับเสียงสูง จะสามารถรับคลื่นเสียงที่อยู่ห่างจากไมโครโฟนได้ไมโครโฟนทั่วไป จะมีคามแรงของสัญญาณที่ได้ออกมาเป็นเดซิเบล (dB) ต่ำกว่า 1 โวลท์ เช่น -60 dB หรือ -50 dB ค่า dB เป็นลบมากจะมีความไวต่ำกว่าค่ำ dB ที่เป็นลบน้อย นั่นคือ -60dB ดมีความไวต่ำกว่า -50dB
3. อิมพีแดนซ์ (Impedance) หมายถึงความต้านทานของไมโครโฟนที่เกิดขึ้นขณะ มีสัญญาณหรอืกระแสสลับไฟลผ่าน มีหน่วยเป็นโอห์ม (Ohm) มี 2 ชนิด
1) อิมพแดนซ์สูง (High Impedance) มีค่า Impedance อยู่ระหว่าง 5-10, 50 และ 100 K Ohm ซื่งจะเขียนติดไว้บนตัวไมโครโฟนนี้ชนิดไม่ควรใช้สายยายเกินกว่า 25 ฟุต จะทำให้เกิดเสียงฮัมและสูญเสียกำลังไปในสาย
2) อิมพิแดนซ์ต่ำ (Low Impedance) มีค่า Impedance 200-600 โอมห์ ใช้สายไมโครโฟนได้ยาว กว่า 100 ฟุต


การใช้ไมโครโฟนและการบำรุงรักษา
การใช้ไมโครโฟนและการบำรุงรักษา ควรมีหลักการในการใช้และการบำรุงรักษาดังนี้
1. ไม่เคาะหรือเป่าไมโครโฟน
2. อย่าให้ไมโครโฟนล้มหรือตกเป็นอันขาด
3. ไม่ควรพูดใกล้หรือห่างไมโครโฟนเกินไป โดยทั่ว ๆ ไปจะพูดห่างประมาณ 1-4 นิ้ว ถ้าไมโครโฟนรับเสียงไวมากควรพูดห่างประมาณ 6-12 นิ้ว
4. บริเวณใกล้ ๆ ไมโครโฟนควรขจัดเสียงรบกวนอย่าให้หมด เช่น พัดลม, เครื่องปรั อากาศ
5. ควรติดตั้งไมโครโฟน ให้ห่างจากลำโพง ถ้าจำเนจะต้องอยู่ใกล้กัน ควรหันหน้า ลำโพงเนีออกไปไมให้มาตั้งฉากกับไมโครโฟน
6. ไม่ควรให้ไมโครโฟนเปียกน้ำหรือของเหลว
7. หลังจากเลิกใช้ไมโครโฟนควรเก็บใส่กล่องไว้ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันฝุ่นละออง และ การกระทบกระเทือน


เครื่องบันทึกเสียง และการใช้เครื่องบันทึกเสียง
เครื่องบันทึกเสียง ได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในหลายๆ วงการ เช่นนักข่าวใช้บันทึกเสียงการสัมภาษณ์ การสอบสวนใช้บันทึกเสียงผู้ให้ปากคำ ในวงการศึกษาได้นำเครื่องบันทึกเสียงมาใช้ประโยชน์ได้มากมายเช่นกัน โดยเฉพาะกิจกรรมเกี่ยวกับการเรียนการสอน เช่น บันทึกรายการที่น่าสนใจจากวิทยุ และโทรทัศน์ การฝึกปฏิบัติการทางภาษาทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ การเรียนดนตรี หรือม้กระทั่งการเรียนทางไกล ซึ่งใช้วิทยุและโทรทัศน์เป็นสื่อ ก็สามารถใช้เครื่องบันทึกเสียงรายการบทเรียนไว้ฟังได้หลาย ๆ ครั้ง หรือในเวลาที่ต้องการ และเมื่อไม่ต้องการใช้ก็สามารถลบทิ้งแล้วบันทึกใหม่ได้อีก นับว่าให้ความสะดวกแกผู้ใช้มากกับทั้งราคาไม่แพงด้วย จึงเป็นที่นิยมใช้กันมาก

หลักการบันทึกเสียงและฟังเสียง
จากทฤษฎีทางไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดจะเกิดสนามแม่เหล็กรอบๆ ขดลวด ถ้าพันขวดลวดหลาย ๆ รอบบนแกนเหล็ก จะทำให้มีอำนาจเป็นสนามแม่เหล็กได้มากขึ้นในทางตรงกันข้าม เมื่อสนามแม่เหล็กเคลื่อนที่ผ่านขดลวดจะเหนียวทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นมากน้อยขึ้นอยู่กับความแรงของสนามแม่เหล็ก ความเร็วในการเคลื่อนที่ ขนาดและความยาวของลวด หัวบันทึกของเครื่องบันทึกเสียงทำด้วยแท่งแกนเหล็กอ่อนรูปวงแหวนมีขดลวดพันอยู่โดยรอบ ส่วนปลายของวงแหวนด้านหน้าเป็นช่องว่าง ซึ่งเป็นที่ปล่อยเส้นแรงแม่เหล็กออกมา การบันทึกเสียงจะเริ่มจากคลื่นเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงจะผ่านไมโครโฟน ไมโครโฟนจะทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าตามลักษณะของคลื่นเสียง แล้วผ่านเครื่องขยายเพื่อขยายสัญญาณให้แรงขึ้น สัญญาณไฟฟ้าที่ถูกขยายแล้วนี้จะผ่านเข้าหัวบันทึกทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้น สนามแม่เหล็กจะผ่านออกมาทางปลายวงแหวน ซึ่งเป็นช่องว่าง เมื่อนำเทปมาผ่านช่องว่างนี้ เส้นแรงแม่เหล็กจะทำให้ผงเหล็กออกไซต์ (Iron Oxide) มีอำนาจแม่เหล็กมากน้อยเหมือนกับตัวบันทึกนั่นก็คือการบันทึกเสียงนั่นเอง


สารแม่เหล็ก เมื่ออยู่ในสนามแม่เหล็ก จะแสดงอำนาจแม่เหล็กและยังคงแสดงอำนาจแม่เหล็กอยู่ได้ แม้จะออกจากสนามแม่เหล็กแล้ว ดังนั้นทางตรงกันข้าม เมื่อนำแผ่นเทปที่บันทึกเสียงแล้วนี้ไปผ่านหัวฟัง (ซึ่งทำด้วยขดลวดพันรอบแกนเหล็กอ่อนเหมือนหัวบันทึก) ด้วยความเร็วเท่ากับตอนบันทึก อำนาจของแม่เหล็กบนแผ่นเทปจะเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าที่ขดลวดให้หัวฟังสํญญาณไฟฟ้าจะออกจากขดลวดผ่านเข้าไปในเครื่องขยายเสียง เพื่อขยายให้สัญญาณไฟฟ้านี้แรงขึ้น แล้วส่งออกสำโพง ลำโพงจะทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณ เสียงอีกทีหนึ่ง นี่ก็คือการฟังเสียงนั่นเอง


เครื่องบันทึกเสียงโดยทั่ว ๆ ไป จะมีแถบเสียงดังนี้
1. แถบเสียง (Single or Full Track) หัวบันทึกจะมีขนาดเท่ากับความกว้างของแผ่นเทป บันทึกได้เที่ยวเดียวเต็มแผ่นเทป จะกรอกกลับหรือกลับม้วนเทป เพื่อบันทึกใหม่ไม่ได้
2. แถบเสียง (Dual or Half Track) หัวบันทึกจะมีขนาดเป็นครึ่งหนึ่งของความกว้างของ แผ่นเทป บันทึกสัญญาณได้ 2 เที่ยว เที่ยวละครึ่งแถบ หมายความว่า เมื่อบันทึกไปหนึ่งแถบแล้ว สามารถกลับม้วนเทปและบันทึกได้อีกแถบหนึ่ง
3. แถบเสียงโมโน (Quarter Track Monophonics) หัวบันทึกจะมีขนาด 1/4 ของความกว้าง ของแผ่นเทป บันทึกได้ถึง 4 เที่ยว (มีเฉพาะเทปม้วน) การบันทึกเที่ยวแรกจะบันทึกได้ แถบที่ 1 เมื่อบันทึกหมดม้วนแล้วกรอกกลับ (ไม่ต้องกลับม้วนเทป) จะบันทึกใหม่ได้อีกแถบที่ 3 เมื่อหมดม้วนแล้วกลับม้วนเทป จะบันทึกได้อีกในแถบที่ 2 แล้วกรอกกลับบันทึกได้อีกในแถบที่ 4 เที่ยวในเทปเดียว ทั้งนี้ต้องเลื่อน ตำแหน่งสวิทซ์ที่เครื่องเทปให้ถูกต้องต้อง
4. แถบเสียงสเตริโอ (Quarter Track Stereophonics) หัวบันทึกจะมี 2 หัว แต่ละหัวจะมี ขนาด 1/4 ของความกว้างของแผ่นเทป บันทึกได้ 2 เที่ยวละ 2 แถบ การบันทึกเที่ยวแรกจะบันทึกในแถบที่ 1 และ 3 เมื่อกลับม้วนเทปหรือตลับเทป จะบันทึกได้อีก 1 เที่ยวในแถบที่ 2 และ 4 ซึ่งมีทั้งชนิดม้วนชนิดตลับ
เครื่องบันทึกเสียง และการใช้เครื่องบันทึกเสียง 4

ส่วนประกอบของเครื่องบันทึกเสียงและการทำงาน
ส่วนประกอบในเครื่องบันทึกเสียงๆ ไป ที่ควรทราบมีดังนี้
1) วงล้อจ่ายเทป (Supply Reel) มีเฉพาะเทปม้วน เมื่อเราต้องการจะบันทึกหรือฟังเสียงให้เอาม้วน เทปที่มีแผ่นเทปบรรจุอยู่มาใส่ตรงจุดนี้
2) วงล้อรับเทป (Take-up Reel) เป็นม้วนเทปเปล่าใช้สำหรับรับเทปจากวงล้อจ่ายเทป
3) ล้อเทปผ่าน (Stabilizer or Tape Guide) เป็นล้อสำหรับกั้นให้เทปดึงตลอดเวลาที่เครื่องทำงาน
4) ตัวควบคุมความเร็วของเทป (Capstan)
ทำหน้าที่หมุนดึงเทปให้เข้าสู่วงล้อรับเทปตามความเร็วที่ ต้องการ
5) ล้อยางกดเทป (Pinch Roller) ทำหน้าที่บีบแผ่นเทป โดยทำงานควบคู่ไปกับตัวควบคุมความเร็ว ของเทป
6) หัวลบ (Erase Head) ทำหน้าที่ลบสัญญาณที่บันทึกไว้
7) หัวบันทึก (Record Head) ทำหน้าที่บันทึกสัญญาณทำงานพร้อมกับหัวลบ
8) หัวฟัง (Playback Head) มีลักษณะเหมือนหัวบันทึก แต่ทำงานตรงกันข้าม


ข้อดีของสื่อประเภทเสียง
1. สามารถใช้กับกลุ่มเป้าหมายเป็นมวลชนจำนวนมากได้
2. ระยะกระจายเสียงกว้างและถ่ายทอดไปได้ในระยะไกล
3. ดึงดูดความสนใจของผู้ฟังและช่วยกระจายข้อมูลได้ในเวลาอันรวดเร็วมาก
4. สามารถใช้ได้โดยไม่จำกัดขนาดของกลุ่ม
5. เหมาะสำหรับการเรียนรู้กับทุกกลุ่ม


ข้อเสียของสื่อประเภทเสียง
1.การบันทึกเสียงคุณภาพสูงต้องใช้ห้องและอุปกรณ์เฉพาะ
2.บันทึกได้ง่ายและรวดเร็ว

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

สื่อประเภทกิจกรรม

สื่อประเภทกิจกรรม


ความหมายของสื่อประเภทกิจกรรม
สื่อกิจกรรม หมายถึง กระบวนการเรียนการสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการลงมือกระทำ สื่อการสอนมีความหมายกว้างขวาง ครอบคลุมทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้กับผู้เรียน กิจกรรมหรือวิธีการ นับเป็นสื่อการสอนที่มีศักยภาพสูงต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้บทเรียนดำเนินไปอย่างสนุกสนาน น่าสนใจ ผู้เรียนทุกคนมีโอกาส ร่วมในกิจกรรมตลอดเวลา การใช้วิธีการหรือกิจกรรมเพื่อการเรียนการสอนอาจต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์เข้ามาช่วย เพื่อส่งเสริม ให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น

ธรรมชาติของสื่อกิจกรรม
สื่อกิจกรรม และกระบวนการ หมายถึง กิจกรรมหรือกระบวนการที่ครูหรือผู้เรียนกำหนดขึ้นเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ ใช้ในการฝึกทักษะซึ่งต้องใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้ของผู้เรียน เช่น การแสดงละครบทบาทสมมติ การสาธิต สถานการณ์จำลอง การจัดนิทรรศการ การไปทัศนศึกษานอกสถานที่ การทำโครงงาน เกม เพลง การปฏิบัติตามใบงาน ฯลฯ

สื่อกิจกรรมจะมี 2 แบบคือ
- การใช้วัสดุอุปกรณ์
-
ไม่ใช้วัสดุอุปกรณ์

หลักการใช้สื่อกิจกรรม
1. กำหนดจุดประสงค์
2. ความเป็นไปได้
3. ความคุ้มค่า
4. ความเหมาะสมกับผู้เรียน สังคมและวัฒนธรรม
5.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดขอบข่าย เนื้อหาและวัตถุประสงค์
6. กิจกรรมตรงกับเนื้อหาหรือไม่

ลักษณะสื่อกิจกรรมที่ดี
1. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์ การทำกิจกรรม และประเมินผลกิจกรรม
2. ผู้เรียนได้ฝึกฝนพฤติกรรมการเรียนทั้งทางด้านความรู้ เจตคติ และทักษะผสมผสานกันเป็นบูรณาการอย่างเป็นระบบ
3. มีลักษณะของการกระทำเด่นชัดด้วยการกำหนดคำที่แสดงถึงการกระทำไว้ด้วยทุกครั้ง
4. กำหนดเงื่อนไขสำหรับประกอบกิจกรรมไว้ชัดเจน สามารถวัดผล และสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนได้
5. มีเกณฑ์หรือมาตรฐานในการดำเนินกิจกรรม กำหนดพฤติกรรมที่ถือเป็นระดับต่ำสุดที่พึงพอใจ
6. ใช้เวลาพอเหมาะที่ผู้เรียนจะสามารถดำเนินกิจกรรมให้ประสบผลสำเร็จ และก่อให้เกิดความภาคภูมิใจได้
7. มีการชี้แนวทางหรือนำทางในการดำเนินกิจกรรมได้เด่นชัด
8. กิจกรรมต้องตรงกับเนื้อหาและจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
9. กิจกรรมไม่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อน มีความยากง่ายเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
10. เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

สื่อการสอนประเภทกิจกรรมที่จะนำเสนอในหน่วยการเรียนนี้มี 6 ชนิด คือ
1. นิทรรศการ (Exhibition)
2. นาฏการ (Dramatization)
3. การสาธิต (Demonstration)
4. การใช้ชุมชนเพื่อการศึกษา (Community Study)
5. สถานการณ์จำลอง (Simulation)
6. การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip)














1. นิทรรศการ (Exhibition)
นิทรรศการ หมายถึง การจัดแสดงสิ่งของวัสดุ อุปกรณ์มีความสัมพันธ์กันในแต่ละเรื่อง เพื่อเร้าความสนใจให้ผู้ชม มีส่วนร่วมและเรียนรู้ด้วยการดู ฟัง สังเกต จับต้อง และทดลองภายใต้จุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจุดมุ่งหมาย โดยการใช้สื่อ หลายชนิด เช่น แผนภาพ หุ่นจำลอง ของจริง นอกจากนี้นิทรรศการยังสามารถจัดกิจกรรมอื่น ๆ ประกอบ เพื่อให้เกิดความสะดวก และรวดเร็วในการสื่อความหมายกับผู้ชม คุณค่าของนิทรรศการ
1. ส่งเสริมการทำงานเป็นหมู่คณะ ฝึกความรับผิดชอบ ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในทางที่ดี
2. สื่อต่าง ๆ ที่นำมาจัดแสดงสามารถสื่อความหมายสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมได้
3. เป็นการจัดการเรียนการสอนตามอัธยาศัย ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ด้วยการดู ฟัง สังเกต
4. สามารถนำความคิดที่กระจัดกระจายมารวมกันไว้ให้ผู้ชมสรุปเป็นความคิดรวบยอดได้อย่างถูกต้อง
หลักการออกแบบสำหรับนิทรรศการ
การจัดนิทรรศการให้มีประสิทธิภาพในการเร้าความสนใจ และให้ประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ชม ควรยึดหลักการออกแบบดังต่อไปนี้
1. ความเป็นเอกภาพ (Unity) หมายถึง การออกแบบทุกสิ่งทุกอย่างในการจัดนิทรรศการให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
2. ความสมดุล (Balancing) หมายถึง การจัดสิ่งต่าง ๆ ให้ได้สัดส่วนที่ก่อให้เกิดความรู้สึกสบาย ไม่หนักหรือเบาไปด้านใดด้านหนึ่ง
3. การเน้น (Emphasis) เป็นการจัดสิ่งเร้าให้ดูเด่นเร้าความสนใจตามวัตถุประสงค์ในการจัดนิทรรศการองค์ประกอบต่าง ๆ
ที่เป็นตัวเน้นได้ดี เช่น เส้น สี น้ำหนัก ทิศทาง ขนาด แสง เสียง เป็นต้น
4. ความเรียบง่าย (Simplicity) การจัดสิ่งเร้าให้มีความเรียบง่ายจะช่วยให้รู้สึกสบายสะดุดตา
5. ความแตกต่าง (Contrast) เป็นการจัดองค์ประกอบให้มีลักษณะแตกต่างกัน ให้ความรู้สึกตัดกัน เพื่อความชัดเจนและโดดเด่น
6. ความกลมกลืน (Harmony) เป็นการจัดองค์ประกอบให้มีลักษณะใกล้เคียงกัน ให้ความรู้สึกกลมกลืน นุ่มนวล ราบเรียบ














2. นาฏการ (Dramatization)
นาฏการ หมายถึง การแสดงต่าง ๆ ที่จัดขึ้นสำหรับถ่ายทอดความเข้าใจระหว่างผู้แสดงกับผู้ดูการแสดงนาฏการเป็นการเสนอสิ่งเร้า ที่เป็นของจริง หรือเสมือนของจริง ซึ่งเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้เรียนสนใจ และเอื้อประโยชน์ให้เกิดการเรียนรู้ได้สะดวก นาฏการสามารถจัด ลำดับการเสนอเป็นเรื่องราวให้ผู้เรียนเกิดความร้สึกเสมือนว่าตัวเองเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้น ๆ ด้วย
คุณค่าของนาฏการ
1. ทำให้บทเรียนเป็นจริงเป็นจัง น่าสนใจ เกิดความประทับใจและจดจำได้นาน
2. นักเรียนได้ฝึกทักษะทางภาษา
3. ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงออกได้เข้าใจ
4. ฝึกความคิดสร้างสรรค์และการแก้ปัญหาร่วมกัน
5. สร้างและเปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้เรียนไปในทางที่ดี
6. ช่วยระบายความเครียดและสนองความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก
ประเภทของนาฏการ
นาฏการแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. นาฏการที่แสดงด้วยคน ได้แก่ การแสดงละคร ละครใบ้ หุ่นชีวิต การแสดงกลางแปลง และการแสดงบทบาทสมมุติ
2. นาฏการที่แสดงด้วยหุ่น ได้แก่ หนังตะลุง หุ่นเสียบไม้ หุ่นสวมมือ และหุ่นชักใย

นาฏการที่แสดงด้วยคน
1. การแสดงละคร (Play) เป็นการแสดงที่เห็นถึงความเป็นอยู่ อุปนิสัย หรือวัฒนธรรม หรือทั้งสามรวมกัน
ในการแสดงละครจะต้องจัดให้ใกล้เคียง กับสถานการณ์จริง ๆ มากที่สุดโดยอาจต้องจัดสภาพแวดล้อม จัดฉากการแต่งกายและส่วนประกอบต่าง ๆ รวมถึงการเตรียมบทการฝึกซ้อม
2. ละครใบ้และหุ่นชีวิต (Pantomime and Tableau) ละครใบ้เป็นการแสดงลักษณะท่าทางการเคลื่อนไหว
และสีหน้าให้ผู้ดูเข้าใจ โดยผู้แสดงไม่ต้องใช้คำพูดเลย การแสดงเช่นนี้ช่วยฝึกพัฒนาการในด้านการเคลื่อนไหวอวัยวะต่าง ๆ ให้ผู้ดูเข้าใจ
3. การแสดงกลางแปลง (Pageant) เป็นการแสดงกลางแจ้ง เพื่อการถ่ายทอดศิลปะและวัฒนธรรมพื้นบ้าน
ตลอดถึงประเพณีหรือพิธีการต่าง ๆ ในท้องถิ่น โดยใช้ผู้แสดงหลายคน
4. การแสดงบทบาท (Role Playing) เป็นการแสดงโดยใช้สถานการณ์จริง หรือเลียนแบบสถานการณ์จริง
ในสภาพที่เป็นปัญหา มาให้ผู้เรียนหาวิธีแก้หรือใช้ความสามารถความคิดในการวินิจฉัย ตัดสินปัญหาในช่วงเวลา 10-15 นาที
การแสดงแบบนี้ส่วนมาก ไม่มีการซ้อมหรือเตรียมการล่วงหน้า ผู้แสดงจะใช้ความสามารถและแสดงบทบาทไปอย่างอิสระ

นาฏการที่แสดงด้วยหุ่น
หุ่น (Puppets) เป็นตัวละครที่ไม่มีชีวิต เคลื่อนไหวด้วยการกระทำของมนุษย์เรา สร้างหุ่นด้วยวัสดุง่าย ๆ เพื่อการถ่ายทอด เรื่องราวและแนวคิดต่าง ๆ ให้กับผู้เรียนโดยเฉพาะกับเด็กในวัย 2-6 ปี เด็กในวัยนี้ชอบการเล่น สมมุติ และเรื่องราวที่เป็นจินตนาการ การเคลื่อนไหวของหุ่นจึงสามารถเร้าความสนใจของเด็กได้เป็นอย่างดี
คุณค่าของหุ่น
1. หุ่นใช้แสดงเรื่องราวต่าง ๆ ได้สะดวกและง่ายกว่าการแสดงโดยใช้คนจริง ทำให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย 2. ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างทั่วถึง
3. พัฒนาทักษะในการเขียน การคิด การแสดงออก การทำงานกลุ่ม และช่วยเหลือเด็กขี้อายให้มีความกล้ามากขึ้น
4. ผู้เรียนทุกคนพอใจและสนใจในการเรียน
ประเภทของหุ่น
หุ่นมีหลายประเภทแตกต่างกันดังนี้
1. หุ่นเงา (Shadow Puppet) เป็นหุ่นที่ฉลุจากหนังสัตว์ หรือกระดาษแข็งแล้วใช้ไม้ไผ่ยึดเป็นโครงสำหรับเชิดและ
บังคับให้หุ่นเคลื่อนไหว เวลาแสดงจะต้องใช้ตัวหุ่นอยู่หลังจอ แล้วใช้แสงส่องให้เกิดเงาบนจอ เช่น หนังตะลุง
2. หุ่นเสียบไม้ หรือหุ่นกระบอก (Rod Puppet) เป็นหุ่น 3 มิติที่ใช้แท่งไม้เสียบกับคอหุ่นเพื่อให้ผู้เชิดถือขณะเชิดหุ่น การทำหุ่นชนิดนี้มีตั้งแต่แบบยาก ๆ เช่น กระพริบตา ขยับปากได้จนถึงแบบง่าย ๆ ที่ไม่มีส่วนเคลื่อนไหว ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการเรียน การสอนได้ เวลาแสดงหุ่นแบบนี้ผู้เชิดหุ่นจะอยู่ตอนล่างด้านหลังของเวที
3. หุ่นสวมมือ (Hand Puppet) เป็นหุ่นขนาดเล็กครึ่งตัวมีขนาดพอเหมาะกับขนาดของมือที่เชิดหุ่น
หัวหุ่นทำด้วยกระดาษหรือผ้าเป็นหัวคน หรือสัตว์ มีเสื้อต่อที่คอหุ่นใต้ลำตัวและแขนกลวง เพื่อสอดมือเข้าไปเชิดให้เกิดการเคลื่อนไหว เนื่องจากหุ่นมือเป็นหุ่นที่ทำได้ง่าย เชิดง่าย จึงนิยมนำมาใช้ในการเรียนการสอนมากกว่าหุ่นชนิดอื่น
4. หุ่นชัก (Marionette) เป็นหุ่นเต็มตัว ที่ใช้เชือก ด้าย หรือไนล่อนผูกติดกับอวัยวะต่าง ๆ ของหุ่น แล้วแขวนมาจาก ส่วนบนของเวที ผู้ชักหุ่นจะบังคับเชือก ควบคุมการเคลื่อนไหวของหุ่นให้ทำกิริยาท่าทางต่าง ๆ ได้คล้ายคนจริง ๆ แต่การบังคับหุ่นทำได้ยาก และต้องใช้เวลาฝึกฝนนานจึงไม่ค่อยได้นำมาใช้ในวงการศึกษามากนัก
หลักการใช้หุ่นกับการสอน
1. เวลาที่ใช้แสดงควรเป็นช่วงสั้น ๆ
2. พิจารณาว่าได้ประโยชน์คุ้มค่ากับการลงทุนลงแรงเพียงไร เพราะการใช้นาฏการอาจต้องเสียค่าใช้จ่าย เช่น ค่าเครื่องแต่งกาย และวัสดุต่าง ๆ
3. พยายามให้เด็กทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงให้มากที่สุด แม้จะไม่ได้เป็นตัวละครก็ควรให้มีส่วนในการวางแผน ช่วยเหลือการแสดงและประเมินผล
4. จัดนาฏการให้เหมาะสมกับพื้นฐานความรู้ ความสนใจ และวุฒิภาวะของเด็ก
5. ควรใช้สื่อการสอนอื่นมาประกอบด้วย
6. ควรเลือกแสดงในเรื่องที่สามารถทำเรื่องยากให้ง่ายต่อการเข้าใจ เรื่องนามธรรมให้เป็นรูปธรรม หรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมจริยธรรมต่าง ๆ
7. จัดนาฏการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน

















3. การสาธิต (Demonstration)
การสาธิต หมายถึง การสอนโดยวิธีอธิบายข้อเท็จจริง ความคิด และขบวนการต่าง ๆ พร้อมกับการใช้วัสดุหรือเครื่องมือแสดง ให้ผู้เรียนได้สังเกตไปด้วย การสาธิตใช้ได้ดีกับเนื้อหาวิชาที่มีลักษณะเป็นลำดับขั้นตอนและกระบวนการ
คุณค่าของการสาธิต
1. เป็นจุดรวมความสนใจของนักเรียน
2. แสดงขั้นตอนหรือเรื่องราวที่เป็นขบวนการได้ดี โดยเฉพาะในการสอนวิชาทักษะ เช่น ดนตรี การใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ฯลฯ
3. เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง เช่น การสังเกต วิจารณ์ และปฏิบัติด้วยตนเอง
4. ช่วยให้ผู้เรียน เรียนด้วยความสนุกสนานและเข้าใจเนื้อหาที่เรียนดีขึ้น
5. ฝึกให้ผู้เรียนมีวิจารณญาณ และเสริมสร้างทัศนคติที่ถูกต้องให้กับผู้เรียน
6. ลดเวลาในการลองผิดลองถูกของผู้เรียนให้น้อยลง
7. สามารถใช้สอนได้ทั้งวิชาที่ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ประกอบ และวิชาที่มีลักษณะเป็นนามธรรม
8. ประหยัดค่าใช้จ่าย ทุ่นเวลา และป้องกันอันตราที่เกิดขึ้นกับนักเรียนได้ดี
โอกาสในการสาธิต
การใช้วิธีการสาธิต เพื่อการเรียนการสอนอาจทำได้หลายโอกาส คือ
1. ใช้วิธีสาธิตเพื่อนำเข้าสู่บทเรียนเรื่องใหม่ เพื่อเป็นการเร้าความสนใจให้กับผู้เรียน
2. ใช้เพื่อสร้างปัญหาให้ผู้เรียนคิดและหาทางแก้ไขปัญหา
3. เพื่อการสร้างความเข้าใจในเนื้อหา หลักการ และความคิดรวบยอดของบทเรียน
4. ช่วยแก้ปัญหาการสอนในกรณีที่มีเครื่องมือจำกัด ราคาแพง และอาจเป็นอันตรายต่อผู้เรียน








4. การใช้ชุมชนเพื่อการศึกษา (Community Study)
การใช้ชุมชนเพื่อการศึกษา หมายถึง การใช้แหล่งวิชาการและสภาพแวดล้อมของชุมชนให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ เพื่อขยายประสบการณ์ของผู้เรียนให้กว้างขวาง มีโอกาสสัมผัสใกล้ชิดกับสภาพความเป็นจริงมากขึ้น และช่วยให้ผู้เรียนสามารถ นำความรู้ ประสบการณ์ไปใช้แก้ปัญหาในการดำรงชีวิตในโอกาสต่อไปได้อย่างดี
ประโยชน์ของการใช้ชุมชนเพื่อการศึกษา
1. ทำให้ผู้เรียนคุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมและรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้นำความรู้จากห้องเรียนไปใช้จริง ๆ กับการเชื่อมโยงสภาพการณ์ในห้องเรียนกับสภาพความเป็นจริง
3. แหล่งวิชาการในชุมชน ขยายความรู้เพิ่มเติมจากที่ครูสอนในหลักสูตรให้สมบูรณ์ขึ้นช่วยให้นักเรียนพบเห็นสิ่งที่เป็นจริง
4. แหล่งวิชาการในชุมชนมีมากมายอยู่แล้ว ทั้งสถานที่และบุคคล ถ้าครูเลือก และนำมาใช้ให้เหมาะสมก็จะได้ผลคุ้มค่า เพราะเสียค่าใช้จ่ายน้อยหรือไม่เสียเลย
5. เปลี่ยนบรรยากาศในการเรียน ให้ผู้เรียนได้พบสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ เร้าความสนใจและเพิ่มพูนความเข้าใจ
6. ฝึกนิสัยช่างซักถาม และสังเกตพิจารณา
7. ฝึกการทำงานร่วมกัน ฝึกความรับผิดชอบ มนุษยสัมพันธ์ ระเบียบวินัย และการตรงต่อเวลา
8. เปิดโอกาสให้นักเรียนใช้ทักษะด้านการพูดภาษา การเขียน การคิดคำนวณ ศิลปะ
9. แก้ปัญหาครูไม่มีความรู้ ความคุ้นเคยกับชุมชน
10. มีผลต่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทัศนคติผู้เรียน
11. สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถานศึกษาและชุมชน นับเป็นการประชาสัมพันธ์สถานศึกษาอย่างหนึ่ง
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ในชุมชน
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ในชุมชนมีหลายประเภท กล่าวโดยสรุปคือ
1. บุคคล ได้แก่ ผู้มีประสบการณ์โดยตรงอยู่ในสาขาอาชีพต่าง ๆ เช่น ตำรวจ พ่อค้า นักธุรกิจ เกษตรกร
2. สถานที่ ได้แก่ ทุ่งนา แม่น้ำ ภูเขา ป่าไม้ โรงงาน สถานที่ราชการ สโมสร และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ
3. วัสดุอุปกรณ์ในชุมชนที่สามารถนำมาเป็นสื่อการสอน เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ผลผลิตทางการเกษตร
และงานศิลปหัตถกรรมในชุมชน
4. กิจกรรมของชุมชน ได้แก่ การละเล่นพื้นบ้าน งานประเพณี และพิธีต่าง ๆ เช่น การบวช แต่งงาน ทอดกฐิน
วิธีการใช้ชุมชนเพื่อการศึกษา
1. การศึกษาภายในบริเวณโรงเรียน เป็นการใช้แหล่งทรัพยากรนอกห้องเรียนที่ทำได้สะดวกที่สุด แหล่งวิชาการ
อาจเป็นได้ทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในบริเวณโรงเรียน เช่น สนามหญ้าต้นไม้ สระน้ำ
2. การศึกษาในชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ หมายถึง สถานที่ในชุมชนที่ไม่ไกลจากโรงเรียนมากนัก การศึกษาแบบนี้
ทำได้ง่ายไม่สิ้นเปลืองทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย ไม่ต้องขออนุญาตเจ้าสังกัดให้ยุ่งยากวุ่นวาย
3. การเชิญวิทยากรมาบรรยาย หมายถึง การเชิญบุคลากรจากสาขาอาชีพต่าง ๆ ที่มีประสบการณ์โดยตรง
4. การทัศนาจรการศึกษาหรือทัศนศึกษา เพื่อการพานักศึกษาออกไปศึกษาหาความรู้จากแหล่งชุมชนอื่นที่ไกล
จากที่โรงเรียนตั้งอยู่ ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของสถานศึกษาและต้องได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองของผู้เรียนก่อนด้วย







5. สถานการณ์จำลอง (Stimulation)
สถานการณ์จำลอง เป็นการจัดสภาพแวดล้อมเลียนแบบของจริงให้ใกล้เคียงสภาพความเป็นจริงให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้เรียน ได้ฝึกหัดแก้ปัญหาและตัดสินใจจากสภาพการณ์ที่เขากำลังเผชิญอยู่นั้น การจัดสถานการณ์จำลอง เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับ คนที่ออกไปเผชิญกับปัญหาจริง ๆ เช่น นักเรียนฝึกหัดครู ก่อนที่จะสอนต้องได้รับการฝึกฝนด้านวิชาการสอน วิธีฝึกอย่างหนึ่ง ที่ได้ผลดีคือ การฝึกจากสถานการณ์จำลองนั่นเอง ขบวนการแก้ปัญหาในสถานการณ์จำลอง เมื่อเสนอสถานการณ์จำลองให้กับผู้เรียนแล้ว ครูควรสรุปแนวทางในการแก้ปัญหา
ให้กับผู้เรียนแล้วให้นักเรียนเข้าร่วมมีบทบาทในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง แนวทางในการแก้ปัญหาโดยทั่วไปจะประกอบด้วย
1. ปัญหาคืออะไร
2. สาเหตุของปัญหา
3. รวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ
4. หาทางเลือกสำหรับการตัดสินใจ (อาจมีหลายทาง)
5. ตัดสินใจเลือกวิธีแก้ปัญหาที่มีเหตุผลดีที่สุด
6. ลงมือแก้ปัญหาตามวิธีที่เลือก
7. ประเมินผลการแก้ปัญหา
8. พิจารณาปรับปรุงผลของการแก้ปัญหาเพื่อนำไปใช้ต่อไป

การใช้สถานการณ์จำลองในการสอน
ลำดับขั้นในการใช้สถานการณ์จำลองในการสอน ครูอาจทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ คือ
1. ผู้สอนเสนอสถานการณ์ที่ทำให้เกิดปัญหา
2. ผู้เรียนศึกษาปัญหารวบรวมข้อมูลเอเป็นแนวทางตัดสินใจ และแก้ปัญหาตามขั้นตอน จนกระทั่งได้ข้อสรุป
การทำงานในขั้นนี้นิยมแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อย เพื่อหาแนวทางของแต่ละกลุ่ม
3. แต่ละกลุ่มเสนอวิธีการแก้ปัญหาของตนต่อชั้นเรียน
4. ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันประเมินค่าโดยพิจารณาเหตุผลว่าวิธีการใดที่ดี และมีเหตุผลดีที่สุด สำหรับการแก้ปัญหานั้น ๆ








6. การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip)
การศึกษานอกสถานที่หรือทัศนศึกษา หมายถึง กิจกรรมที่พาผู้เรียนออกไปหาประสบการณ์นอกห้องเรียน เพื่อให้เกิดการเรียน ที่สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ การไปทัศนศึกษาต่างจากการทัศนาจรโดยทั่ว ๆ ตรงที่ การทัศนาจรมุ่งความสนุกสนาน เพลิดเพลินเป็นสำคัญ ส่วนการศึกษานอกสถานที่เน้นการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่ปู้เรียน ซึ่งต้องอาศัยการวางแผนและ การดำเนินการอย่างมีขั้นตอนเป็นสำคัญ
คุณค่าของการศึกษานอกสถานที่
1. ช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรง
2. ช่วยให้บทเรียนมีความหมายยิ่งขึ้น
3. ช่วยให้ฝึกฝนระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา และมนุษยสัมพันธ์
4. ช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกันทั้งก่อนและหลังการทำกิจกรรมทัศนศึกษา
5. ช่วยให้ผู้เรียนได้ร่วมกิจกรรมการเรียนอย่างเพลิดเพลิน
6. ช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปในลักษณะบูรณาการ

ข้อดีสื่อประเภทกิจกรรม
1. ส่งเสริมให้แสดงออก และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
2. ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ ด้วยตนเอง
3. ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
4.สื่อกิจกรรมสามารถปรับปรุง ดัดแปลงแก้ไขให้ยืดหยุ่นเหมาะสมกับโอกาสและสถานการณ์ได้ง่าย

ข้อจำกัดของสื่อประเภทกิจกรรม
1. ผู้รับความรู้มีจำนวนจำกัด เฉพาะกลุ่มผู้เรียนเท่านั้น
2.มีความยุ่งยากในการออกแบบสื่อกิจกรรม
3.ไม่เหมาะสมกับสิ่งที่เป็นนามธรรม
4. ความเป็นไปได้
5.อาจเกิดอันตรายได้ในประสบการณ์ตรงหรือกิจกรรม
6.หากเป็นกิจกรรมที่ซ้ำจากประสบการณ์เดิมก็จะส่งผลให้ผู้เรียนรู้สึกน่าเบื่อ
7.ต้องเตรียมและวางแผนโดยละเอียดรอบคอบ
8.ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการสร้างบทเรียน